ค้นเจอ 123 รายการ

ต่อย

หมายถึงก. ชก เช่น ต่อยปาก, เอาของแข็งหรือของหนักตีหรือทุบให้ลิ ให้แตก ให้หลุดออก เช่น ต่อยหิน ต่อยมะพร้าว; ใช้เหล็กในที่ก้นแทงเอา เช่น ผึ้งต่อย มดตะนอยต่อย; โดยปริยายหมายความว่า ทำให้แตก เช่น เด็กเอาจานไปต่อยเสียแล้ว. น. ชื่อเพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ต่อย เช่น ต่อยมวย ต่อยรูป.

ทุบ

หมายถึงก. ใช้ของแข็งเช่นค้อนหรือสิ่งที่มีลักษณะกลม ๆ เป็นต้นตีลงไปบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้แตก เช่น ทุบมะพร้าว ทุบอิฐ ทุบหิน หรือเพื่อให้นุ่มให้แหลก เช่น ทุบเนื้อวัว ทุบเนื้อหมู หรือเพื่อให้ตาย เช่น ทุบด้วยท่อนจันทน์ ทุบหัวปลา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอากำปั้นทุบหลัง เอามือทุบโต๊ะ.

น้อง

หมายถึงน. ผู้ร่วมบิดาหรือมารดาเดียวกันและเกิดทีหลัง, ลูกของอาหรือของน้า, เรียกคนที่มีอายุคราวน้อง เช่น น้องแดง น้องเขียว; ออกทีหลัง, มาทีหลัง, เช่น หมากทะลายน้อง มะพร้าวทะลายน้อง, คู่กับ ทะลายพี่; ลักษณนามใช้นับอายุไม้จำพวกไม้ไผ่ เช่น ไม้น้องเดียว คือ ไม้ที่มีอายุ ๒ ปี ไม้ ๒ น้อง คือ ไม้ที่มีอายุ ๓ ปี.

อู้

หมายถึงว. มีเสียงอย่างเสียงลมพัด; มาก ในคำว่า บ่นอู้. น. ชื่อซอ ๒ สายชนิดหนึ่ง ตัวกะโหลกซอทำด้วยกะลามะพร้าวชนิดกลมรี ใช้หนังแพะหรือหนังลูกวัวขึงขึ้นหน้า คันสีหรือคันชักทำด้วยไม้จริงหรืองา สายทำด้วยขนหางม้า มีเสียงทุ้มในเวลาสี เรียกว่า ซออู้.

ส้อม

หมายถึงน. เหล็ก ๒ ง่าม ปลายแหลม ใช้แทงปลาเป็นต้น; เครื่องใช้จิ้มอาหารกิน, คู่กับ ช้อน; ไม้ไผ่ที่จักให้เป็นซี่ ๆ ทำปลายซี่ให้แหลมสำหรับเสียบอ้อยที่ควั่นเป็นข้อ ๆ, เรียกอ้อยควั่นที่เสียบซี่ไม้ไผ่ปลายแหลมดังกล่าวว่า อ้อยส้อม. ก. ปาด เหลา หรือเจียน เช่น ส้อมงวงมะพร้าว.

สาว

หมายถึงน. หญิงที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕-๓๐ ปีขึ้นไป เช่น ย่างเข้าสู่วัยสาว โตเป็นสาวแล้วยังซุกซนเหมือนเด็ก ๆ, ถ้ายังไม่ได้แต่งงาน ใช้คำว่า นางสาว นำหน้าชื่อ. ว. เรียกคนและสัตว์ที่มีท้องครั้งแรกว่า ท้องสาว, เรียกต้นไม้ที่เริ่มผลิดอกออกผลครั้งแรก เช่น หมากสาว มะพร้าวสาว, เรียกหญิงที่ยังไม่แก่ตามวัย เช่น แม้จะอายุมากแล้ว แต่ก็ยังดูสาวอยู่, เรียกหญิงที่ยังไม่แต่งงาน เช่น จะพูดอะไรให้เกรงใจเขาบ้าง ถึงเขาจะอายุมากแล้วแต่ก็ยังเป็นสาวอยู่.

งวง

หมายถึงน. จมูกของช้างที่ยื่นยาวออกไป ตรงปลายมีจะงอยสำหรับจับของอย่างมือ, เรียกจั่นมะพร้าวและช่อดอกเพศผู้ของตาลเพื่อเตรียมทำนํ้าตาล, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น งวงครุ งวงผีเสื้อ; ลมชนิดหนึ่งเมื่อเริ่มเกิดจะเห็นเป็นลำยื่นลงมาจากใต้ฐานเมฆ มีลักษณะคล้ายงวงช้าง ถ้ามีกำลังแรงมาก ลำนี้จะยาวลงมามากเรียกว่า ลมงวง, ลมงวงช้าง ก็เรียก; ตัวลำยองที่ทำเป็นงวงเกี่ยวอยู่ตรงแปงวง.

กระโปรง

หมายถึง[-โปฺรง] น. ผ้านุ่งผู้หญิงแบบสากล; ฝาครอบเครื่องรถยนต์หรือฝาครอบที่เก็บของข้างหน้าและข้างหลังรถยนต์; กระบุงรูปกลมสูง ปากผายมาก พื้นก้นเป็นสี่เหลี่ยมเล็กสอบลง ลักษณะคล้ายกระโปรงบาน สำหรับขนข้าวเปลือกหรือมะพร้าวเป็นต้น; ภาชนะเย็บด้วยกาบหมากหรือใบไม้ สำหรับใส่ของต่าง ๆ เช่น ราชปุโรหิตก็ให้เอานางนกไส้ใส่กระโปรงขังไว้จนเพลารุ่งเช้า. (นพมาศ); กะโปรง ก็ใช้.

ตอน

หมายถึงน. ห้วง, ชุด, ท่อน, ระยะ, วรรค; ส่วนหนึ่ง ๆ ที่แบ่งออกจากส่วนใหญ่ เช่น แม่นํ้าสายนี้แบ่งออกเป็น ๓ ตอน ถนนพหลโยธินตอนที่ผ่านดอนเมือง หนังสือเล่มนี้มี ๑๐ ตอน โขนแสดงตอนหนุมานเผาลงกา ขอให้มาตอนเช้า ตอนเหนือของประเทศไทย; วิธีขยายพันธุ์ต้นไม้แบบหนึ่ง ใช้มีดควั่นกิ่งและเลาะเปลือกออกแล้วเอาดินพอก ใช้ใบตองหรือกาบมะพร้าวหุ้ม มัดหัวท้ายไว้ เมื่อรากงอกดีแล้ว ตัดกิ่งออกจากต้นนำไปปลูก. ก. ขยายพันธุ์โดยวิธีการเช่นนั้น; ตัดหรือทำลายอวัยวะซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการสืบพันธุ์เพื่อไม่ให้เกิดลูกเป็นต้น.

กะลา

หมายถึงน. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าว ถ้าผ่าซีก ซีกที่มีตา เรียกว่า กะลาตัวผู้ ซีกที่ตัน เรียกว่า กะลาตัวเมีย; เรียกถ้วยชามชนิดเลวเนื้อหยาบหนาว่า ชามกะลา; เรียกผมที่ตัดเป็นรูปกะลาครอบว่า ผมทรงกะลาครอบ; เรียกหมวกที่มีรูปคล้ายกะลาครอบว่า หมวกกะลา หรือ หมวกกะลาครอบ; (ปาก) กะโหลก เป็นคำไม่สุภาพ เช่น ไม่เจียมกะลาหัว คุ้มกะลาหัว. (สำ) ว. ไม่มีค่า เช่น เก่ากะลา.

แถก

หมายถึงก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวง กุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลามะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาวอย่างไม่ประณีต ในคำว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้นแถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).

อัน

หมายถึงน. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คำบอกลักษณะสิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากำหนดสำหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธานหรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่าทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ