ค้นเจอ 206 รายการ

อัตคัด

หมายถึง[อัดตะ-] ว. ขัดสน, ฝืดเคือง, ยากจน, เช่น เขาเป็นคนอัตคัด. ก. มีน้อย, ขาดแคลน, เช่น อัตคัดผม อัตคัดน้ำ.

สาร,สาร-,สาร-

หมายถึง[สาระ-] คำประกอบหน้าคำ แปลว่า ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, ทุก, เช่น สารทิศ ว่า ทุกทิศ, สารทุกข์ ว่า ทุกข์ทั้งหมด, สารเลว ว่า เลวทั้งสิ้น. (เลือนมาจาก สรฺว ในสันสกฤต เช่น สรฺวงฺค เป็น สารพางค์ หรือ สรรพางค์).

คู่เวรคู่กรรม

หมายถึงน. สามีภรรยาที่ต้องทนอยู่ร่วมกันด้วยความทุกข์ความเดือดร้อนโดยเชื่อกันว่าเป็นเพราะเวรกรรมที่เขาได้เคยกระทำร่วมกันมาแต่ชาติก่อน.

โศก,โศก,โศก-

หมายถึง[โสกะ-, โสกกะ-] น. ความทุกข์, ความเศร้า, ความเดือดร้อนใจ, เช่น อันทุกข์โศกโรคภัยในมนุษย์ มิรู้สุดสิ้นลงที่ตรงไหน. (อภัย). ก. ร้องไห้ เช่น เขากำลังทุกข์กำลังโศก อย่าไปรบกวนเขา. ว. เศร้า เช่น บทโศก ตาโศก; แห้ง เช่น ใบไม้โศกเพราะความแห้งแล้ง. (ส.; ป. โสก).

คู่เคียงเรียงหมอน

หมายถึงน. ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ชายหญิงที่อยู่กินร่วมกันฉันผัวเมีย, คู่เรียงเคียงหมอน ก็ว่า.

คู่เรียงเคียงหมอน

หมายถึงน. ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ชายหญิงที่อยู่กินร่วมกันฉันผัวเมีย, คู่เคียงเรียงหมอน ก็ว่า.

ไตรลักษณ์

หมายถึง[-ลัก] น. ลักษณะที่เป็นสามัญทั่วไป ๓ ประการ คือ ความไม่เที่ยง ความเป็นทุกข์ ความมิใช่ตัวตน.

ทลิท

หมายถึง[ทะลิด] (แบบ) ว. ยากจน, เข็ญใจ, เช่น พราหมณพฤฒาเฒ่าทลิทยากยิ่งยาจก. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ทลิทฺท).

ทุคติ

หมายถึง[ทุกคะติ] น. ภูมิที่ถือว่าไปเกิดแล้วมีความทุกข์ความลำบาก, นรก. (ป. ทุคฺคติ).

วินิบาต

หมายถึงน. การทำลาย, การฆ่า, เช่น วินิบาตกรรม; ภพที่ต้องโทษ, ภพที่รับทุกข์, เช่น ทุคติวินิบาต. (ป., ส.).

ทลิททก

หมายถึง[ทะลิดทก] (แบบ) ว. ยากจน, เข็ญใจ, เช่น ส่วนออเฒ่าพฤฒาทลิททก. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. ทลิทฺทก).

ระบาย

หมายถึงก. ผ่อนออกไป เช่น ระบายสินค้า ระบายนํ้า ระบายความทุกข์, ถ่ายออก เช่น ระบายท้อง ระบายอากาศ.

 คำไทยที่มักเขียนผิด จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ