คำสนธิ

คำสนธิ รวมคำสนธิ ตัวอย่าง การใช้คำสนธิ

คำสนธิ คือ การเชื่อมคำเข้าด้วยกัน ประกอบด้วยคำบาลีและสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป

คำสนธิ เป็นคำสมาสหรือไม่?

คำสนธิ หรือ คำสมาสที่มีสนธิ หรือ คำสมาสแบบสนธิ นั่นหมายความว่า คำสนธิ ถือเป็นคำสมาส ซึ่งเป็นประเภทหนึ่ของคำสมาสนั่นเอง

คำสนธิ คืออะไร?

คำสนธิ คือ การเชื่อมคำเข้าด้วยกัน โดยนำคำบาลีและสันสกฤตตั้งแต่ 2 คำขึ้นไปมาเชื่อมต่อกันเป็นคำเดียวกัน เสียงสุดท้ายของคำหน้า รับเสียงหน้าของคำหลัง

โดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ และนิคหิตที่มาเชื่อม

เพื่อการกลมกลืนเสียงให้เป็นธรรมชาติของการออกเสียง และทำให้คำเหล่านั้นมีเสียงสั้นเข้า เช่น

คำรวมเป็น
คช + อินทร์คชินทร์
อัคคี + โอภาสอัคโยภาส
มหา + อรรณพมหรรณพ

 

สนธิเชื่อม : สนธิ = เชื่อม

 

*คำสมาสที่มีการเปลี่ยนแปลงเสียงขณะเมื่อนำ 2 คำมารวมเป็นคำเดียวกัน เรียกว่า คำสมาสที่มีการสนธิ

 

 

ลักษณะของคำสนธิ

  1. เกิดจากคำมูลตั้งแต่ 2 คำขึ้นไป
  2. ต้องเป็นคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเท่านั้น
  3. มีการเชื่อมคำโดยเปลี่ยนแปลงสระ พยัญชนะ หรือนิคหิต ของคำเดิม
  4. มักเรียงคำหลักไว้หลังคำขยาย ดังนั้นในการแปลความหมายจะแปลจากหลังไปหน้า

 

ชนิดของการสนธิ

การสนธิ แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามลักษณะการเปลี่ยนแปลงอักษร คือ

  1. สระสนธิ
  2. พยัญชนะสนธิ
  3. และ นิคหิตสนธิ

 

1. สระสนธิ

สระสนธิ เป็นการนำคำที่ลงท้ายด้วยสระไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยสระ ซึ่งเมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงรูปสระ เพื่อให้เสียงสระ 2 เสียง ได้กลมกลืนเป็นเสียงเดียวกัน แบ่งออกเป็น 3 วิธี ได้แก่

1. อะ อา สนธิกับ อะ อา ได้เป็น อะ หรือ อา เช่น

คำพื้นรวมเป็น
กต + อัญชลีกตัญชลี
คงคา + อาลัยคงคาลัย
เทศ + อภิบาลเทศาภิบาล
มหา + อัศจรรย์มหัศจรรย์
วิทย + อาลัยวิทยาลัย

 

2. อะ อา สนธิกับ อิ อี ได้เป็น อิ อี หรือ เอ เช่น
คำพื้นรวมเป็น
มหา + อิทธิมหิทธิ
อุตร + อีสานอุตรีสาน
คช + อินทร์คชินทร์, คเชนทร์

 

3. อะ อา สนธิกับ อุ อู ได้เป็น อุ อู หรือ โอ เช่น

คำพื้นรวมเป็น
มัคค + อุเทศน์มัคคุเทศน์
ราช + อุปโภคราชูปโภค
บุริส + อุดมบุริโสดม

 

4. อะ อา สนธิกับ เอ ไอ โอ เอา ได้เป็น เอ โอ ไอ หรือ เอา เช่น

คำพื้นรวมเป็น
มหา + โอสถมโหสถ
มหา + โอฬารมโหฬาร, มเหาฬาร
อน + เอกอเนก

 

5.  อิ อี สนธิกับ อิ อี ได้เป็น อิ อี หรือ เอ เช่น

คำพื้นรวมเป็น
มุนี + อินทร์มุนินทร์
อริ + อินทร์อรินทร์, อเรนทร์

6. อิ อี สนธิกับสระอื่นที่ไม่ใช่ อิ อี ด้วยกัน ต้องแปลง อิ อี เป็น ย ก่อน แล้วจึงสนธิกับสระหลัง และถ้าคำหน้ามีพยัญชนะตัวตามซ้อนกัน ก็ให้ลบตัวหน้าทิ้งหนึ่งตัวด้วย เช่น

คำพื้นรวมเป็น
อัคคี + โอภาสอัคโยภาส
อัคคย + โอภาสอัคโยภาส
อธิ + อาศัยอัธยาศัย

 

7. อุ อู สนธิกับ อุ อู ได้เป็น อุ อู หรือ โอ เช่น

คำพื้นรวมเป็น
คุรุ + อุปกรณ์คุรุปกรณ์, คุรูปกรณ์, คุโรปกรณ์

 

8. อุ อู สนธิกับสระอื่นที่ไม่ใช่ อุ อู ด้วยกัน ต้องแปลง อุ อู เป็น ว ก่อน แล้วจึงสนธิกับสระหลัง เช่น

คำพื้นรวมเป็น
ธนู + อาคมธันวาคม

 

 

2. พยัญชนะสนธิ

พยัญชนะสนธิ เป็นการเชื่อมคำระหว่างพยัญชนะกับพยัญชนะ โดยมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะคำเดิมก่อนนำมาสนธิ ซึ่งเป็นวิธีการรวมคำในภาษาบาลีสันสกฤต ไทยรับมาใช้เพียงไม่กี่คำ เช่น

คำพื้นรวมเป็น
มนสฺ + ภาพมโนภาพ
รหสฺ + ฐานรโหฐาน
นิสฺ + ภัยนิรภัย
นิสฺ + ทุกข์นิรทุกข์
ทุสฺ + คติทุรคติ
มนสฺ + ธรรมมโนธรรม
เตชสฺ + ธาตุเตโชธาตุ
ศิรสฺ + เมธน์ศิโรเมฐน์
พฺรหฺมนฺ + ชาติพรหมชาติ
ทุสฺ + ลักษณ์ทรลักษณ์

 

3. นิคหิตสนธิ

นิคหิตสนธิ เป็นการนำคำที่ลงท้ายด้วยนิคหิตไปสนธิกับคำที่ขึ้นต้นด้วยพยัญชนะ หรือสระก็ได้ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

1. นิคหิต สนธิกับ สระ แปลงนิคหิตเป็น ม เช่น
คำพื้นรวมเป็น
สํ + อาทานสมาทาน
สํ + โอสรสโมสร
สํ + อิทธิสมิทธิ
สํ + อาคมสมาคม
สํ + อาจารสมาจาร
สํ + ยุทัยสมุทัย
สํ + อาสสมาส

 

2. นิคหิต สนธิกับ พยัญชนะวรรค แปลงนิคหิตเป็นพยัญชนะตัวสุดท้ายของวรรคนั้น ๆ เช่น
คำพื้นรวมเป็น
สํ + กรสังกร
สํ + จรสัญจร
สํ + ฐานสัณฐาน
สํ + ธานสันธาน
สํ + ภารสัมภาร
สํ + ขารสังขาร
สํ + ชาติสัญชาติ
สํ + ฐิติสัณฐิติ
สํ + นิบาตสันนิบาต
สํ + พนฺธสัมพันธ์

 

3. นิคหิต สนธิกับ เศษวรรค (ย ร ล ว ศ ษ ส ห ฬ) แปลงนิคหิตเป็น ง เช่น
คำพื้นรวมเป็น
สํ + โยคสังโยค
สํ + วาสสังวาส
สํ + สนฺทนสังสันทน์
สํ + สารสังสาร
สํ + วรสังวร
สํ + สรรค์สังสรรค์
สํ + หรณ์สังหรณ์

 

 

 

ประโยชน์ของการสนธิคำ

  1. ได้รูปศัพท์ใหม่ที่เด่นด้วยความหมาย และได้รูปคำที่มีความสละสลวย
  2. เป็นประโยชน์ในการแต่งคำประพันธ์ประเภทฉันท์ และร่าย

 

หลักการสังเกตคำสนธิ

  1. คำสนธิต้องเป็นคำบาลี สันสกฤตเท่านั้น
  2. เมื่อนำคำมาสนธิกันแล้ว จะกลายเป็นคำเดียว และจะต้องแปลจากคำหลังมาคำหน้า
  3. คำที่จะนำมาสนธิกัน จะต้องมีทั้งสระหน้าและสระหลัง
  4. เมื่อสนธิแล้วจะมีการเปลี่ยนแปลงพยัญชนะ สระ หรือนิคหิตที่เชื่อมเสมอ

 

Download PDF คำสนธิ ที่ใช้บ่อย

สำหรับใครที่อยากได้คำสนธิ ในรูปแบบไฟล์ PDF สามารถกดที่ปุ่มดาวน์โหลดได้เลย

คำสนธิ ที่ใช้บ่อย
PDF – ตัวอย่าง คำสนธิ ที่ใช้บ่อย
ดาวน์โหลด

 หมวดหมู่ คำสนธิ ภาษาไทย

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำสนธิ รวมคำสนธิ ตัวอย่าง การใช้คำสนธิ"