ค้นเจอ 53 รายการ

สำเนียงบอกภาษากิริยาส่อสกุล

หมายถึงการแสดงออกทางการพูดหรือกิริยามารยาท ที่จะชี้ให้เห็นถึงพื้นฐานการในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน

เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย

หมายถึงเวลาจะต้องเสียงเพียงเล็กน้อย ไม่อยากจะเสีย แต่พอถึงคราวต้องเสียมาก ๆ รับควักเงินให้ทันที อย่างข้าวของที่ชำรุดไปเล็กน้อย แทนที่จะรีบซ่อมแซมเสีย กลับปล่อยให้เสียมาก แล้วจึงซ่อมแซม ซึ่งต้องหมดเงินมากกว่าหลายเท่า

ปลูกเรือนผิดคิดจนเรือนทลาย

หมายถึงจะทำสิ่งใดควรคิดให้รอบคอบ เพราะถ้าผิดพลาดไป จะแก้ไขยาก

เสือกระดาษ

หมายถึงประเทศ องค์การ หรือผู้ที่ทำท่าทีประหนึ่งมีอำนาจมากแต่ความจริงไม่มี

ถลำร่องชักง่าย ถลำใจชักยาก

หมายถึงการพลาดถลำตกลงไปในร่องพื้นยังสามารถชักเท้ากับขึ้นมาได้ แต่ถ้าถลำใจหลงรักมาก ๆ เข้าจะถอนออกได้ยาก

เสียน้อย เสียยาก เสียมาก เสียง่าย

หมายถึงเสียประโยชน์เพียงเล็กน้อยแต่ไม่ยอมเสีย ทำให้ต้องมาเสียมากในที่สุด

ครึ่ง ๆ กลาง ๆ

หมายถึงการเรียนรู้หรือทำอะไรที่ไม่เต็มที่ไม่ครบสมบูรณ์ ทำอะไรยังไม่เสร็จหรือเลิกล้มไปกลางคันไม่ทำต่อ

สอนเด็ก สอนง่าย สอนผู้ใหญ่ สอนยาก

หมายถึงจะอบรมสั่งสอนอะไรก็ทำเสียตั้งแต่เด็ก เพราะอบรมสั่งสอนง่าย จะสอนให้เป็นอะไรก็ได้ ส่วนคนแก่นั้นสอนยาก เหมือนไม้แก่ถ้าดัดก็หัก ผิดกับไม้อ่อนซึ่งดัดง่ายไม่หัก

ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก

หมายถึงจะอบรมสั่งสอนอะไรก็ทำเสียตั้งแต่เด็ก เพราะอบรมสั่งสอนง่าย จะสอนให้เป็นอะไรก็ได้ ส่วนคนแก่นั้นสอนยาก เหมือนไม้แก่ถ้าดัดก็หัก ผิดกับไม้อ่อนซึ่งดัดง่ายไม่หัก

ไม้อ่อนดัดง่าย ไม้แก่ดัดยาก

หมายถึงอบรมสั่งสอนเด็กให้ประพฤติดีได้ง่ายกว่าอบรมสั่งสอนผู้ใหญ่

เพื่อนกินหาง่ายเพื่อนตายหายาก

หมายถึงเพื่อนกินเพื่อนเที่ยวหาง่าย แต่เพื่อนที่คอยช่วยเหลือยามลำบากนั้นหายาก

จับปลาสองมือ

หมายถึงการที่คน ๆ หนึ่งทำสิ่งใดที่ยากพร้อม ๆ กันทำให้ล้มเหลวทั้งสองสิ่งนั้น

 คำพังเพย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ