คำพังเพย คือ อะไร?
คำพังเพย หมายถึง ถ้อยอุปมาที่กล่าวกระทบเสียดสี ซึ่งมาจากเหตุการณ์เรื่องราว หรือความเป็นไปในวิถีชีวิตของคนรุ่นก่อนที่เป็นสิ่งควรค่าแก่การเรียนรู้ และจดจำเป็นอย่างยิ่ง โดยคำพังเพยจะเป็นถ้อยคำที่มีความหมายลึกซึ้งกว่าสำนวนไทย พร้อมทั้งมีลักษณะติชม หรือแสดงความเห็นอยู่ในตัว แต่ไม่ถึงกับเป็นคำสอนหรือคำสั่งสอนให้ข้อคิดเหมือนสุภาษิต

คำพังเพย เป็นการเปรียบเทียบ เพื่อให้เห็นข้อคิด
เอาเข้าจริง ๆ แล้ว เราก็ไม่สามารถชี้ชัดเจาะจงได้เสียทีเดียวว่าคำไหนเป็นคำสุภาษิต เป็นสำนวน หรือเป็นคำพังเพย พูดง่ายๆ คือแยกประเภทยากมาก จะเห็นได้ว่าหลายคำถูกรวบรวมอยู่ในทั้ง 3 ประเภทเลย เพราะคำนิยามหรือคำจำกัดความของ คำสุภาษิต สำนวน และคำพังเพยนั้นยังคลุมเคลือกัน ไม่สามารถชี้ชัด หรือแบ่งแยกลักษณะออกจากกันได้ จึงจะเรียกคำเหล่านี้เป็นคำกลางๆ ว่า สำนวนไทย
ตัวอย่างสำนวนไทยที่มีลักษณะเป็นทั้งสำนวน สุภาษิต และคำพังเพย อยู่ในตัว เช่น
น้ำขึ้นให้รับตัก
-
- เป็นสำนวนได้ เพราะมีความหมายไม่ตรงตามตัวอักษร
- เป็นสุภาษิตได้ เพราะให้คติสอนใจว่า เมื่อมีโอกาสทำอะไร ต้องรีบทำเพื่อให้ได้รับผลสำเร็จโดยเร็ว
- เป็นคำพังเพยได้ เพราะกล่าวติคนทำไม่ดี
คำพังเพย
เมนูแนะนำ
รวมคำพังเพย ตามหมวดอักษร ก-ฮ
เรารวบรวมคำพังเพยที่เป็นที่นิยม และพบเห็นบ่อยจำนวน 108 คำมาให้ดูได้ง่าย แต่ถ้าหาไม่พบในตารางนี้ ก็สามารถพิมพ์ค้นหาได้เพิ่มเติม
คำพังเพย หมวด ก ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
1 |
กงเกวียนกำเกวียน |
เวรสนองเวร, กรรมสนองกรรม, เช่นทำแกเขาอย่างไร ตนหรือลูกหลานก็อาจจะถูกทำในทำนองเดียวกันอย่างนั้นบ้างเป็นกงกำกงเกวียน |
2 |
กรวดน้ำคว่ำขัน |
ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย |
3 |
กระดังงาลนไฟ |
หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้วย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน |
4 |
กระดี่ได้น้ำ |
ใช้เปรียบเทียบคนที่แสดงอาการดีอกดีใจจนตัวสั่นเช่นเขาดีใจเหมือนกระดี่ได้น้ำ |
5 |
กระต่ายขาเดียว |
ยืนกรานไม่ยอมรับ |
คำพังเพย หมวด ข ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
6 |
ขนทรายเข้าวัด |
การทำประโยชน์ให้ส่วนรวมโดยการกระทำอย่างไรอย่างหนึ่งแม้ไปกระทบกระเทือนให้ผู้อื่นเสียประโยชน์ก็ถือว่ายกให้กับส่วนรวมไม่ต้องมีอะไรมาชดเชยก็ได้ |
7 |
ขนมจีนผสมน้ำยา |
พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันไม่ได้ |
8 |
ขมิ้นกับปูน |
คนสองคนที่ไม่ถูกกันอยู่ใกล้กันเมื่อไรก็ต้องทะเลาะวิวาทกันเมื่อนั้น |
9 |
ขวานผ่าซาก |
โผงผางไม่เกรงใจใคร(ใช้แค่กริยาพูด) |
10 |
ขว้างงูไม่พ้นคอ |
ทำอะไรแล้วผลร้ายกลับมาสู่ตัว |
คำพังเพย หมวด ค ได้แก่
คำพังเพย หมวด ฆ ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
16 |
ฆ่าช้างเอางา |
การทำลายสิ่งที่ใหญ่โตลงทุนลงแรงไปมากเพื่อให้ได้ของสำคัญเพียงเล็กน้อยโดยไม่คำนึงว่าการกระทำนั้นจะสมควรหรือไม่ขอให้ได้สิ่งที่ต้องการ |
คำพังเพย หมวด จ ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
17 |
จระเข้ขวางคลอง |
ผู้ที่ชอบกันท่าหรือขัดขวางไม่ให้ผู้อื่นทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้สะดวกเหมือนจระเข้ที่ขึ้นมาขวางคลองทำให้เรือผ่านไปผ่านมาไม่สะดวก |
18 |
จับปลาสองมือ |
หมายจะเอาให้ได้ทั้ง2อย่าง,เสี่ยงทำการพร้อมๆกันซึ่งอาจไม่สำเร็จทั้ง2อย่าง |
19 |
จับปูใส่กระด้ง |
การเปรียบเทียบกับเด็กๆที่ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่งผู้ใหญ่ต้องคอยควบคุมดูแลตลอดเวลาเพื่อให้เด็กอยู่ในระเบียบ |
20 |
จับแพะชนแกะ |
ทำอย่างขอไปทีไม่ได้อย่างนี้ก็เอาอย่างนั้นเข้าแทนเพื่อให้ลุล่วงก็ไป |
21 |
ใจดีผีเข้า |
คนใจดีเป็นคนดีเกินไปมักถูกรังแก |
คำพังเพย หมวด ช ได้แก่
คำพังเพย หมวด ด ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
27 |
ดินพอกหางหมู |
การปล่อยงานคั่งค้างอยู่เรื่อยๆเพราะมัวแต่ผัดวันประกันพุ่งในไม่ช้างานที่คั่งค้างนั้นจะพอกพูนมากขึ้นทุกทีจนเป็นภาระที่หน้าเบื่อหน่ายภายหลัง |
28 |
ดีดลูกคิดรางแก้ว |
คิดรอบคอบแล้วมีแต่ได้อย่างเดียว |
29 |
เดินตามหลังผู้ใหญ่หมาไม่กัด |
ประพฤติตามอย่างผู้ใหญ่ย่อมปลอดภัย |
30 |
เด็กเมื่อวานซืน |
คำกล่าวเชิงดูหมิ่นหรือเชิงสั่งสอนว่ามีความรู้หรือประสบการณ์น้อย |
31 |
เด็ดบัวไม่ไว้ใย |
ตัดขาด,ตัดญาติขาดมิตรกันเด็ดขาด,มักใช้คู่กับเด็ดดอกไม่ไว้ขั้วเด็ดบัวไม่ไว้ใย |
คำพังเพย หมวด ต ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
32 |
ตบมือข้างเดียวไม่ดัง |
ทำอะไรฝ่ายเดียวไม่เกิดผล |
33 |
ตบหัวลูบหลัง |
ทำหรือพูดให้กระทบกระเทือนใจในตอนแรกแล้วกลับทำหรือพูดเป็นการปลอบใจในตอนหลัง |
34 |
ตักน้ำใส่กะโหลกชะโงกดูเงา |
การจะทำอะไรให้รู้จักประมาณตน รู้จักฐานะของตัวเอง เจียมเนื้อเจียมตัว อย่ามักใหญ่ใฝ่สูงทำที่อะไรเกินตัว |
35 |
ตักบาตรถามพระ |
จะให้อะไรสักอย่างหนึ่งแก่ผู้อื่นในเมื่อผู้นั้นเต็มใจรับอยู่แล้วไม่ต้องถามว่าจะเอาหรือไม่เอาเมื่อจะให้ก็ให้ทีเดียวเหมือนกับถวายอาหารพระพระท่านจะรับของทุกอย่างไม่มีการปฏิเสธ |
36 |
ตัดหางปล่อยวัด |
ตัดขาดไม่เกี่ยวข้องไม่เอาเป็นธุระอีกต่อไป |
คำพังเพย หมวด ถ ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
37 |
ถวายหัว |
ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อชาติ,เอาชีวิตเป็นประกัน,ทำจนสุดความสามารถ,ยอมสู้ตาย |
38 |
ถอดเขี้ยวถอดเล็บ |
ละพยศ,ละความดุหรือร้ายกาจ,เลิกแสดงฤทธิ์แสดงอำนาจอีกต่อไป |
39 |
ถอนหงอก |
ไม่นับถือเป็นผู้ใหญ่,พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่ |
40 |
ถอยหลังเข้าคลอง |
หวนกลับไปหาแบบเดิม |
41 |
ถ่านไฟเก่า |
ชายหญิงที่เคยรักใคร่หรือเคยได้เสียกันมาก่อนแม้เลิกร้างกันไปเมื่อมาพบกันใหม่ย่อมรักใคร่หรือปลงใจกันได้ง่ายขึ้น |
คำพังเพย หมวด ท ได้แก่
คำพังเพย หมวด น ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
47 |
นกกระจอกเลี้ยงไม่เชื่อง |
ผู้ที่ได้รับการอุปถัมภ์ค้ำชูแล้วมักทรยศ |
48 |
นกต่อ |
คนที่ทำหน้าที่ติดต่อหรือชักจูงหลอกล่อคนอื่นให้หลงเชื่อ(ใช้ในทางไม่ดี) |
49 |
นกน้อยทำรังแต่พอตัว |
เป็นผู้น้อยทำอะไรต้องดูให้พอสมควรกับฐานะของตนเช่นมีเงินไม่มากนักก็สร้างบ้านพอประมาณมิใช่สร้างใหญ่โตเพิ่มภาระหนี้สินให้ครอบครัว |
50 |
นกสองหัว |
คนที่ทำตัวเข้าด้วยทั้ง 2 ฝ่ายที่เป็นศัตรูกันเพื่อผลประโยชน์ของตน |
51 |
นายว่าขี้ข้าพลอย |
พลอยพูดผสมโรงติเตียนผู้อื่นตามนายไปด้วย |
คำพังเพย หมวด บ ได้แก่
คำพังเพย หมวด ป ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
55 |
ปลากระดี่ได้น้ำ |
การแสดงอาการดีใจจนออกหน้าดูแล้วเกินงามส่วนใหญ่แล้วจะว่าผู้หญิงที่แสดงอาการดีใจและท่าทางไม่เรียบร้อย |
56 |
ปลาข้องเดียวกัน |
คนที่อยู่ร่วมกันหรือเป็นพวกเดียวกัน |
57 |
ปลาหมอแถกเหงือก |
กระเสือกกระสนดิ้นรน |
58 |
ปลาใหญ่กินปลาเล็ก |
คนที่มีอำนาจราชศักดิ์หรือเป็นใหญ่เป็นโตก็ย่อมข่มคนที่เป็นผู้น้อยหรือผู้น้อยเหมือนกับคนที่มีกำลังมากย่อมมีภาษีเหนือกว่าคนอ่อนแอ |
59 |
ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ปลูกอู่ตามใจผู้นอน |
การกระทำการใดให้ใครต้องถามความต้องการหรือความสมัครใจของผู้ที่จะได้รับผลประโยชน์หรือผลกระทบโดยตรง |
คำพังเพย หมวด ผ ได้แก่
คำพังเพย หมวด ฝ ได้แก่
คำพังเพย หมวด พ ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
67 |
พุ่งหอกเข้ารก |
ทำพอให้เสร็จไปโดยไม่มีเป้าหมายหรือโดยไม่คำนึงว่าใครจะเดือดร้อน |
คำพังเพย หมวด ฟ ได้แก่
คำพังเพย หมวด ม ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
69 |
มะนาวกลมเกลี้ยงไม่มีใครกลึง |
คนที่มีความสามารถ มีสติปัญญาเฉลียวฉลาดนั้นอาจจะเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ โดยไม่ต้องมีใครสอน |
70 |
มารหัวใจ |
คนที่ทำให้คนอื่นไม่มีความสุขเรื่องความรัก |
71 |
มือไม่พายเอาเท้าราน้ำ |
ไม่ช่วยทำงานแล้วเกะกะขัดขวางทำให้งานเดินไปไม่สะดวกเหมือนกับคนที่นั่งไปในเรือไม่ช่วยทำงานแต่ยังไปเอาเท้าไปราน้ำให้เรือแล่นช้า |
72 |
มือไวใจเร็ว |
ด่วนตัดสินใจทำสิ่งต่างๆ โดยไม่คิดให้รอบคอบ |
73 |
ม้าดีดกระโหลก |
กริยาท่าทางผลุบผลับกระโดกกระเดกลุกลนมักใช้ว่าผู้หญิงที่ไม่เรียบร้อยจะลุกจะนั่งจะเดินเตะนั่นโดนนี่กระทบโน่นไปรอบข้าง |
คำพังเพย หมวด ย ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
74 |
ยกตนข่มท่าน |
ยกย่องตัวเองและข่มผู้อื่น,พูดทับถมผู้อื่นแสดงให้เห็นว่าตัวเหนือกว่า |
75 |
ยกธงขาว |
ยอมแพ้, ยอมจำนน |
76 |
ยกหางตัวเอง |
ยกตนเองว่าดีว่าเก่ง |
77 |
ยกเมฆ |
เดาเอา,นึกคาดเอาเอง,กุเรื่องขึ้น |
78 |
ยืนกระต่ายขาเดียว |
การพูดยืนยันคำเดียวไม่แปรผันหรือเปลี่ยนแปลงไปเช่นเขาไม่ได้ลักเงินไปจริงๆถามเขาตั้งร้อยครั้งเขาก็ยืนยันว่าไม่ได้อาไปจริง |
คำพังเพย หมวด ร ได้แก่
คำพังเพย หมวด ล ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
82 |
ลมเพลมพัด |
อาการที่เจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุมักเข้าใจว่าถูกกระทำ |
83 |
ลูกไม้หล่นไม่ไกลต้น |
ลูกย่อมไม่ต่างกับพ่อแม่มากนัก |
84 |
ล้วงคองูเขียว |
บังอาจลักขโมยหรือล่อลวงเอาทรัพย์สินเป็นต้นจากคนธรรมดา แต่อาจจะโดนเอาเรื่องจนถึงที่สุดแบบกัดไม่ปล่อย |
85 |
เลือกที่รักมักที่ชัง |
ลำเอียง, ไม่เป็นกลาง, เลือกปฏิบัติ |
86 |
เล่นกับสากสากต่อยหัว |
ถ้าลดตัวไปเล่นหัวกับคนชั้นต่ำกว่า เขาก็อาจตีเสมอทำลวนลามเอา สากในที่นี้หมายถึงสากตำข้าวที่เขาพิงไว้ ถ้าใครซุกซนไปจับต้องเข้า สากอาจเลื่อนล้มทับถูกหัวถูกหูก็ได้ |
คำพังเพย หมวด ว ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
87 |
วัดรอยเท้า |
มุ่งจะโต้ตอบมุ่งแก้แค้นมุ่งอาฆาตเป็นสำนวนที่ใช้กับลูกที่คิดจะสู้ลูกหรือใช้กับผู้น้อยคิดจะหักล้างผู้ใหญ่ที่เคยบังคับบัญชาตนมาก็ได้ |
88 |
วันพระไม่ได้มีหนเดียว |
วันหน้ายังมีโอกาสอีก(มักใช้พูดเป็นเชิงอาฆาต) |
89 |
วัวลืมตีน |
คนที่ได้ดีแล้วลืมฐานะเดิมของตน |
90 |
วัวหายล้อมคอก |
เกิดเรื่องเสียหายขึ้นแล้วจึงคิดหาหนทางป้องกันเหมือนมีสมบัติไม่เก็บรักษาให้ดีพอสมบัติหายไปแล้วจึงหาทางสร้างที่เก็บสมบัติ |
91 |
วัวเห็นแก่หญ้าขี้ข้าเห็นแก่กิน |
คนชั้นล่างทีทำอะไรเห็นแก่ได้ เอาแต่กอบโดย |
คำพังเพย หมวด ศ ได้แก่
คำพังเพย หมวด ส ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
94 |
สอนจระเข้ให้ว่ายน้ำ |
สอนคนที่มีสันดานไม่ดีอยู่แล้วให้มีความเฉลียวฉลาดมากยิ่งขึ้นแล้วก็ก่อให้เกิดเรื่องร้ายขึ้นมาภายหลัง |
95 |
สำเนียงบอกภาษากิริยาส่อสกุล |
การแสดงออกทางการพูดหรือกิริยามารยาท ที่จะชี้ให้เห็นถึงพื้นฐานการในการเลี้ยงดู อบรมสั่งสอน |
96 |
สิบพ่อค้าไม่เท่าพระยาเลี้ยง |
มีอาชีพทางค้าขายสู้รับราชการไม่ได้ เพราะเป็นพ่อค้าย่อมมีวันขาดทุน แต่ถ้ารับราชการก็มีเจ้านายชุบเลี้ยง มีชื่อเสียง และเงินทอง ไม่มีทางขาดทุน |
97 |
สีซอให้ควายฟัง |
แนะนำ หรือสั่งสอนคนปัญญาทึบ มักไม่มีประโยชน์ เสียเวลาเปล่า |
98 |
เสียทองเท่าหัวไม่ยอมเสียผัวให้ใคร |
ไม่ยอมยกสามีให้แก่ผู้หญิงอื่นแม้ต้องแลกกับทรัพย์สินเงินทองมากมายก็ตาม |
คำพังเพย หมวด ห ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
99 |
หนอนหนังสือ |
คนที่ชอบหมกมุ่นอยู่กับการอ่านหนังสือ |
100 |
หนามแหลมไม่มีคนเสี้ยม |
คนที่มีพรสวรรค์ สติปัญญาดี มีความสามารถสูง อาจจะเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งโดยไม่มีผู้สอนเลยก็เป็นได้ หรือหมายถึงคนที่มาจากตระกูลที่ดี ตัวบุคคลนั้นก็จะมีแนวโน้มที่ดีไปด้วย |
101 |
หนีเสือปะจระเข้ |
คนที่มีความทุกข์กำลังจะได้รับอันตรายไปขอความช่วยเหลือจากบุคคลอื่นแต่กลับไปพบความทุกข์อันตรายอีกจากบุคคลที่ไปขอพึ่งพิง |
102 |
หมากัดไม่เห่า |
คนที่ต่อสู้หรือตอบโต้โดยไม่เตือนล่วงหน้า |
103 |
หมาหวงก้าง |
คนที่หวงของที่ตนเองไม่มีสิทธิ์, คนที่กันท่าคนอื่นในสิ่งที่ตนใช้ประโยชน์ไม่ได้ |
คำพังเพย หมวด อ ได้แก่
# |
คำพังเพย |
ความหมาย |
104 |
อกเขาอกเรา |
การที่มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น หากคิดที่จะทำอะไรสักอย่างกับผู้อื่น ให้นึกถึงความรู้สึกของเขา ถ้าเราเป็นเขาจะรู้สึกอย่างไร |
105 |
อมพระมาพูด |
ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาประกอบเป็นพยานมักใช้ในความปฏิเสธเช่นต่อให้อมพระมาพูดก็ไม่เชื่อ |
106 |
อย่าถือคนบ้าอย่าว่าคนเมา |
อย่าหาความจากคนที่ไม่มีสติสมบูรณ์ เพราะไร้ซึ่งประโยชน์ในการเจรจา |
107 |
อย่าไว้ใจทางอย่าวางใจคนจะจนใจเอง |
ไม่ควรไว้ใจใครมากเกินไปเพราะเขาอาจจะทำให้เราเดือดร้อนในภายหลังได้ |
108 |
เอาลูกเขามาเลี้ยงเอาเมี่ยงเขามาอม |
เอาลูกของคนอื่นมาเลี้ยงเป็นลูกเป็นภาระรับผิดชอบที่หวังผลตอบแทนแน่นอนไม่ได้ |