คำไวพจน์ที่พบบ่อย หลายคนคงเคยประสบพบเจอปัญหาสับสนกับคำในภาษาไทยที่มีมากมายเหลือเกิน ทั้งที่บางคำก็เป็นคำที่มีความหมายถึงสิ่งเดียวกันแท้ ๆ เมื่อพูดถึงคำที่มีความหมายเหมือนกันแต่วิธีการเขียนและอ่านต่างกัน ในภาษาไทยเราจะเรียกว่า “คำไวพจน์”
คำไวพจน์: ปลา - คำไวพจน์ของ ปลา พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้ คำไวพจน์ ของ "ปลา" มัจฉา มัสยา มัจฉาชาติ มิต ชลจร วารีชาติ อัมพุชา มีน มีนา ปุถุโลม
คำไวพจน์: ลิง - คำไวพจน์ของ ลิง พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้ คำไวพจน์ ของ "ลิง" คือ วอก วานร กระบี่ พานร กบิล กบินทร์ วานรินทร์ พานรินทร์
คำไวพจน์: เสือ - คำไวพจน์ของ เสือ พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้ คำไวพจน์ ของ "เสือ" คือ ขาล พยัคฆา พยัคฆ์ พาฬ ศารทูล
คำไวพจน์: ควาย - คำไวพจน์ของ ควาย พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้ คำไวพจน์ ของ "ควาย" คือ กระบือ กาสร มหิงส์ มหิงสา มหิษ ลุลาย
คำไวพจน์: แมว - คำไวพจน์ของ แมว พร้อมตัวอย่างการนำไปใช้ คำไวพจน์ ของ "แมว" คือ มัชชาระ วิฬาร วิฬาร์ ชมา พิฬาร วิฑาล
คำพ้องความหมาย จะเห็นได้ว่าที่จริงแล้วมันก็คือหนึ่งการเรียกชื่อของ คำไวพจน์ นั่นเอง โดยหมายถึง คำที่มีความหมายเหมือนกัน ซึ่งมีมากหลากหลายคำ บางครั้งคำไวพจน์ก็มีชื่อเรียกไปตามความเข้าใจว่าเป็น “การหลากคำ” บ้าง “คำพ้องความหมาย” บ้าง “คำพ้องความ” บ้าง ครับ