บทความน่ารู้

ที่มาของสำนวน สุภาษิต คำพังเพย หมวด ก.

นอกจากเราใช้ภาษาเป็นเครื่องมือเพื่อการสื่อสารแล้วภาษายังแสดงถึงการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมเพราะภาษาเป็นส่วนหนึ่งที่ถ่ายทอดสภาพความเป็นอยู่ของแต่ละสังคม คนไทยจึงภูมิใจในความเป็นไทยที่เรามีภาษาไทยอันงดงาม
นอกจากเราใช้ภาษาเป็นเครื่องมือเพื่อการสื่อสารแล้วภาษายังแสดงถึงการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมเพราะภาษาเป็นส่วนหนึ่งที่ถ่ายทอดสภาพความเป็นอยู่ของแต่ละสังคม คนไทยจึงภูมิใจในความเป็นไทยที่เรามีภาษาไทยอันงดงาม

นอกจากเราใช้ภาษาเป็นเครื่องมือเพื่อการสื่อสารแล้วภาษายังแสดงถึงการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมเพราะภาษาเป็นส่วนหนึ่งที่ถ่ายทอดสภาพความเป็นอยู่ของแต่ละสังคม คนไทยจึงภูมิใจในความเป็นไทยที่เรามีภาษาไทยอันงดงาม  

 

ที่มาของสำนวน สุภาษิต คำพังเพย หมวด ก.

ความงดงามประการหนึ่งของภาษาไทยคือมีสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ที่จะช่วยทำให้คำพูดคำเขียน มีความหลากหลาย คมคาย แต่เราเคยสงสัยถึงที่มาของมันหรือไม่ ในที่นี้จึงใคร่นำเสนอที่มาของสำนวน สุภาษิต คำพังเพย ตามลำดับพยัญชนะซึ่งตอนนี้จะเริ่มจากพยัญชนะ ก ดังนี้

  1. ก้นหม้อไม่ทันดำ หมายถึง อยู่กินกันฉันสามีภรรยาไม่นานก็ทะเลาะวิวาทหรือหย่าร้างกัน ที่มา : คนสมัยก่อนใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิงหุงต้มอาหาร จึงมีเขม่าจับก้นหม้อ คู่สามีภรรยาที่เพิ่งตั้งครอบครัวได้ไม่นาน ก้นหม้อมักไม่ทันมีเขม่าจับ
  2. กบในกะลาครอบ หมายถึง คนที่ขาดวิสัยทัศน์ มองเห็นแต่สิ่งที่อยู่ใกล้ตัวเท่านั้นเปรียบเหมือนกบที่อยู่ใต้กะลาเท่านั้น ที่มา : เปรียบเทียบกับกบที่อยู่ใต้กะลาครอบสามารถมองเห็นเฉพาะสิ่งที่อยู่ใต้กะลาเท่านั้น
  3. กระดูกร้องไห้ หมายถึง การจับตัวฆาตรกรมาลงโทษได้หลังจากพบหลักฐานโดยบังเอิญ ที่มา : เมื่อผู้ตายที่ถูกฆาตรกรรมแต่ยังจับคนร้ายมาลงโทษไม่ได้อยู่ระยะหนึ่งต่อมาฆาตรกรถูกจับได้ คล้ายกับว่ากระดูกของผู้ตายบอกร่องรอยเพื่อร้องขอความเป็นธรรม
  4. กำปั้นทุบดิน หมายถึง ตอบคำถามอย่างกว้าง ๆ ไม่ตรงประเด็น ที่มา : เมื่อใช้กำปั้นทุบลงไปบนพื้นดิน ไม่ว่าจะทุบไปที่ใดย่อมจะถูกดิน
  5. กินข้าวร้อนนอนตื่นสาย หมายถึง มีชีวิตที่สุขสบาย ทำงานเป็นอิสระ ที่มา : กินอาหารที่ปรุงเสร็จแล้วกำลังร้อนอยู่ได้ทุกเมื่อ และนอนตื่นเมื่อใดก็ได้ สำนวนนี้เปรียบกับพฤติกรรมของเจ้าขุนมูลนายซึ่งเป็นคนที่มีอิสระและมีฐานะดี นึกจะกินอาหารร้อน ๆ เมื่อใดก็ได้กิน และจะนอนตื่นสายเท่าไรก็ได้
  6. กินปูนร้อนท้อง หมายถึง ทำอาการมีพิรุธขึ้นเอง หรือแสดงอาการเดือดร้อนขึ้นเอง ที่มา : สมัยก่อนคนมีวิธีจับตุ๊กแกโดยใช้ยาฉุนผสมปูนที่กินกับหมาก ผูกปลายไม้ล่อให้ตุ๊กแกกิน เมื่อตุ๊กแกกินปูนและยาฉุนเข้าไป ก็แสดงอาการงัวเงียแล้วร้องแก๊ก ๆ เราคิดว่ามันคงจะเกิดอาการร้อนในท้อง จึงเกิดคำพูดว่า ตุ๊กแกกินปูนร้อนท้อง และ กร่อนลงเหลือ กินปูนร้อนท้อง
  7. ไกลปืนเที่ยง หมายถึง อยู่ไกลแหล่งความเจริญจึงไม่รู้อะไร ที่มา: .ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการยิงปืนใหญ่บอกเวลาเที่ยงวัน โดยยิงที่สนามหลวง คนที่อยู่บริเวณใกล้เคียงจึงได้ยินเสียงปืนเที่ยงคนอยู่ไกลมากจะไม่ได้ยิน จึงไม่รู้เวลาเที่ยงหรือยัง
  8. เกี่ยวแฝกมุงป่า หมายถึง ทำอะไรเกินความสามารถของตัว ที่มา : แฝกเป็นไม้ล้มลุกตระกูลหญ้า ใช้มุงหลังคา การที่จะเกี่ยวหรือตัดแฝกมามุงหลังคานั้นทำได้ง่าย แต่จะเกี่ยวแฝกไปมุงป่าเป็นเรื่องเหลือกำลังความสามารถเพราะป่ากว้างใหญ่ไพศาลเกินไป
  9. กินแกลบกินรำ หมายถึง โง่ ที่มา : แกลบคือเปลือกข้าวที่สีหรือตำออกจากเมล็ดข้าว รำคือผงเยื่อเมล็ดข้าวสาร ทั้งแกลบและรำไม่ใช่อาหารของคนแต่เป็นอาหารของสัตว์
  10. ใกล้เกลือกินด่าง หมายถึง มองข้ามหรือไม่รู้คุณค่าของดีที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตน แต่กลับไปแสวงหาสิ่งอื่นที่ด้อยกว่า ที่มา : เป็นสารที่มีประโยชน์มาก ใช้ทั้งบริโภคและอุปโภค ด่างเป็นเพียงน้ำขี้เถ้าใช้ป็นส่วนผสมในการทำยาและกัดสิ่งของ ประโยชน์ของเกลือจึงมีมากกว่าด่าง

แบบฝึกหัดท้ายบท

เมื่อรู้ที่มาของสำนวน สุภาษิต คำพังเพยแล้ว ลองทำแบบฝึกหัดโดยให้นำ สำนวน สุภาษิต คำพังเพยที่มีความหมายตรงกับข้อความที่ให้มาเติมลงในช่องว่างที่กำหนดให้

  1. ยังไม่ทันจะว่ากล่าวตักเตือนอะไรเลย ..................................................................
  2. ไม่ต้องมาเกลี้ยกล่อมฉันหรอกฉันไม่ใช่พวก ......................................................
  3. สามีภรรยาคู่นี้อยู่กินกัน ...........................................................ก็หย่ากันเสียแล้ว
  4. ตอบแบบนี้เหมือน................................. ยังไง ๆ ก็ถูกวันยังค่ำ
  5. จะสอนให้ละเลิกอบายมุขได้อย่างไร ออกไปนั่งกินเหล้าหน้าโรงเรียนเหมือน................................อยู่ทุกวัน
  6. เธออยู่แต่ในบ้าน ทีวีก็ไม่ดู หนังสือพิมพ์ก็ไม่ชอบอ่านเหมือน .......................................................
  7. มีงบประมาณสองสามหมื่นเลี้ยงคนตั้งพันคนจะไหวหรืออย่าทำเป็น............................................เลย
  8. คดีฆาตรกรรมรายนี้เหมือน ................................................เลยนะ ใครจะนึกว่าจะจับฆาตรกรตัวจริงได้ เรื่องล่วงเลยมาถึงสิบปี
  9. ถามเรื่องอะไรก็บอกว่าไม่เคยได้ยิน จึงไม่รู้เรื่อง สงสัยจะอยู่ ...............................................................
  10. อยู่ใกล้ชิดท่านผู้รู้ กลับไม่พยายามตักตวงความรู้จากท่าน ไปเชื่อคนที่ไม่รู้จริง .....................................

อ่านต่อเพิ่มเติม

ความคิดเห็นในหัวข้อ "ที่มาของสำนวน สุภาษิต คำพังเพย หมวด ก."