บทความน่ารู้

คำควบกล้ำ หรือ อักษรควบ

ภาษาไทยเป็นอีกหนึ่งภาษาที่มีการออกเสียงยากมาก ๆ และหนึ่งในนั้น การออกเสียงคำควบกล้ำก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ วันนี้เราจึงได้นำเรื่องคำควบกล้ำมาฝากกันว่ามีลักษณะอย่างไร มีคำอะไรบ้างไปดูกัน

ภาษาไทยเป็นอีกหนึ่งภาษาที่มีการออกเสียงยากมาก ๆ และหนึ่งในนั้น การออกเสียงคำควบกล้ำก็เป็นอีกหนึ่งสาเหตุ วันนี้เราจึงได้นำเรื่องคำควบกล้ำมาฝากกันว่ามีลักษณะอย่างไร มีคำอะไรบ้างไปดูกัน

 

คำควบกล้ำ ( อักษรควบ ) หมายถึง

คำควบกล้ำ ( อักษรควบ ) หมายถึง พยัญชนะสองตัวเขียนเรียงกันอยู่ต้นพยางค์ และใช้สระเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงกล้ำเป็นพยางค์เดียวกัน  

เสียงวรรณยุกต์ของพยางค์นั้นจะผันเป็นไปตามเสียงพยัญชนะตัวหน้า

 

คำควบกล้ำ ( อักษรควบ ) มี 2 ชนิด คือ

1. คำควบแท้

คำควบแท้   ได้แก่ พยัญชนะ ร ล ว ควบกับพยัญชนะตัวหน้า ประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านออกเสียงพยัญชนะทั้งสองตัวพร้อมกัน เช่น พยัญชนะต้นควบกับ ร ได้แก่ ครู เพราะ ครัว กรน ปรวนแปร ขรุขระ พระ ตรง ครั้ง กราบ โปรด ปรักปรำ ครื้นเครง เคร่งครัด ครอบ ปรอย กรอง ข้อควรจำ

  1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี ร รวมอยู่ในพยัญชนะต้น

เช่น         กราบ   สะกดว่า     กร + อา + บ     อ่านว่า     กราบ แปรง   สะกดว่า     ปร + แอ + ง     อ่านว่า     แปรง

  1. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะ กึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น

เช่น         กราบ   สะกดว่า     กร + อา + บ     อ่านว่า     กราบ แปรง   สะกดว่า     ปร + แอ + ง     อ่านว่า     แปรง

  1. ต้องไม่ใช่คำที่มี ห นำ

เช่น       หรอก   สะกดว่า     หร + ออ + ก     อ่านว่า     หรอก   พยัญชนะต้นควบกับ ล ได้แก่ เปล่า ปลีก คลาน คลุก เคล้า เปลี่ยนแปลง กลบ กลม เพลิดเพลิน เกลี้ยกล่อม เกลียวคลื่น คล่องแคล่ว เกล้า คำที่มี ล เป็นคำควบกล้ำ มี   กล-   ขล-   คล-   ปล- พล- ข้อควรจำ

  1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี ล รวมอยู่ในพยัญชนะต้น

เช่น       กลาง   สะกดว่า   กล + อา + ง     อ่านว่า     กลาง แปลง   สะกดว่า     ปล + แอ + ง   อ่านว่า     แปลง

  1. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะ กึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น

เช่น       ตลาด   สะกดว่า     ตล + อา + ด     อ่านว่า     ตะ - หลาด ตลก     สะกดว่า     ตล + โอะ + ก   อ่านว่า     ตะ - หลก

  1. ต้องไม่ใช่คำที่มี ห นำ

เช่น       หลอก   สะกดว่า   หล + ออ + ก     อ่านว่า     หลอก หลับ    สะกดว่า   หล + อะ + บ     อ่านว่า     หลับ   พยัญชนะต้นควบกับ ว ได้แก่ กวาด ขวาน ควาย ขวิด แคว่งคว้าง แขวน ขวนขวาย คว่ำ ควาญ แกว่งไกว ความ แคว้น ขวัญ ควัน มี   กว-   ขว-   คว- ข้อควรจำ

  1. คำควบกล้ำเวลาสะกดต้องมีพยัญชนะต้นสองตัว โดยจะมี ร รวมอยู่ในพยัญชนะต้น

เช่น       ควาย   สะกดว่า   คว + อา + ย     อ่านว่า     ควาย แขวน   สะกดว่า   ขว + แอ + น   อ่านว่า     แขวน

  1. เมื่อมีพยัญชนะต้นสองตัวแล้วแต่ต้องไม่อ่านออกเสียง อะ กึ่งเสียงที่พยัญชนะต้น

เช่น       สวาย   สะกดว่า     สว + อา + ย     อ่านว่า     สวาย สว่าง   สะกดว่า     สว + อา + ง+ ่   อ่านว่า     สว่าง

  1. ต้องไม่ใช่คำที่มี ห นำ

เช่น     แหวน   สะกดว่า   หว + แอ+ น     อ่านว่า     กราบ

  1. ระวังคำที่มีสระ อัว เพราะจะไม่ใช่คำที่มี ว ควบกล้ำ

เช่น         สวย     สะกดว่า     ส + อัว + ย     อ่านว่า     สวย ควร     สะกดว่า     ค + อัว + ร     อ่านว่า       ควร    

 

2. คำควบไม่แท้

คำควบไม่แท้ ได้แก่ พยัญชนะ ร ควบกับพยัญชนะตัวหน้าประสมสระตัวเดียวกัน เวลาอ่านไม่ออกเสียง ร ออกเสียงเฉพาะตัวหน้าหรือมิฉะนั้นก็ออกเสียง เป็นเสียงอื่นไป คำควบไม่แท้ที่ออกเสียงเฉพาะพยัญชนะตัวหน้า ได้แก่พยัญชนะ จ ซ ศ ส ควบกับ ร เช่น จริง ไซร้ เศร้า ศรี ศรัทธา สร้าง เสริม สร้อย สระ สรง สร่าง คำควบไม่แท้ ท ควบกับ ร แล้วออกเสียงกลายเป็น ซ ได้แก่ ทรง ทราบ ทราม ทราย แทรก ทรุด โทรม     มัทรี อินทรี นนทรี พุทรา  


ท้ายบท

เมื่อได้ทำความเข้าใจแล้วก็จะพบว่าคำควบกล้ำนั้นมีข้อสังเกตง่าย ๆ หลายอย่างว่าเป็นคำควบกล้ำประเภทไหน ลองนำไปเรียนรู้เข้าใจบ่อย ๆ กันนะครับ แล้วเจอกันกับหลักภาษาดี ๆ ในบทความหน้าครับ


อ่านต่อเพิ่มเติม


 หมวดหมู่ ภาษาไทย

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำควบกล้ำ หรือ อักษรควบ"