บทความน่ารู้

อนุญาต ที่ไม่ใช่ อนุญาติ

คำในภาษาไทยอีกหนึ่งคำที่มักจะเขียนและสะกดผิดกันมาตลอด หากมีโพลสำรวจก็คงหนีไม่พ้นอันดับต้น ๆ นั่นคือคำว่า อนุญาต ที่เขียนผิดโดยการเติม สระอิ ไปบน ต.เต่า กลายเป็นคำว่า อนุญาติ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เองก็พลาดกันบ่อยครั้งกับคำนี้

คำในภาษาไทยอีกหนึ่งคำที่มักจะเขียนและสะกดผิดกันมาตลอด หากมีโพลสำรวจก็คงหนีไม่พ้นอันดับต้น ๆ นั่นคือคำว่า อนุญาต ที่เขียนผิดโดยการเติม สระอิ ไปบน ต.เต่า กลายเป็นคำว่า อนุญาติ ทั้งเด็กและผู้ใหญ่เองก็พลาดกันบ่อยครั้งกับคำนี้

 

อนุญาต หรือ อนุญาติ?

ทั้งนี้ทั้งนั้นสาเหตุอาจมาจากการสับสนกับคำว่า ญาติ ที่หมายถึง ญาติพี่น้อง ส่วนคำว่า อนุญาต พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายไว้ดังนี้

อนุญาต หมายถึง ยินยอม, ยอมให้, ตกลง (ก.)
ซึ่งมาจากคำว่า อนุญฺญาต ในภาษาบาลี

 

ส่วนที่เขียนผิดเป็น อนุญาติ หากแยกคำออกจากกันก็จะได้เป็น 2 คำ ดังนี้

  • อนุ หมายถึง คำประกอบหน้าศัพท์บาลีหรือสันสกฤตมีความหมายว่า น้อย หรือ ภายหลัง, รุ่นหลัง เช่น อนุทิศ คือ ทิศน้อย, อนุชน คือ ชนรุ่นหลัง
  • ญาติ หมายถึง คนในวงศ์วานที่ยังนับรู้กันได้ทางเชื้อสายฝ่ายพ่อหรือฝ่ายแม่

ดังนั้นหากไปใช้ผิดหรือสะกดผิดเป็น อนุญาติ ซึ่งเป็นการนำเอาคำสองคำมารวมกันอาจทำให้มีความหมายใหม่ว่า ญาติผู้น้อย หรือ ญาติรุ่นหลัง ๆ เลยก็ได้ จะเห็นได้ว่าเขียนผิดเพียงเล็กน้อยก็ทำให้ความหมายเปลี่ยนไปมากโข และหลักการจำง่าย ๆ ที่นำมาฝากคือให้จำว่า ญาติพี่น้อง (ญาติ - ติ - พี่ - น้อง เพราะคนอื่น ติ ไม่ได้) เพราะฉะนั้น อนุญาต จึงไม่สามารถ ติ ได้

 

 


อ่านต่อเพิ่มเติม

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "อนุญาต ที่ไม่ใช่ อนุญาติ"