สุภาษิตไทย

สุภาษิตไทย หมวด ก พร้อมความหมาย

สุภาษิตไทย หมวด ก พร้อมความหมาย ตามที่เคยรู้จัก สํานวนสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

คำสุภาษิต

คำสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี

คำสุภาษิตส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่บางครั้งเมื่อเราได้ฟัง ก็ไม่ค่อยเข้าใจความหมายของสุภาษิตเท่าไหร่ ต้องนำไปประกอบกับเหตุการณ์หรือกับตัวบุคคลเพิ่มเติม ถึงจะได้ความหมายที่เป็นคติเตือนใจ ซึ่งคำสุภาษิตนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ

  1. คำสุภาษิตที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที โดยที่ไม่ต้องแปลความหมายให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก
  2. คำสุภาษิตที่ฟังแล้วไม่เข้าใจในทันที ต้องแปลความหมายของมันให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ก่อนถึงจะรู้ความหมายของคำสุภาษิตนั้น ๆ เช่น รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ

และก็ยังมีคำที่ใกล้เคียงคำสุภาษิตอยู่อีก จนบางคำแทบแยกประเภทไม่ออกเลย นั่นคือ

สำนวนไทย

สำนวน หรือ สำนวนไทย คือ คำพูดในลักษณะเปรียบเทียบ และต้องแปลความหมายก่อน ดูคล้าย ๆ กับคำสุภาษิตประเภทที่ 2 เลย

คำพังเพย

คำพังเพย คือ คำพูดที่พูดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจว่าจะสอนอะไร แต่เป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบว่าสถานการณ์นั้นเป็นอย่างไร เป็นลักษณะให้แง่คิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้

รวมสุภาษิตไทย หมวด ก พร้อมความหมาย

สุภาษิตไทย หมวด ก พร้อมความหมาย ตามที่เคยรู้จัก สํานวนสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. ก ข ไม่กระดิกหู หมายถึง ผู้ที่เรียนหนังสือแล้วไม่รู้ อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้
  2. กงกำกงเกวียน หมายถึง การกระทำใดๆ ที่เคยทำไปในอดีต ส่งผลต่อผู้กระทำนั้นๆ มักใช้กับการกระทำในทางที่ไม่ดี ในลักษณะถูกผลกรรมตามสนอง
  3. กงเกวียนกำเกวียน หมายถึง การกระทำใดๆ ที่เคยทำไปในอดีต ส่งผลต่อผู้กระทำนั้นๆ มักใช้กับการกระทำในทางที่ไม่ดี ในลักษณะถูกผลกรรมตามสนอง
  4. กบเกิดใต้บัวบาน หมายถึง อยู่ใกล้สิ่งที่ดีงาม แต่ไม่รู้จักคุณค่า
  5. กบเลือกนาย หมายถึง ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาอยู่เรื่อย ๆ
  6. กบในกะลาครอบ หมายถึง ผู้มีความรู้และประสบการณ์น้อย แต่สำคัญตนว่ามีความรู้มาก
  7. กรวดน้ำคว่ำขัน หมายถึง ตัดขาดไม่ขอเกี่ยวข้องด้วย
  8. กรวดน้ำคว่ำขัน หมายถึง ตัดขาดไม่เกี่ยวข้องด้วย ชาตินี้อย่าได้จอยกัน
  9. กระจอกงอกง่อย หมายถึง ยากจนเข็ญใจ
  10. กระดังงาลนไฟ หมายถึง หญิงที่เคยผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงดีกว่าผู้หญิงที่ยังไม่เคยแต่งงาน
  11. กระดี่ได้น้ำ หมายถึง อาการแสดงความดีใจ หรือตื่นเต้นจนตัวสั่น
  12. กระดูกขัดมัน หมายถึง ขี้เหนียวมากอย่างไม่ยอมให้อะไรแก่ใครง่าย ๆ
  13. กระดูกร้องไห้ หมายถึง การจับตัวฆาตกรมาลงโทษได้หลังจากพบหลักฐานโดยบังเอิญ
  14. กระต่ายขาเดียว หมายถึง ยืนกรานไม่ยอมรับ
  15. กระต่ายตื่นตูม หมายถึง คนที่แสดงอาการตื่นตกใจง่ายโดยไม่ทันสำรวจให้ถ่องแท้ก่อน
  16. กระต่ายหมายจันทร์ หมายถึง ผู้ชายหมายปองผู้หญิงที่มีฐานะดีกว่า
  17. กระเชอก้นรั่ว หมายถึง ใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่าย ไม่ประหยัด ไม่เก็บหอมรอมริบ
  18. กระโถนท้องพระโรง หมายถึง บุคคลที่ถูกใคร ๆ รุมใช้อยู่คนเดียว
  19. กรุงศรีอยุธยาไม่สิ้นคนดี หมายถึง เมื่อถึงคราวบ้านเมืองนั้นๆถึงคราวยากลำบาก ก็ยังเหลือคนดีมีความสามารถมาช่วยกอบกู้สถานการณ์ช่วยเหลือให้ผ่านพ้นไปได้
  20. กลับหน้ามือเป็นหลังมือ หมายถึง เปลี่ยนแปลงจากเดิมไปอย่างตรงกันข้าม
  21. กลับเนื้อกลับตัว หมายถึง เลิกทำความชั่ว แล้วมาประพฤติตัวเป็นคนดี
  22. กลัวให้ถูกท่า กล้าให้ถูกที่ ดีให้ถูกทาง หมายถึง ทำอะไรก็ต้องให้ถูกกาลเทศะ
  23. กลิ้งครกขึ้นภูเขา หมายถึง เรื่องที่กำลังจะทำนั้นจะทำให้สำเร็จนั้นทำได้ยากลำบาก ต้องใช้ความพยายามและความสามารถอย่างมาก เปรียบเสมือนการ กลิ้งครกขึ้นภูเขา
  24. กลืนไม่เข้าคายไม่ออก หมายถึง พะอืดพะอม จะทำอะไรก็ไม่ถนัด
  25. กล้านักมักบิ่น หมายถึง กล้าเกินไปมักจะเกิดอันตรายได้
  26. กวนน้ำให้ขุ่น หมายถึง ทำเรื่องราวที่สงบอยู่แล้วให้เกิดวุ่นวายขึ้นมา
  27. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ หมายถึง ทำอะไรไม่ทันท่วงที
  28. กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้ หมายถึง ลักษณะของการทำงานที่มีความรีรอลังเลใจ ทำให้แก้ไขปัญหาได้ไม่ทันท่วงที เมื่อได้อย่างหนึ่งแล้ว แต่กลับต้องเสียอีกอย่างหนึ่งไป
  29. กะดี่ได้น้ำ หมายถึง คนที่แสดงอาการตื่นเต้น ดีใจ ออกนอกหน้าจนระงับอาการไม่อยู่
  30. กัดก้อนเกลือกิน หมายถึง ใช้ชีวิตอย่างแร้นแค้นมาก
  31. กาคาบพริก หมายถึง คนผิวดำที่ชอบแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง ๆ หรือสีแจ๋นๆ
  32. กาในฝูงหงส์ หมายถึง ผู้ที่ต่ำต้อยไม่มีเกียรติ อยู่ท่ามกลางเจ้าขุนมูลนายสูงศักดิ์
  33. กำขี้ดีกว่ากำตด หมายถึง การที่คนๆนั้นจะเลือกสิ่งที่มีมูลค่าหรือคุณค่าน้อยว่าแต่ว่าจะได้แน่ๆ ดีกว่าการเลือกสิ่งที่มีคุณค่าหรือมูลค่าสูงกว่า แต่ยังมีความไม่แน่นอนในการได้มาของสิ่งนั้นๆ
  34. กำแพงมีหูประตูมีช่อง / กำแพงมีหูประตูมีตา หมายถึง จะพูดอะไรต้องระวัง อาจมีคนรู้ได้
  35. กินที่ลับขับที่แจ้ง หมายถึง การได้ประโยชน์กันในที่ลับไม่มีใครรู้ แต่ต่อมามีการขัดข้องกันจึงนำเรื่องที่เคยทำนั้นมาเปิดเผยให้หลายๆคนรับรู้ มักใช้ในเชิงชู้สาว
  36. กินที่ลับไขที่แจ้ง หมายถึง เอาความลับหรือเอาเรื่องที่ทำกันที่ลับมาเปิดเผยให้คนเขารู้
  37. กินน้ำพริกถ้วยเก่า หมายถึง อยู่กับเมียคนเดิม
  38. กินน้ำเห็นปลิง หมายถึง ตะขิดตะขวงใจกับคนชั่วที่รู้พูดหรือคบด้วยโดยรู้ว่าเขาไม่ดี
  39. กินน้ำใต้ศอก หมายถึง เมียน้อยต้องยอมรับของเหลือเดนจากเมียหลวงตกเป็นรองด้านศักดิ์ศรี
  40. กินน้ำไม่เผื่อแล้ง หมายถึง มีเงิน มีของก็ใช้ถลุงเสียจนหมด ไม่ห่วงอนาคตข้างหน้า
  41. กินบนเรือน ขี้รดบนหลังคา หมายถึง คนที่เนรคุณคนเปรียบได้กับคนที่อาศัยพักพิงบ้านเขาอยู่แล้ว คิดทำมิดีมิชอบให้เกิดขึ้นภายในบ้านนั้น ทำให้เจ้าของบ้านที่ให้อาศัยต้องเดือดร้อน
  42. กินบนเรือนขี้บนหลังคา หมายถึง คนเนรคุณอาศัยบ้านเขาหรือเขาให้ความช่วยเหลือแต่กลับทำความบัดซบให้
  43. กินบนเรือนแล้วขี้รดหลังคา หมายถึง เนรคุณ
  44. กินปูนร้อนท้อง หมายถึง ทำผิดแล้วมักออกตัว แสดงพิรุธ
  45. กิ่งทองใบหยก หมายถึง ชายหนุ่ม หญิงสาวเหมาะสมกันดีที่จะแต่งงาน
  46. ก่อร่างสร้างตัว หมายถึง ทำงานหาเงินเป็นกอบเป็นกำ ตั้งเนื้อตั้งตัวได้เป็นหลักฐาน
  47. ก่อแล้วต้องสาน หมายถึง เริ่มอะไรแล้วต้องทำต่อให้เสร็จ
  48. เกลียดตัวกินไข่ เกลียดปลาไหลกินน้ำแกง หมายถึง เกลียดตัวเขาแต่อยากได้ผลประโยชน์จากเขา
  49. เกลือจิ้มเกลือ หมายถึง ไม่ยอมเสียเปรียบกัน แก้เผ็ดให้สาสมกัน
  50. เกลือเป็นหนอน หมายถึง ญาติมิตร สามีภรรยา บุตรธิดา เพื่อนร่วมงาน หรือคนในบ้าน คิดคดทรยศ
  51. เกี่ยวแฝกมุงป่า หมายถึง ทำอะไรเกินกำลังความสามารถของตัว
  52. เก็บดอกไม้ร่วงต้น หมายถึง เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่]ชาติปางก่อนจึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้
  53. เก็บดอกไม้ร่วมต้น หมายถึง เคยทำบุญกุศลร่วมกันมาแต่ชาติปางก่อน จึงมาอยู่ร่วมกันในชาตินี้
  54. เก็บหอมรอมริบ หมายถึง เก็บรวบรวมไว้ทีละเล็กละน้อย
  55. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน หมายถึง ถึงจะทำงานเล็กใหญ่ หรือค้าขายอะไรก็ตาม ก็พยายามค่อยๆ ทำให้ดีขึ้นแม้เล็กน้อยๆ เมื่อรวมกันและใช้เวลาก็จะทำให้การงานนั้นเห็นผลเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้
  56. เก็บเล็กผสมน้อย หมายถึง เก็บสะสมเงินทีละน้อยนานไปก็จะมีเยอะ
  57. เก็บเล็กผสมน้อย หมายถึง เก็บไว้ทีละเล็กละน้อย
  58. แกงจืดจึงรู้คุณเกลือ หมายถึง จะรู้ค่าของบางสิ่งก็ต่อเมื่อเดือดร้อน
  59. แกว่งเท้าหาเสี้ยน หมายถึง เข้าไปยุ่งกับเรื่องของผู้อื่นจนเกิดเป็นเรื่องกลับมาที่ตัวเอง
  60. แกะดำ หมายถึง คนที่ทำอะไรผิดเพื่อนผิดฝูงในกลุ่มนั้น ๆ (ใช้ในทางไม่ดี)
  61. ใกล้เกลือกินด่าง หมายถึง มองข้ามของดีที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตน กลับไปแสวงหาสิ่งอื่นที่ด้อยกว่า
  62. ไกลปืนเที่ยง หมายถึง ไม่ค่อยรู้ความเป็นไปของโลก เพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ
  63. ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง หมายถึง ความสวยงามเกิดขึ้นได้จากการปรุงแต่ง
  64. ไก่รองบ่อน หมายถึง ผู้ที่อยู่ในฐานะตัวสำรอง ซึ่งจะเรียกมาใช้เมื่อไรก็ได้
  65. ไก่อ่อน หมายถึง อ่อนหัด, ยังไม่ชำนาญ
  66. ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่ หมายถึง ต่างฝ่ายต่างรู้ความลับของกันและกัน
  67. ไก่แก่แม่ปลาช่อน หมายถึง หญิงค่อนข้างมีอายุ มีมารยาและเล่ห์เหลี่ยมมาก
  68. ไก่ได้พลอย หมายถึง ได้สิ่งที่มีค่าแต่ไม่รู้คุณค่า จึงไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "สุภาษิตไทย หมวด ก พร้อมความหมาย"