สุภาษิตไทย

สุภาษิตไทย หมวด ข พร้อมความหมาย

สุภาษิตไทย หมวด ข พร้อมความหมาย ตามที่เคยรู้จัก สํานวนสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

คำสุภาษิต

คำสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี

คำสุภาษิตส่วนใหญ่จะมาในรูปแบบของสำนวนโวหาร หรือคำพังเพย แต่บางครั้งเมื่อเราได้ฟัง ก็ไม่ค่อยเข้าใจความหมายของสุภาษิตเท่าไหร่ ต้องนำไปประกอบกับเหตุการณ์หรือกับตัวบุคคลเพิ่มเติม ถึงจะได้ความหมายที่เป็นคติเตือนใจ ซึ่งคำสุภาษิตนั้นมีอยู่ 2 ประเภท คือ

  1. คำสุภาษิตที่ฟังแล้วเข้าใจได้ทันที โดยที่ไม่ต้องแปลความหมายให้เข้ากับสถานการณ์นั้น ๆ ตัวอย่างเช่น น้ำขึ้นให้รีบตัก
  2. คำสุภาษิตที่ฟังแล้วไม่เข้าใจในทันที ต้องแปลความหมายของมันให้เข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ก่อนถึงจะรู้ความหมายของคำสุภาษิตนั้น ๆ เช่น รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ

และก็ยังมีคำที่ใกล้เคียงคำสุภาษิตอยู่อีก จนบางคำแทบแยกประเภทไม่ออกเลย นั่นคือ

สำนวนไทย

สำนวน หรือ สำนวนไทย คือ คำพูดในลักษณะเปรียบเทียบ และต้องแปลความหมายก่อน ดูคล้าย ๆ กับคำสุภาษิตประเภทที่ 2 เลย

คำพังเพย

คำพังเพย คือ คำพูดที่พูดออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจว่าจะสอนอะไร แต่เป็นการพูดเชิงเปรียบเทียบว่าสถานการณ์นั้นเป็นอย่างไร เป็นลักษณะให้แง่คิดที่สามารถนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของเราได้

รวมสุภาษิตไทย หมวด ข พร้อมความหมาย

สุภาษิตไทย หมวด ข พร้อมความหมาย ตามที่เคยรู้จัก สํานวนสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. ขนมผสมน้ำยา หมายถึง ทั้งคู่ดีเลวพอกัน จะบอกว่าใครดีกว่าใครไม่ได้
  2. ขวานฝ่าซาก หมายถึง พูดจาตรง ๆ ไม่เกรงใจใครเลย
  3. ขว้างงูไม่พ้นคอ หมายถึง ทำอะไรก็ตาม ผลร้ายย้อนกลับมาสู่ตัวเอง
  4. ขายผ้า เอาหน้ารอด หมายถึง ยอมเสียทุกอย่างเพื่อรักษาชื่อเสียง
  5. ขายผ้าเอาหน้ารอด หมายถึง ยอมเสียสละของสำคัญของตนเพื่อรักษาชื่อเสียงตนเอาไว้
  6. ขิงก็ราข่าก็แรง หมายถึง ต่างคนต่างแรง ไม่ยอมกัน เรื่องเล็กก็เลยกลายเป็นเรื่องใหญ่ไป เพราะทิฐิมานะ
  7. ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง ทำเรื่องเล็กให้กลายเป็นเรื่องใหญ่ ได้ผลไม่คุ้มกับที่ต้องเสียไป
  8. ขุดด้วยปาก ถากด้วยตา หมายถึง เหยียดหยามทั้งวาจา และสายตามองแบบดูถูก
  9. ขุดบ่อล่อปลา หมายถึง ทำกลอุบายให้เขาเชื่อเพื่อหวังผลประโยชน์
  10. ข่มเขาโคขืนให้กินหญ้า หมายถึง บังคับขืนใจผู้อื่นให้ทำตามที่ใจเราปรารถนา
  11. เขียนเสือให้วัวกลัว หมายถึง ทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งเสียขวัญหรือเกรงขาม
  12. เขียนเสือให้วัวกลัว หมายถึง ขู่ให้กลัว
  13. เข็นครกขึ้นภูเขา หมายถึง ทำงานที่ยากลำบากต้องใช้ความเพียรพยายามและอดทนมาก
  14. เข้าด้ายเข้าเข็ม หมายถึง กำลังคับขันเวลากำลังสำคัญ ถ้าพลาดหรือมีอะไรมาขัดจังหวะจะเสียการ
  15. เข้าตามตรอก ออกตามประตู หมายถึง ทำอะไรให้ถูกต้องตามขนบธรรมเนียมประเพณี
  16. เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า หมายถึง ให้รอบคอบ อย่าประมาท
  17. เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า ได้หน้าอย่าลืมหลัง หมายถึง อย่าประมาทต้องเตรียมให้พร้อม และให้มีสติกำหนดจดจำให้ดี
  18. เข้าเมืองตาหลิ่ว ต้องหลิ่วตาตาม หมายถึง ประพฤติให้ถูกต้องตามกาลเทศะ เมื่อไปอยู่ในพวกเขาแล้ว ก็ต้องประพฤติคล้อยตามเขา

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "สุภาษิตไทย หมวด ข พร้อมความหมาย"