สำนวนไทย

สำนวนไทย หมวด ข

สำนวนไทย หมวด ข ตามที่เคยรู้จัก สํานวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

รวมสำนวนไทย หมวด ข

สำนวนไทย หมวด ข ตามที่เคยรู้จัก สํานวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. ขนทรายเข้าวัด หมายถึง ทำบุญกุศลโดยวิธีนำหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ทรายเป็นต้นที่วัด (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม
  2. ขนมพอสมกับน้ำยา หมายถึง ใช้ในการเปรียบเทียบของทั้งสองสิ่งนั้นมีมูลค่า, ความดีความร้าย, ความสามารถ นั้นพอ ๆ กัน ไม่ด้อยไปกว่ากัน
  3. ขนหน้าแข้งไม่ร่วง หมายถึง ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่คนมั่งมีที่ต้องจ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจำนวนเล็ก ๆ น้อย ๆ)
  4. ขบเผาะ หมายถึง วัยกำลังแตกเนื้อสาว
  5. ขมิ้นกับปูน หมายถึง ชอบวิวาทกันอยู่เสมอเมื่ออยู่ใกล้กัน ไม่ถูกกัน
  6. ขมเป็นยา หมายถึง คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด มักใช้เข้าคู่กับ หวานเป็นลม ว่า หวานเป็นลม ขมเป็นยา
  7. ขวานฝ่าซาก หมายถึง ผงผางไม่เกรงใจใคร (ใช้แก่กริยาพูด)
  8. ขัดคอคน สนจมูกม้า หมายถึง ยับยั้งคนอื่นให้อยู่ในลู่ในทาง ดังม้าพยศ ต้องสนเคราสนจมูก ก็จะควบคุมม้าได้ ทำให้ได้ม้ามาใช้ประโยชน์
  9. ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง การทำอะไรที่มากเกินตัว
  10. ขี้หมูราขี้หมาแห้ง หมายถึง ไม่มีสาระ,ไม่มีประโยชน์
  11. ข่มเหงคะเนงร้าย หมายถึง รังแกเบียดเบียน
  12. เข้าพกเข้าห่อ หมายถึง เอาไว้เป็นส่วนของตัว รู้จักเก็บไว้บ้าง รู้จักเก็บไม่ใช้สุรุ่ยสุร่าย
  13. เข้าพระเข้านาง หมายถึง แสดงบทเกี้ยวพาราสี
  14. เข้ารกเข้าพง หมายถึง พูดหรือทำไม่ถูกต้องกับเรื่องเพราะขาดความชำนาญในเรื่องนั้น
  15. เข้าร่องเข้ารอย หมายถึง ถูกต้องตามระเบียบแบบแผนที่วางไว้แต่เดิม เริ่มกลับเข้าที่เป็นเหมือนเดิมอย่างที่เคยเป็นมาอยู่แต่ก่อน
  16. เข้าหูซ้ายทะลุหูขาว หมายถึง บอกหรือสอนไปไม่ได้ผลไม่ได้ความ ไม่สนใจอะไร ไม่ฟังในสิ่งที่สอนสั่ง
  17. เข้าเนื้อ หมายถึง ขาดทุน เสียทรัพย์ไป เสียหาย เสียเปรียบ เช่น พูดให้เข้าเนื้อ เข้าเลือด หรือ เข้าเลือดเข้าเนื้อ ก็ว่า
  18. เข้าเลือดเข้าเนื้อ หมายถึง เสียผลประโยชน์แล้วยังต้องเสียเงินอีกด้วย
  19. เข้าไส้ หมายถึง ถึงอกถึงใจ ถึงแก่น ถึงที่สุด เช่น ฉันเกลียดคนนี้เข้าไส้เลยแหละ
  20. แขนซ้ายแขนขวา หมายถึง บริวารหรือผู้ใต้บังคับบัญชาที่คอยเป็นมือไม้แทนคอยทำงานให้
  21. ไข่ในหิน หมายถึง ของที่ต้องระมัดระวังทะนุถนอมและหวงอย่างยิ่ง ไม่ยอมให้ไครมาทำอันตรายเด็ดขาดหรือเข้ามาเกี่ยวข้องได้โดยง่าย

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "สำนวนไทย หมวด ข"