สำนวนไทย

สำนวนไทย หมวด อ

สำนวนไทย หมวด อ ตามที่เคยรู้จัก สํานวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

รวมสำนวนไทย หมวด อ

สำนวนไทย หมวด อ ตามที่เคยรู้จัก สํานวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. ออกยักษ์ออกโขน หมายถึง กระโดดโลดเต้นอึกทึกครึกโครมอย่างเล่นโขน, ทำท่าและออกเสียงเอะอะด้วยความโกรธ
  2. ออกลาย หมายถึง เริ่มแสดงความไม่ดีให้ปรากฏหลังจากที่แสร้งทำดีมาแล้ว
  3. อัฐยายซื้อขนมยาย หมายถึง เอาทรัพย์จากผู้ปกครองหญิงที่จะขอแต่งงานด้วย มอบให้เป็นสินสอดทองหมั้นแก่ผู้ปกครองหญิงนั้นโดยสมรู้กัน, โดยปริยายหมายถึงการกระทำอย่างอื่นในทำนองเดียวกันนี้ เช่น เอาทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่งซื้อหรือแลกสิ่งของอื่นของผู้นั้น
  4. อ้าปากเห็นลิ้นไก่ หมายถึง รู้ทันกัน รู้ทันสิ่งที่จะทำ
  5. เออออห่อหมก หมายถึง เอาใจฟัง, เห็นด้วย, พลอยเห็นไปตามด้วย (เหมือน เออออ)
  6. เอาข้างเข้าถู หมายถึง ไม่ใช้เหตุผล ดื้อดันจะเอาชนะให้ได้ เอาสีข้างเข้าถู ก็ว่า
  7. เอาจมูกผู้อื่นมาหายใจ หมายถึง อาศัยผู้อื่นทำงานให้มักไม่สะดวกเหมือนทำด้วยตนเอง
  8. เอาน้ำลูบท้อง หมายถึง อดทนในยามยามโดยกินน้ำแทนข้าว
  9. เอาปูนหมายหัว หมายถึง ผูกอาฆาตไว้ คาดโทษไว้ เชื่อแน่ว่าจะเป็นไปตามที่คาดหมายไว้ ประมาทหน้าว่าไม่มีทางจะเอาดีได้
  10. เอามือซุกหีบ หมายถึง หาเรื่องเดือดร้อนหรือความลำบากใส่ตัวโดยใช่ที่
  11. เอาหน้า หมายถึง อยากให้คนยกย่องสรรเสริญ, ทำงานเฉพาะเวลาอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "สำนวนไทย หมวด อ"