สำนวนไทย

สำนวนไทย หมวด ย

สำนวนไทย หมวด ย ตามที่เคยรู้จัก สํานวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

รวมสำนวนไทย หมวด ย

สำนวนไทย หมวด ย ตามที่เคยรู้จัก สํานวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. ยกภูเขาออกจากอก หมายถึง โล่งอก, หมดวิตกกังวล, ปลดเปลื้องภาระที่หนักอกหนักใจให้หมดไป
  2. ยกยอปอปั้น หมายถึง ยกให้, มอบให้, เช่น ยกยอปอปั้นลูกสาวให้เขาไป; ยกย่องเกินจริง เช่น ยกยอปอปั้นให้เป็นคุณหญิง
  3. ยกเครื่อง หมายถึง ซ่อมใหญ่เครื่องยนต์ของรถยนต์หรือเรือยนต์เป็นต้น
  4. ยกเค้า หมายถึง เอาต้นทุนหรือกองทุนไปหมด (ใช้แก่การพนัน) เช่น แทงยกเค้า; ขโมยทรัพย์สินไปหมด เช่น เขาถูกยกเค้า
  5. ยกเมฆ หมายถึง เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร. (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา. (ขุนช้างขุนแผน); เดาเอา, นึกคาดเอาเอง, กุเรื่องขึ้น
  6. ยกใหญ่ หมายถึง มากมาย, เป็นการใหญ่, เช่น ร้องไห้เสียยกใหญ่
  7. ยักกระสอบ หมายถึง แปลงเปลี่ยน สับเปลี่ยน
  8. ยักท่า หมายถึง ไม่ปฏิบัติตามที่ตกลงกันไว้ เป็นการเล่นแง่เพื่อดูท่วงทีของอีกฝ่ายหนึ่ง
  9. ยักษ์ปักหลั่น หมายถึง ผู้มีรูปร่างใหญ่โต
  10. ยาหม้อใหญ่ หมายถึง สิ่งที่น่าเบื่อ เช่น วิชาคำนวณเป็นยาหม้อใหญ่
  11. ยืนกระต่ายขาเดียว หมายถึง พูดยืนยันอยู่คำเดียว โดยไม่เปลี่ยนความคิดเดิม, มักพูดว่า ยืนกระต่ายขาเดียว
  12. ยืมจมูกคนอื่นหายใจ หมายถึง อาศัยผู้อื่นทำงานให้มักไม่สะดวกเหมือนทำด้วยตนเอง
  13. ยื่นจมูก หมายถึง เข้าไปสอดแทรกในเรื่องที่ไม่ใช่ธุระของตน, เสือก
  14. ยื่นหมูยื่นแมว หมายถึง แลกกันโดยต่างฝ่ายต่างให้และรับในเวลาเดียวกัน
  15. ยุแยงตะแคงรั่ว หมายถึง ยุให้ทั้ง ๒ ฝ่ายแตกกัน
  16. ย้อมแมวขาย หมายถึง ตกแต่งคนหรือของที่ไม่ดีโดยมีเจตนาจะหลอกลวงให้ผู้อื่นเชื่อว่าดี
  17. แย้มปากเห็นไรฟัน หมายถึง เพียงแต่พูดก็รู้ความหมาย

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "สำนวนไทย หมวด ย"