ภาษาอีสาน

ภาษาอีสาน หมวด อ

ภาษาอีสาน หมวด อ ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมภาษาอีสาน หมวด อ

ภาษาอีสาน หมวด อ ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. อกรรมกิริยา
    หมายถึง กิริยาที่ไม่ต้องมีกรรมรับ เช่น ยืน เดิน นั่ง นอน (ส.).
  2. อกุศลกรรม
    หมายถึง ความชั่วร้าย โทษ บาป (ป. อกุสลกมฺม).
  3. อกุศลกรรมบถ
    หมายถึง ทางแห่งความชั่ว ทางบาป มี ๑๐ อย่าง คือ เกิดแต่กาย เรียก กายทุจริต ๓ ได้แก่ฆ่าสัตว์ ลักทรัพย์ ประพฤติผิดในกาม เกิดแต่วาจา เรียก วจีทุจริต ๔ ได้แก่พูดเท็จ พูดส่อเสียด พูดคำหยาบ พูดเพ้อเจ้อ เกิดแต่ใจ เรียก มโนทุจริต ๓ ได้แก่โลภอยากได้ของคนอื่น ปองร้ายเขา เห็นผิดจากคลองธรรม เรียก อกุศลกรรมบถ (ป. ส.).
  4. อนันตริยกรรม
    หมายถึง กรรมที่มีโทษหนักที่สุด ห้ามสวรรค์ห้ามนิพพาน ตกนรกหมกไหม้หาระหว่างมิได้ อนันตริยกรรมมี ๕ อย่าง คือ ฆ่าพ่อ ฆ่าแม่ ฆ่าพระอรหันต์ ทำสงฆ์ให้แตกจากกัน ทำโลหิตุบาท (ป.).
  5. อนิจกรรม
    หมายถึง ความตาย พระยาพานทองตายใช้ว่า ถึงอนิจกรรม.
  6. อนุกรรมการ
    หมายถึง กรรมการน้อย กรรมการใหญ่เรียกกรรมการ ในกรณีที่จำต้องมีกรรมการสองระดับ ระดับแรกเรียก กรรมการ ระดับสอง เรียก อนุกรรมการ.
  7. อยากหัว
    หมายถึง น่าขัน น่าหัวเราะ
  8. อย่าฟ้าว
    หมายถึง อย่าเพิ่ง
  9. อสัญกรรม
    หมายถึง ความตาย ข้าราชการชั้นเจ้าพระยาตาย ใช้ว่า ถึงแก่อสัญกรรม (ราชา).
  10. อสุภกรรมฐาน
    หมายถึง กรรมฐานที่ยึดเอาซากศพเป็นอารมณ์ เพื่อพิจารณาให้เห็นความไม่งาม ความไม่เที่ยงแท้ของสังขารเป็นอารมณ์ (ป.).
  11. ออกกรรม
    หมายถึง การที่ภิกษุต้องอาบัติหนักแล้วไม่เข้ากรรม เรียก ออกกรรม จะร่วมอุโบสถสังฆกรรมกับภิกษุผู้บริสุทธิ์ไม่ได้ ต้องเข้ากรรมเสียก่อน การเข้ากรรมคือ เข้าปริวาส คือการอยู่ในขอบเขตจำกัด ปกปิดอาบัติไว้กี่วันต้องอยู่ปริวาสให้ครบเท่ากับวันที่ปกปิดไว้ เมื่ออยู่ปริวาสครบแล้ว ต้องเข้ามานัตอีก ๖ วัน ต่อจากนั้นพระสงฆ์จะสวดอัพภาน คือสวดรับรองว่าเป็นผู้บริสุทธิ์แล้ว ร่วมอุโบสถร่วมสังฆกรรมกับพระสงฆ์ได้ ธรรมเนียมอีสานมีประเพณีเข้ากรรมอยู่ด้วย เป็นประเพณีที่ต้องทำในระหว่างเดือนอ้าย เรียก ประเพณีเข้ากรรม ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้พระสงฆ์ที่ทำผิดพระพุทธบัญญัติมีโอกาสแก้ตัวได้.
  12. ออกกรรม (ญ)
    หมายถึง การที่หญิงอยู่ไฟครบกำหนดแล้วออก เรียก ออกกรรม หญิงสาวอีสานที่มีลูกครบกำหนด เมื่อออกลูกแล้วต้องอยู่ไฟ สำหรับท้องสาวอยู่ไฟครบสิบห้าวัน ท้องคนต่อไปอยู่สิบวันหรือเจ็ดวันก็ได้ เมื่อครบกำหนดแล้วก็ทำพิธีออกจากไฟ เรียก ออกกรรม.
  13. อัง
    หมายถึง คับแคบ
  14. อัตวินิบาตกรรม
    หมายถึง การฆ่าตัวตาย.
  15. อาชญากรรม
    หมายถึง การกระทำความผิดทางอาญา (ส.).
  16. อาดหลาด
    หมายถึง ใช้ในการขยายคำให้มีความชัดเจนขึ้น ซึ่งหมาย ถึง ยาว , สูงใหญ่ , ยาวใหญ่
  17. อาพิล
    หมายถึง ขุ่นมัว เศร้าหมอง อาวิล (ป. ส. อาวิล).
  18. อาว
    หมายถึง น้องชายของพ่อ เรียก อาว อย่างว่า ขอให้อาได้เห็นหน้าอาวยามน้อย (สังข์) เขาพี่น้องเนืองสู้ช่อยอาว (ฮุ่ง). อาว แปลว่า น้องชายของพ่อ ส่วนน้องสาวของพ่อ เรียกว่า อา เหมือนในภาษาไทยกลาง
  19. อิหลี
    หมายถึง จริง อีหลี
  20. อิแม่
    หมายถึง แม่
  21. อีจู้
    หมายถึง เครื่องมือดักปลาไหล มีลักษณะคล้ายแจกัน มีไส้ในสำหรับใส่เหยื่อทำจากไม้ไผ่สานมีรูปร่างสวยงาม ใช้สำหรับดักปลาไหลโดยเฉพาะ กู้อีจู้, สุ่มดักปลาไหล, ตุ้มใส่ปลาไหล, ไซดักปลาไหล, ลัน ก็เรียก
  22. อีหลี
    หมายถึง จริงๆ
  23. อีเกิ้ง
    หมายถึง ดวงจันทร์
  24. อีเกิ้ง
    หมายถึง ดวงจันทร์
  25. อีแปะ
    หมายถึง ชื่อเงินตราโบราณชนิดหนึ่ง เรียก เงินอีแปะ.
  26. อีโตน
    หมายถึง (กริยา) สงสาร รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
  27. อึ่งเป๊าะ
    หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เรียก ต้นอึ่งเป๊าะ.
  28. อุตสาหกรรม
    หมายถึง การทำสิ่งของเพื่อให้เกิดผลประโยชน์เป็นกำไร การประกอบธุรกิจขนาดใหญ่ที่ต้องใช้แรงงานและทุนมาก.
  29. อุตสาหกรรมศิลป์
    หมายถึง วิชาที่เรียนมุ่งให้ผู้เรียนเกิดความชำนาญในการประดิษฐ์และเกิดความคุ้นเคยกับการใช้เครื่องมือและเครื่องกล.
  30. อุปสมบทกรรม
    หมายถึง การบวชเป็นภิกษุ.
  31. อโหสิกรรม
    หมายถึง กรรมที่เลิกให้ผล การเลิกแล้วต่อกัน การไม่เอาโทษกัน เรียกเพียงคำว่า อโหสิ ก็มี (ป.).
  32. อ้าย
    หมายถึง พี่ชาย
  33. เอิ้น
    หมายถึง เรียก, ร้อง, ป่าวประกาศ
  34. เอี่ยน
    หมายถึง ปลาไหล ปลาไหลเรียก เอี่ยน มี ๒ ชนิด คือ เอี่ยนธรรมดา และเอี่ยนด่อน เอี่ยนด่อนมีสีค่อนข้างขาว อย่างว่า เอี่ยนขอเลือดนำกระปู (ภาษิต) ปล่อยเอี่ยนลงตม (ภาษิต).
  35. เอี่ยนด่อน
    หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่ง เปลือกค่อนข้างขาว ใช้ทำยาได้ เรียก ต้นเอี่ยนด่อน.
  36. แอ่นแส่ว
    หมายถึง นกแอ่นลม ชื่อนกชนิดหนึ่งชอบบินไปตามลม เรียก นกแอ่นแส่ว มีปีกยาว กินแมลงเป็นอาหาร.
  37. โอสถกรรม
    หมายถึง การแพทย์แผนกใช้ยา การรักษาไข้ด้วยวิธีใช้ยา.
  38. โอ้กโลก
    หมายถึง เปื้อน, มอมแมม มักใช้ขยายความสกปรก ซึ่งจะหมายถึงมอมแมมมาก ๆ ลักษณะการทาแป้งหรือสิ่งที่คล้ายแป้งมากเกินไป
  39. โอ้นโต้น
    หมายถึง ลักษณะของสิ่งที่ห้อยลงมา, โตงเตง
  40. ไอยรา
    หมายถึง 1.) ช้าง อย่างว่า ประดับหยวกเข้าขันต่อเต็งชน เฮาจักชนไอยราต่อมือมันเจ้า ถืนถืนเข้าตำชนทุกแห่ง ม้ามากล้นลีล้าวพุ่งแหลม (ฮุ่ง). 2.) แผ่นดิน อย่างว่า ท้าวส่งเปลื้องฟ้าท่าวไอยรา (กา) ปืนแผดเพี้ยงสะเทือนทุ่มไอยรา มารฟางฟุบเลือดโทมทังค้าย นับแต่ตัวเดียวเถ้าตายคืนพลแผ่ มานั้น แสนโกฏิตั้งเป็นด้วยเดชมัน แท้แล้ว (สังข์).
  41. ไอราพต
    หมายถึง ไอราวัณ เอราวัณ ก็ว่า ช้างสามเศียร เป็นพาหนะของพระอินทร์ (ป. เอราวณ ส. ไอราวต).
  42. ไอศกรีม
    หมายถึง ของกินทำด้วยของหวาน กะทิหรือนม เป็นต้น ทำให้ข้นด้วยความเย็น (อ.).
  43. ไอศวร
    หมายถึง พระอิศวร อย่างว่า จตุโลกไท้ท้าวใหญ่ยมภิบาล ก็ดี ธรณีนางเมขลาดวงสร้อย กับทังไอศวรสร้างภายภูมิพื้นต่ำ ก็ดี ขอให้มาพร่ำพร้อมคอยข้าเมื่อมัว แด่ถ้อน (สังข์).
  44. ไอศวรรย์
    หมายถึง ความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ ความเป็นพระเจ้าแผ่นดิน อำนาจ สมบัติแห่งพระราชาธิบดี ใช้ ไอศูรย์ ไอศริย ก็มี (ป. อิสฺสริย ส. ไอศฺวรฺย).
  45. ไอ่
    หมายถึง ชื่อมเหสีของท้าวผาแดง ในวรรณคดีอีสาน เรื่อง ผาแดงนางไอ่ อย่างว่า เมื่อนั้นพระบาทเจ้าตนพ่อปิตา จิ่งได้หานามกรแก่นางนงน้อย ชื่อว่าสอยวอยหน้ากัลยานางไอ่ อันแต่ขงเขตใต้ลือน้อยว่างาม (ผาแดง).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "ภาษาอีสาน หมวด อ"