ภาษาอีสาน

ภาษาอีสาน หมวด ห

ภาษาอีสาน หมวด ห ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมภาษาอีสาน หมวด ห

ภาษาอีสาน หมวด ห ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. หงำ
    หมายถึง บัง, ข่ม, ครอบ
  2. หง่าง
    หมายถึง แยก ถ่าง กางออก
  3. หนหวย
    หมายถึง รำคาญ, ไม่สบายใจ, หงุดหงิด, กังวลใจ
  4. หนหวย
    หมายถึง รำคาญ
  5. หนอนบ้ง
    หมายถึง บุ้ง, หนอนผีเสื้อ, ตัวหนอนของแมลง มักจะใช้เรียกหนอนที่มีขนปกคลุม บ้ง, บ้งขน, แมงบ้ง, แมงบ้งขน ก็เรียก
  6. หนานผัก
    หมายถึง แปลงผัก, แปลงปลูกผัก
  7. หนิ่ง
    หมายถึง เกี่ยง, เกี่ยงงอน, ทำแง่งอน, ทำโดยไม่เต็มใจ
  8. หน้าถั่งดังคม
    หมายถึง หน้าตาคมขำ, หน้าตาดี
  9. หน้าลา
    หมายถึง อาการเสียหน้า
  10. หน้าเค่ง
    หมายถึง หน้าบึ้ง หน้าตึง เกิดเพราะความโกรธจัด
  11. หน้าแบ้
    หมายถึง หน้าตาตลก หน้าเหมือนแบ้ (แพะ) หน้าตาไม่ดี ไม่น่ามอง ไม่มีจุดเด่น อัปลักษณ์ ก็ว่า
  12. หมก
    หมายถึง ห่อหมก เป็นการทำอาหรโดยห่อด้วยใบตอง ใบยอ หรือใบอื่น ๆ โดยคนอีสานจะนิยมนำไปเผาไฟ หรือนึ่ง
  13. หมด
    หมายถึง สิ้น ไม่มี ไม่เหลือ เช่น หมดลม หมดแล้ง หมดข้าว หมดปลา หมดนา หมดบ้าน.
  14. หมัน
    หมายถึง เชือกหรือผ้าเศษที่ชุบน้ำมันยางสำหรับอุดรูรั่วของเรือที่แตกเป็นแนวยาวและกว้างเรียก ตอกหมันเฮือ.
  15. หมั่น
    หมายถึง แน่น . มั่นคง
  16. หมากค้อ
    หมายถึง ตะคร้อ ต้นไม้ผลออกเป็นพวงคล้ายมะไฟ ให้รสเปรี้ยวจัด
  17. หมากต้อง
    หมายถึง กระท้อน
  18. หมากนาว
    หมายถึง มะนาว
  19. หมากปิ่น
    หมายถึง กังหัน ไม้หมุนด้วยกำลังลมใช้พัดเอาลมเมื่อต้องการ ใชัพัดเอาน้ำเมื่อต้องการขึ้นมาทำการเพาะปลูกพืช เรียก หมากปิ่น.
  20. หมากมี่
    หมายถึง ขนุน
  21. หมากสีลา
    หมายถึง ทับทิม
  22. หมากหุ่ง
    หมายถึง มะละกอ
  23. หมากอึ
    หมายถึง ฟักทอง
  24. หมากเขียบ
    หมายถึง น้อยหน่า
  25. หมากเขือเทศ
    หมายถึง มะเขือเทศ
  26. หมากเว่อ
    หมายถึง ส้มซ่า
  27. หมากแงว
    หมายถึง คอแลน เป็นผลไม้ป่า ภายนอกเหมือนลิ้นจี่แต่ลูกเล็กประมาณองุ่น เนื้อด้านในเหมือนเนื้อเงาะแต่รสชาติเหมือนลิ้นจี่ รสชาติเปรี้ยวนำหวาน เมล็ดเหมือนเงาะ
  28. หมากโต่น
    หมายถึง ฟักเขียว
  29. หมาน
    หมายถึง โชคดี,รวย ได้มาก
  30. หมาว้อ
    หมายถึง สุนัขป่า หรือ สุนัขบ้า
  31. หมื้อ,หมื่อ
    หมายถึง ดินปืน
  32. หมุ่นอุ้ยปุ้ย
    หมายถึง แหลกไม่มีชิ้นดี/เหลวแหลก/แหลกลาน
  33. หมูนหมอน
    หมายถึง หนุนหมอน
  34. หมู่เฮา
    หมายถึง กลุ่มเพื่อน , พวกเรา
  35. หม่อ
    หมายถึง ริม หรือ ใกล้
  36. หม่อง
    หมายถึง บริเวณ, ย่าน, แถว, ตรง
  37. หม่อง
    หมายถึง ตรงที่ ณ เวิ้ง ลาน บริเวณ
  38. หม่าข้าว
    หมายถึง แช่ข้าวสาร (ข้าวเหนียว) ให้น้ำให้ข้าวอ่อนก่อนนำไปนึ่ง
  39. หม่าข้าว
    หมายถึง แช่ข้าว
  40. หม่าเข่า
    หมายถึง แช่ข้าวเหนียวเพื่อเตรียมนึ่ง
  41. หม้อแกง
    หมายถึง หม้อชนิดต่างๆ ใช้สำหรับแกง เรียก หม้อแกง เช่น หม้อแกงปลา แกงกบ แกงไก่ แกงเอี่ยน อย่างว่า มีปลาบ่มีหม้อชิเอาหยังต้มอ่อม หม้อนั้นคันช่างเขาบ่ปั้นบ่มีได้อ่อมแกง (ย่า).
  42. หยอง
    หมายถึง หยิก งอ ผมที่หงิกงอ เรียก ผมหยอง.
  43. หยัง
    หมายถึง อะไร
  44. หยังอ้าย
    หมายถึง อะไรหรือพี่?
  45. หยุม
    หมายถึง ขยุ้ม ขยุ้มด้วยเล็บ
  46. หลงเมือง
    หมายถึง ลืมบ้านเกิดเมืองนอน เรียก หลงเมือง ลืมเมือง ก็ว่า สถานที่เกิดเป็นจุดสำคัญของคนเรา ถ้าเราสร้างให้เจริญไม่ได้ก็อย่าทำลาย ถ้าบุญมาวาสนามีจงนำบุญบารมีของตนไปสร้างให้เจริญรุ่งเรืองต่อๆ ไป อย่างว่า ยั่งยั่งหน้าท้าวท่านแองกา หลงเมืองพลัดพรากกันกอยให้ บาคราญต้านพอดีแล้วอย่า ขาก็คืนคอบเจ้าจอมไท้ที่เซ็ง (ฮุ่ง).
  47. หลม
    หมายถึง เข้าได้ - ออกได้
  48. หลอย
    หมายถึง แอบฉวยเอาไป เช่น ขโมยลอบลักเอาเสื้อผ้าหรือเงินทองในเมื่อเจ้าของเผลอ เรียก หลอยเอา.
  49. หลั่น
    หมายถึง เป็นชั้นๆ
  50. หลาย
    หมายถึง มาก
  51. หลาย
    หมายถึง มาก ของมีจำนวนมาก มากจำนวนสิบๆ เรียก หลายสิบ จำนวนร้อยๆ เรียก หลายร้อย จำนวนพันๆ เรียก หลายพัน
  52. หลีโตน
    หมายถึง (กริยา) สงสาร รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
  53. หลูโตน
    หมายถึง (กริยา) สงสาร รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
  54. หล่วยหล่าย
    หมายถึง เลื้อย, ลักษณะการเลื้อยของงู, อาการที่คล้ายการเลื้อยของสัตว์เลื้อยคลาน
  55. หล่า
    หมายถึง เผือด หน้าซีดเผือด
  56. หล้า
    หมายถึง น้องสุดท้อง หรือ น้องคนเล็ก
  57. หว้านประดง
    หมายถึง ว่านชนิดหนึ่ง
  58. หอผาสาท
    หมายถึง เรือนที่มีหลังคาเป็นยอดแหลม ซึ่งเป็นที่ประทับของพระราชามหากษัตริย์ เรียก หอผาสาท.
  59. หอมบั่ว
    หมายถึง ต้นหอม
  60. หัตถกรรม
    หมายถึง การทำในโรงงานอุตสาหกรรม.
  61. หัน
    หมายถึง เร็ว
  62. หันใจ
    หมายถึง หายใจ
  63. หัว
    หมายถึง หัวเราะ
  64. หัวซา
    หมายถึง สนใจ,ใส่ใจ
  65. หัวยุ่ม
    หมายถึง หัวเราะ ยิ้มกรุ่มกริ่ม
  66. หัวแต่ตื่น,หัวตาตื่น
    หมายถึง เพิ่งตื่น
  67. หั่น
    หมายถึง เอาของวางลงบนเขียงแล้วตัดให้เป็นชิ้นเล็กๆ เรียก หั่น เช่น หั่นปลา หั่นเนื้อ หั่นผัก หั่นแตง.
  68. หั่นแหล่ว
    หมายถึง นั่นไงว่าแล้ว
  69. หำบักมี่
    หมายถึง ลูกขนุนที่ยังเล็กๆ
  70. หิ่งเมือง
    หมายถึง เจ้าเมือง อย่างว่า ประกอบผู้เจ้ายี่ยินสงวน ปุนแควางหิ่งเมืองกินแล้ว เทพีฟ้าชวนเจืองเอาแพ่ง เจ็ดอู่แก้วธรรม์ต้นลูกแกว (ฮุ่ง).
  71. หูเมือง
    หมายถึง ราชทูต ราชทูตถือว่าเป็นหูเมือง เพราะราชทูตไปประจำอยู่ประเทศอื่น เมื่อประเทศนั้นมีเรื่องอะไรก็ส่งข่าวมาให้ประเทศของตนทราบ เท่ากับว่ามีหูอยู่ทั่วไป.
  72. ห่อย
    หมายถึง ห้อย,แขวน
  73. ห่าว
    หมายถึง อาการสดชื่น,ตื่นตัว
  74. ห้อน
    หมายถึง ร้อน
  75. ห้า
    หมายถึง จำนวนสี่บวกหนึ่ง เรียก ห้า ชื่อเดือนทางจันทรคติ เรียก เดือน ๕ ตกในราวเดือนเมษายน อย่างว่า เมื่อนั้นพระบาทเจ้าผู้ผ่านเมืองประกัน ถือพลเถิงตูมวางแวดเวียงระวังล้อม ตีพลายไว้หัวแหลมห้าหมื่น ย้ายหมู่ตั้งฮิมแม่ทรายคำ (ฮุ่ง).
  76. ห้าง
    หมายถึง พัง,หย่าร้าง
  77. เหมิด
    หมายถึง หมด ทั้งหมด หมดสิ้น
  78. เหลียโตน
    หมายถึง (กริยา) สงสาร รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
  79. เหลือโตน
    หมายถึง (กริยา) สงสาร รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
  80. เหลือใจ
    หมายถึง น้อยใจ, อัดอั้น, อึดอัด, อัดอั้นตันใจ, เก็บอัดความรู้สึกแน่นอยู่ในใจ เพราะไม่สามารถพูดหรือกระทำตามต้องการได้เนื่องจากอยู่ในภาวะจำทน
  81. แหงด
    หมายถึง กลิ่นเหม็นฉุน, กลิ่นฉุน, เหม็นสาบ
  82. แหลว
    หมายถึง เหลว
  83. แหลว
    หมายถึง เหลว สิ่งที่มีลักษณะไม่ข้นเรียก แหลว เช่นน้ำและน้ำมัน เป็นต้น อย่างว่า คื่นคื่นช้างย้องย่างเงยงา มันแหลวไหลอาบคีงคือน้ำ พลกือก้ามเต็มไพรฮ้องโห่ เขาก็จาจีกใส้กินแกล้มนี่นัน (สังข์).
  84. แหลว (นกชนิดหนึ่ง)
    หมายถึง เหยี่ยว ชื่อนกชนิดหนึ่งในจำพวกนกอินทรีมีหลายชนิด เช่น แหลวแดง แหลวตังบี้ แหลวนกเขา แหลวพานโตน อย่างว่า เชื้อชาติแฮ้งบ่ห่อนเวิ่นนำแหลว แนวหงส์คำบ่บินนำฮุ้ง (ผญา) คือคู่ลูกไก่น้อยรือย้านหย่อนแหลว (สังข์).
  85. แหลวคำ
    หมายถึง เหยี่ยวแดง เหยี่ยวที่มีหงอนแดง เรียก แหลวคำ อย่างว่า แม้งหนึ่งสูรย์คลาดคล้อยใกล้ค่ำออระชอน คับคาเห็นแหลวคำดั่งบนบินเค้า อันนั้นรือบ่ภูธรไท้จอมหัวท้าวกว่า กูนี้ เดินดุ่งเต้าเอาน้องเพื่อนเพลา แลชาม (ฮุ่ง).
  86. แหลวหลวง
    หมายถึง เหยี่ยวใหญ่ เรียก แหลวหลวง อย่างว่า ครุฑใหญ่เปลื้องปีกแกว่งผาปิว แปนตูเห็นนาคเนืองในน้ำ แหลวหลวงเค้าหัวลายลุยผ่า นาคสว่านฟ้งฟางฮ้อนซ่าเสียง (สังข์).
  87. โหง่ย
    หมายถึง อาการที่ค่อย ๆ เอนจนกระทั่งล้มลง
  88. โหม่มลึด
    หมายถึง กลืนโดยไม่เคี้ยว
  89. โหระพา
    หมายถึง โหระพา
  90. โห่ง
    หมายถึง ขัง, ท่วมขัง, น้ำฝนที่ตกลงมาแล้วขังอยู่
  91. ใหญ่
    หมายถึง โต ไม่เล็ก โต เรียก ใหญ่ ลูกคนโต เรียก ลูกผู้ใหญ่ บ้านที่กว้างขวาง เรียก บ้านใหญ่ สิ่งของขนาดใหญ่ เรียก ใหญ่ อย่างว่า สองนายตั้งปานโตงเหล้าใหญ่ ชอบที่วอนพี่ผู้คีงค้อมค่อยเอา (ฮุ่ง) ยุ่งเหยิงมาก เรียก หยุ้งใหญ่ อย่างว่า ต้นไม้ใหญ่บ่มีผีสาวผู้ดีบ่มีชู้ธรณีบ่อกแตกสารือ ตาแฮกเปิดไก่ต้มดินชิแห้งไง่ผง (ผญา).
  92. ใหม่
    หมายถึง เพิ่งมี เช่น ลูกใหม่ เมียใหม่ ข้าวใหม่ เสื้อผ้าใหม่ ความรู้ใหม่ เรียก ใหม่.
  93. ให้ค่อยทำ
    หมายถึง ทำโดยไม่อ้างกาลเวลาไม่ว่าหนักว่าเบา ไม่ว่ายากว่าง่าย ทำโดยไม่ละทิ้ง เรียก ให้ค่อยทำ อย่างว่า ให้ค่อยตักค่อยต้อนชิเห็นต่อนแกงปลา ให้ค่อยหวิดค่อยสาอย่าเซาวางไว้ คันหากเป็นตาหย้ำให้ทำกินฟ้าวฟั่ง อย่าได้นั่งเค้าเม้ามัวเว้าบ่ดี (กลอน).
  94. ให้ค่อยแก้
    หมายถึง แก้ไขสิ่งที่ไม่ดีให้ดี เรียก แก้ การแก้นั้นจะต้องแก้ให้ดีเท่าที่จะแก้ได้ และต้องแก้ให้ดีในทุกวิถีทาง อย่างว่า ให้ค่อยคึดค่อยแก้ค่อยแก่ค่อยดึง ให้ค่อยขุดค่อยขนค่อยคนค่อยค้ำ ให้ค่อยทำคอยสร้างอย่าวางใจให้ค่อยแล่น ให้ค่อยแงะค่อยแง้มมันชิได้ต่อนคำ (ย่า)
  95. ให้ค่อยไป
    หมายถึง การสั่งเสียก่อนจะจากไปเรียก ให้ค่อยไป อย่างว่า ให้ค่อยไปดีเยอเจ้าผู้หงส์คำผ้ายเวหาเหินเมฆ กาดำเอิ้นจ้อยจ้อยให้อวนเจ้าอ่วยคืน (ผญา).
  96. ให้เลี้ยง
    หมายถึง การอุปถัมภ์บำรุงโดยไม่ปล่อยปละละทิ้ง เรียกว่า ให้เลี้ยง อย่างว่า ให้น้องเลี้ยงพี่ไว้ตางหมาหอนเห่า บาดชู้เก่ามาฮอดแล้วไลถิ้มบ่ว่าสัง (ผญา).
  97. ไหปลาแดก
    หมายถึง ไหสำหรับใส่ปลาร้า เรียก ไหปลาแดก ที่เรียกชื่อปลาแดกเพราะเอาปลา เกลือและรำข้าวมาผสมเข้ากันแล้ว นำไปตำในครกมองให้แหลก เรียก ปลาแดก ปลาแหลก ก็ว่า บ้างก็ว่า เพราะการนำปลาที่ตำแล้วมายัดลงในไหที่ปากแคบ การยัดปลากดดันลงในไห เรียก ปลาแดก.
  98. ไหปากกว้าง
    หมายถึง ชื่อไหชนิดหนึ่ง ปากกว้างก้นกว้าง สำหรับใส่น้ำกินน้ำอาบ ไม่มีฝาปิด.
  99. ไหมขี้
    หมายถึง เส้นไหมที่สาวออกมาทีแรกเส้นไหมไม่ค่อยเรียบ มักมีขี้ไหมติดตามเส้นไหม เรียก ไหมขี้ ไหมขี้นี้จะต้องฟอกล้างเสียก่อนจึงจะใช้ทอให้เป็นไหมดีได้.
  100. ไหมควบ
    หมายถึง เส้นไหมที่ปั่นควบกันตั้งแต่สองเส้นขึ้นไป ใช้ทอเป็นผ้า เรียก ผ้าควบ ผ้าควบผ้าลัง ก็ว่า.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "ภาษาอีสาน หมวด ห"