ภาษาอีสาน

ภาษาอีสาน หมวด ป

ภาษาอีสาน หมวด ป ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมภาษาอีสาน หมวด ป

ภาษาอีสาน หมวด ป ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. ปฐมกรรม
    หมายถึง ชื่อพิธีกรรมแบบหนึ่งซึ่งกษัตริย์ในครั้งโบราณกระทำแก่ผู้เป็นปรปักษ์ของตน.
  2. ประจำเมือง
    หมายถึง ชื่อดาวพระศุกร์ที่ขึ้นในเวลาหัวค่ำ.
  3. ประดง
    หมายถึง ชื่อพรรณไม้จำพวกหนึ่ง
  4. ประดง (โรค)
    หมายถึง ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง มีหลายชนิด เกิดตามผิวหนัง มีอาการคัน.
  5. ปลงกรรมฐาน
    หมายถึง พิจารณาร่างกายให้ตกลงในไตรลักษณ์ คือให้เห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างบรรดามีในโลกล้วนเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน เป็นทุกข์ คือต้องลำบากทั้งกายและใจ เป็นอนัตตา คือไม่ใช่ตัวตนเราเขา.
  6. ปลาจ่อม
    หมายถึง เป็นอาหารหมัก คล้ายปลาร้า ได้จากการนำปลาขนาดเล็กมาล้างทำความสะอาด หมักกับเกลือผสมข้าวคั่ว และกระเทียมบด บรรจุในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท หมักในระยะเวลาที่เหมาะสมจนมีรสเปรี้ยวควรทำให้สุกก่อนบริโภค และยังสามารถนำกุ้งฝอยมาทำได้เช่นกัน เรียกว่า กุ้งจ่อม
  7. ปลาฮากกล้วย
    หมายถึง ปลาช่อนทราย ชื่อปลาชนิดหนึ่งมีลักษณะเหมือนรากกล้วย เรียก ปลาฮากกล้วย ปลาฮ่างกล้วย ก็ว่า.
  8. ปลาเข็ง
    หมายถึง ปลาหมอ
  9. ปลาแดก
    หมายถึง ปลาร้า เป็นการถนอมอาหารชนิดหนึ่ง
  10. ปลาแดก
    หมายถึง ปลาร้า
  11. ปลาแดกบอง
    หมายถึง ปลาร้าทรงเครื่อง, ปลาร้าบอง เป็นการนำปลาร้ามาปรุงรสด้วยพริกป่น, ข่าสับ, ใบมะกรูดซอย, ตะไคร้ซอย บางท้องที่ใส่มะเขือเทศด้วย
  12. ปลุกเฮือน
    หมายถึง ปลูกเรือนตั้งแต่แรกจนขึ้นอยู่อาศัยได้.
  13. ปวดแข่ว
    หมายถึง ปวดฟัน
  14. ปะ
    หมายถึง ปล่อยทิ้ง
  15. ปัพพาชนียกรรม
    หมายถึง กิจของสงฆ์ทำในการขับไล่ภิกษุ การขับไล่ภิกษุ การขับไล่ออกจากหมู่ (ป.).
  16. ปาก
    หมายถึง พูด
  17. ปากยาก
    หมายถึง ดื้อ, ไม่ยอมเชื่อฟังหรือทำตาม ใช้ได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่
  18. ปานทางไปนา
    หมายถึง สถานที่ที่เดินทางไปบ่อยครั้ง จนคุ้นชิน
  19. ปิ้น
    หมายถึง พลิกกลับขั้น
  20. ปึก
    หมายถึง โง่,เรียนไม่เก่ง
  21. ปึกแป้นปีก
    หมายถึง โง่จนเกินคำบรรยาย
  22. ปูสาด
    หมายถึง ปูเสื่อ
  23. ป่น
    หมายถึง น้ำพริก
  24. ป่วง
    หมายถึง บ้า,เฟอะฟะ
  25. ป้อยด่า
    หมายถึง ด่า
  26. เป็นตางึ๊ด
    หมายถึง น่าฉงน
  27. เป็นตาหัว
    หมายถึง น่าขำ,น่าหัวเราะ
  28. เป็นต๋าขี้เดียด
    หมายถึง น่าเกลียด น่าขยะแขยง
  29. เป็นหยัง
    หมายถึง เป็นอะไร, ทำไม
  30. เป็นหยังบ่เมือ
    หมายถึง ทำไม ไม่กลับ
  31. เป่นจั๊งบุญ
    หมายถึง เดชะบุญ
  32. เป่นต่าน๊าย
    หมายถึง น่าเบื่อหน่าย
  33. แปง
    หมายถึง ซ่อม
  34. แปด
    หมายถึง เปื้อนเปรอะ
  35. แปน
    หมายถึง โล่ง,เอี่ยม,ราบคราบ
  36. แปะ
    หมายถึง ใกล้, เกือบ, แทบ, เจียน
  37. แปเมือง
    หมายถึง สมบัติของเมือง ได้แก่ มีข้าราชการตั้งอยู่ในศีลธรรม (คลอง).
  38. แป่นแว่น
    หมายถึง ลักษณะหน้าตาที่สดใส หน้าตาเบิกบานสดชื่น เรียก หน้าแป่นแว่น ถ้าเป็นแก้มก็แก้มแป่นแว่น อย่างว่า เหลียวเห็นหน้าขาวมาแป่นแว่น พออยากแก้ซิ่นแล่นลัดต้อนหัวดอน (บ.)
  39. แป้งแหง้ง
    หมายถึง การนอนหวายหน้า เรียก นอนแป้งแหง้ง อย่างว่า เสียงครกมองตำเข้าเดิกมามันม่วน ตำช้าช้าเสียงบอกยามซุก เดิกจั่งซุกเดิกจั่งซุก ตำเสียงสั้นสักกะลันน้ำน่ำ หกตำลึงหกตำลึงแตะแต้งแหล้งหงายลงแป้งแหง้ง (เจียง).
  40. แป้แจ้
    หมายถึง สิ่งของที่เล็กและแบน ติดอยู่ตามแผ่นกระดานเรียก แป้แจ้ ถ้าขนาดใหญ่เรียก เป้อเจ้อ.
  41. แป๋
    หมายถึง ใกล้, เกือบ, แทบ, เจียน
  42. แป๋ะ
    หมายถึง ใกล้, เกือบ, แทบ, เจียน
  43. โป่ม
    หมายถึง มาก เติบ เช่น กินข้าวน้อยกินกับมากเรียก กินโป่ม.
  44. ไป
    หมายถึง เคลื่อนไป เดินไป อย่างว่า ให้แต่งช้างม้ามิ่งพลแพน ญิงชายในนครขวางป่าวปุนไปพร้อม คนการใช้พอแสนคาดเครื่อง แผ้วแผ่นเท้าทางกว้างฮาบงาม (สังข์).
  45. ไปคัก ๆ
    หมายถึง ไปแน่นอน
  46. ไปทางพี้
    หมายถึง ไปทางนี้
  47. ไปยาม
    หมายถึง ไปเยี่ยม
  48. ไปฮอด
    หมายถึง ไปถึง
  49. ไปเฮ็ดเวียก
    หมายถึง ไปทำงาน
  50. ไปไส
    หมายถึง ไปไหน
  51. ไป่
    หมายถึง ไม่ ไม่มีเรียก ไป่มี อย่างว่า ท่อไป่มีเผ่าเชื้อพระเยียยอดเทวี เป็นพระยาโทนอยู่เนานอนแล้ง (สังข์).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "ภาษาอีสาน หมวด ป"