ค้นเจอ 320 รายการ

สาร,สาร,สาร-,สาร-

หมายถึง[สาน, สาระ-] น. แก่น, เนื้อแท้, มักใช้เข้าคู่กับคำ แก่น เป็น แก่นสาร; ข้อความ, ถ้อยคำ, เรื่องราว, เช่น กล่าวสาร สื่อสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร วารสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร สารของนายกรัฐมนตรีถึงเยาวชน. (ป., ส.).

ตั้ง

หมายถึงก. ชูตัว, ชูตัวหรือทำให้ทรงตัวในลักษณะที่ไม่ใช่นอนหรือล้ม, เช่น ขนตั้งชัน ต้นข้าวเอนแล้วกลับตั้งขึ้น ตั้งขวด ตั้งตุ๊กตา; ทรง, ดำรง, เช่น ตั้งอยู่ในคลองธรรม ตั้งอยู่ในศีลในธรรม; ทำให้มีขึ้น, สร้างให้มีขึ้น, เช่น ตั้งตำแหน่งใหม่ ตั้งบ้านตั้งเรือน; ยกฐานะให้สูงขึ้น เช่น ตั้งพระราชาคณะ ตั้งเปรียญ; กำหนด เช่น ตั้งราคา; วาง เช่น ตั้งสำรับ; วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น ตั้งหนังสือเป็นกองสูง; เริ่ม, เริ่มมี, เช่น ตั้งครรภ์ ตั้งเค้า ตั้งท้อง. บ. คำแสดงความหมายว่า มาก หรือ นาน เช่น เสียตั้งชั่ง ไปตั้งปี. น. ลักษณนามเรียกของที่วางซ้อนกันมาก ๆ เช่น หนังสือตั้งหนึ่ง หนังสือ ๒ ตั้ง, ครั้ง เช่น มาลองกันดูสักตั้ง.

เรือดไม้

หมายถึงน. ชื่อแมลงในอันดับ Psocoptera ขนาดเล็กมาก ตัวยาว ๑-๒ มิลลิเมตร ลำตัวอ่อนมาก มักมีสีขาว อาจพบได้ทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ปีกมี ๒ คู่ เป็นแผ่นบางและมักใส เวลาหุบปีก ปีกจะคลุมตัวคล้ายหลังคา อาศัยอยู่ตามกองกระดาษ หนังสือ เศษขยะเก่า ๆ ในบ้าน ที่เก็บของในพิพิธภัณฑ์ต่าง ๆ ตามเปลือกไม้หรือบริเวณตะไคร่นํ้านอกบ้าน ที่อยู่ตามหนังสือในบ้าน คือ ชนิด Psocatropos microps ในวงศ์ Psyllipsocidae, เลือดไม้ หรือ เหาไม้ ก็เรียก.

วรรณ,วรรณ-,วรรณะ

หมายถึง[วันนะ-] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสัน เป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).

วรรณกรรม

หมายถึงน. งานหนังสือ, งานประพันธ์, บทประพันธ์ทุกชนิดทั้งที่เป็นร้อยแก้วและร้อยกรอง, เช่น วรรณกรรมสมัยรัตนโกสินทร์ วรรณกรรมของเสฐียรโกเศศ วรรณกรรมฝรั่งเศส วรรณกรรมประเภทสื่อสารมวลชน; (กฎ) งานนิพนธ์ที่ทำขึ้นทุกชนิด เช่น หนังสือ จุลสาร สิ่งเขียน สิ่งพิมพ์ ปาฐกถา เทศนา คำปราศรัย สุนทรพจน์ และหมายความรวมถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์ด้วย.

เล่ม

หมายถึงลักษณนามสำหรับเรียกสิ่งของบางชนิดที่มีลักษณะยาวเรียวอย่างมีด หอก พาย เข็ม เช่น มีดเล่มหนึ่ง เข็ม ๒ เล่ม, ใช้เรียกเกวียนหรือสมุดหนังสือว่า เล่ม ด้วย เช่น เกวียน ๒ เล่ม หนังสือ ๓ เล่ม สมุด ๔ เล่ม.

หนังสือ

หมายถึงน. เครื่องหมายใช้ขีดเขียนแทนเสียงหรือคำพูด เช่น อ่านหนังสือ เขียนหนังสือ, ลายลักษณ์อักษร เช่น ขอให้เขียนเป็นหนังสือไว้ด้วย, จดหมายที่มีไปมา เช่น หนังสือราชการ, เอกสาร, บทประพันธ์; ข้อความที่พิมพ์หรือเขียนเป็นต้นแล้วรวมเป็นเล่ม; (กฎ) เอกสารที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้น.

 คำในภาษาไทย จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ