พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ถ

คำในภาษาไทย หมวด ถ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ถ

คำในภาษาไทย หมวด ถ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๒๒ นับเป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น รถ ปรารถนา.
  2. ถก
    หมายถึง ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถกผ้านุ่งถกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมาอย่างถกหนังหัว; จั่วไพ่ที่กำลังรอกินด้วยตัวเอง, ถ้าจั่วไพ่ขึ้นมาเข้าเศียรที่กำลังรอกินด้วยตัวเอง เรียกว่า ถกเศียร, ถลก ก็ว่า; ทึ้งให้หลุดออก เช่น ถกหญ้า ถกเถาวัลย์; โดยปริยายหมายความว่า ยกเอาขึ้นมาพิจารณากันด้วยเหตุผล เช่น ถกปัญหา.
  3. ถกล
    หมายถึง [ถะกน] ก. ก่อสร้าง, ตั้ง, ตั้งขึ้น, ตั้งไว้; ในวรรณคดีหมายความว่า งาม, ใช้แผลงเป็น ดำกล ก็มี. (ข. ถฺกล่).
  4. ถกเขมร
    หมายถึง ก. นุ่งผ้าโจงกระเบนดึงชายให้สูงร่นขึ้นไปเหนือเข่า, ขัดเขมร ก็ว่า.
  5. ถกเถียง
    หมายถึง ก. ยกเอาขึ้นมาพูดโต้แย้งกัน.
  6. ถงัน
    หมายถึง [ถะหฺงัน] ก. เผ่นไป.
  7. ถงาด
    หมายถึง [ถะหฺงาด] ก. ทำท่าเผ่น, เยื้องท่า, ชะโงก, เงื้อม, ผ่านไป.
  8. ถด
    หมายถึง ก. กระถด, เลื่อนไปเล็กน้อย.
  9. ถดถอย,ทดถอย
    หมายถึง ก. ย่อท้อ, ลดน้อยลง เช่น เรี่ยวแรงถดถอย; กระเถิบถอย, ถอยถด หรือ ถอยทด ก็ใช้.
  10. ถนน
    หมายถึง [ถะหฺนน] น. หนทางที่ทำขึ้น, ลักษณนามว่า สาย, สนน ก็ว่า, โบราณเขียนเป็น ถนล. (จารึกวัดป่ามะม่วง); (กฎ) ทางเดินรถ ทางเท้า ขอบทาง ไหล่ทาง ทางข้าม ตามกฎหมายว่าด้วยการจราจรทางบก ตรอก ซอย สะพาน หรือ ถนนส่วนบุคคล ซึ่งเจ้าของยินยอมให้ประชาชนใช้เป็นทางสัญจรได้. (ข. ถฺนล่).
  11. ถนนลาดยาง
    หมายถึง น. ถนนที่ปูผิวจราจรด้วยยางมะตอยผสมกับหินหรือทรายเป็นต้น.
  12. ถนป
    หมายถึง [ถะหฺนบ] (แบบ; กลอน) น. เด็ก, เด็กกินนม. (ป.).
  13. ถนอม
    หมายถึง [ถะหฺนอม] ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ, ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกินของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม ก็ว่า. (ข. ถฺนม).
  14. ถนอมอาหาร
    หมายถึง ก. เก็บผัก ผลไม้ หรือเนื้อสัตว์ไว้ให้อยู่ได้นาน ๆ ด้วยกรรมวิธีบางอย่างเพื่อกันเสียหรือเสื่อมคุณภาพ.
  15. ถนะ
    หมายถึง (แบบ; กลอน) น. ถัน, เต้านม. (ป.).
  16. ถนัด
    หมายถึง [ถะหฺนัด] ก. สันทัด, ชำนาญ, เช่น ถนัดแต่งกลอน. ว. สะดวก เช่น เดินไม่ถนัด; ชัด, แม่นยำ, เช่น เห็นไม่ถนัด; เช่น, ราวกับ, เช่น ถนัดดั่งภูผาหลวง ทุ่มแท้. (ตะเลงพ่าย), สนัด ก็ว่า.
  17. ถนัดขวา
    หมายถึง ว. ที่ทำได้คล่องแคล่วด้วยมือขวา.
  18. ถนัดซ้าย
    หมายถึง ว. ที่ทำได้คล่องแคล่วด้วยมือซ้าย.
  19. ถนัดถนี่
    หมายถึง (ปาก) ว. ถนัดชัดเจน เช่น เห็นถนัดถนี่.
  20. ถนัดปาก
    หมายถึง ว. สะดวกปาก, โดยไม่กระดากปาก, (ใช้แก่กริยาพูด).
  21. ถนัดมือ
    หมายถึง ว. พอเหมาะมือ.
  22. ถนัดใจ
    หมายถึง ว. สะดวกใจ, สะใจ; เต็มที่ เช่น โดนเข้าถนัดใจ, สนัดใจ ก็ว่า.
  23. ถนัน
    หมายถึง [ถะหฺนัน] น. ดินชนิดหนึ่งเชื่อว่าเป็นยารักษาโรค และเป็นยาอายุวัฒนะ เช่น ต่อได้กินดินถนันเมื่อวันไร. (อภัย).
  24. ถนำ
    หมายถึง [ถะหฺนำ] น. ชื่อดินชนิดหนึ่ง สีเหลืองอ่อน ใช้ทำยาไทย, ยา.
  25. ถนำทึก
    หมายถึง น. นํ้ายา. (ข. ถฺนำ ว่า ยา).
  26. ถนิม
    หมายถึง [ถะหฺนิม] น. เครื่องประดับ เช่น ถนิมพิมพาภรณ์, ในโลกนี้ถนิมเจ้า เอกแท้นางเดียว. (นิทราชาคริต), ธารถนิมทองถ่องเถือก. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), ใช้ว่า สนิม ก็มี เช่น สร้อยสนิมพิมพาภรณ์.
  27. ถนิมกาม
    หมายถึง ว. น่ารัก เช่น นางนงถ่าวถนิมกาม. (ม. คำหลวง ทศพร).
  28. ถนิมพิมพาภรณ์
    หมายถึง น. เครื่องประดับร่างกาย.
  29. ถนิมสร้อย
    หมายถึง [ถะหฺนิมส้อย] ว. หนักไม่เอาเบาไม่สู้, ทำเป็นเหยาะแหยะ, ทำเป็นอ่อนแอ, (ใช้เป็นคำตำหนิ) เช่น โดนว่านิดหน่อยก็ร้องไห้ ทำเป็นแม่ถนิมสร้อยไปได้, สนิมสร้อย ก็ว่า.
  30. ถบ
    หมายถึง น. เรียกเป็ดกายสิทธิ์ว่า เป็ดถบ.
  31. ถบดี
    หมายถึง [ถะบอดี] (แบบ) น. ช่างไม้. (ป. ถปติ; ส. สฺถปติ).
  32. ถม
    หมายถึง น. เรียกภาชนะหรือเครื่องประดับที่ทำโดยใช้ผงยาถมผสมนํ้าประสานทองถมลงบนลวดลายที่แกะสลักบนภาชนะหรือเครื่องประดับนั้น แล้วขัดผิวให้เป็นเงางาม ว่า เครื่องถม หรือ ถม เช่น ถมนคร ถมทอง ถมเงิน. ก. ลงคาถา, ลงเลขยันต์; ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถมดำ ถมยา หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่า ถมยาดำ.
  33. ถม
    หมายถึง ก. เอาดินหรือสิ่งอื่น ๆ ใส่ลงไปในที่ที่เป็นหลุมเป็นบ่อ หรือเป็นแอ่งเพื่อให้เต็ม, กองสุม ๆ ไว้ไม่เป็นระเบียบ.
  34. ถมดำ
    หมายถึง ก. ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมยา หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่า ถมยาดำ.
  35. ถมตะทอง
    หมายถึง น. เครื่องถมที่ทำโดยวิธีเปียกทองทาทับลงบนเส้นเงิน.
  36. ถมถืด,ถมเถ,ถมไป
    หมายถึง ว. มากมายก่ายกอง.
  37. ถมทอง
    หมายถึง น. เครื่องถมที่ทำด้วยทองคำ.
  38. ถมปรักมาศ
    หมายถึง [-ปฺรักมาด] น. ถมเงินและทอง.
  39. ถมปัด
    หมายถึง น. ภาชนะทองแดงที่เคลือบนํ้ายาประสมด้วยลูกปัดป่นให้เป็นผงให้เป็นสีและลวดลายต่าง ๆ.
  40. ถมยา
    หมายถึง ก. ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมดำ หรือ ลงถม ก็ว่า, เรียกเต็มว่า ถมยาดำ.
  41. ถมอ
    หมายถึง [ถะหฺมอ, ถะมอ] น. หิน เช่น ดาดดำถมอทะมื่น. (ม. คำหลวง จุลพน).
  42. ถมึงทึง
    หมายถึง [ถะหฺมึง-] ว. ลักษณะหน้าตาที่บูดบึ้งไม่ยิ้มแย้ม, หน้าตาน่ากลัว, ขมึงทึง ก็ว่า.
  43. ถมเงิน
    หมายถึง น. เครื่องถมที่ทำด้วยเงิน.
  44. ถล,ถละ
    หมายถึง [ถน, ถะละ] (แบบ) น. ที่บก, ที่ดอน. (ป.).
  45. ถลก
    หมายถึง [ถะหฺลก] ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถลกผ้านุ่งถลกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมาอย่างถลกหนังหัว; จั่วไพ่ที่กำลังรอกินด้วยตัวเอง, ถ้าจั่วไพ่ขึ้นมาเข้าเศียรที่กำลังรอกินด้วยตัวเอง เรียกว่า ถลกเศียร, ถก ก็ว่า.
  46. ถลกบาตร
    หมายถึง [ถะหฺลกบาด] น. ถุงบาตรที่มีสายคล้องบ่า (สายโยก), ตลกบาตร ก็ว่า.
  47. ถลกบาตร
    หมายถึง [ถะหฺลกบาด] ดู กะทกรก (๒).
  48. ถลน
    หมายถึง [ถะหฺลน] ก. ทะเล้นออก, ปลิ้นออก, (ใช้แก่ตา).
  49. ถลม
    หมายถึง [ถะหฺลม] ว. เป็นบ่อ. (ปรัดเล).
  50. ถลอก
    หมายถึง [ถะหฺลอก] ก. ลอกออกไป, ปอกออกไป, เปิดออกไป, (มักใช้แก่สิ่งที่มีผิว) เช่น หนังถลอก สีถลอก.
  51. ถลัน
    หมายถึง [ถะหฺลัน] ก. พรวดพราดเข้าไปหรือออกมาโดยไม่รั้งรอ.
  52. ถลา
    หมายถึง [ถะหฺลา] ก. โผผวา เช่น นกถลาลง เด็กวิ่งถลาเข้าหา, เสียหลักซวนไป เช่น เครื่องบินถลาลง.
  53. ถลาก
    หมายถึง [ถะหฺลาก] ว. ถากไปถูกเพียงผิว ๆ เช่น ฟันถลากไป ยิงถลากไป.
  54. ถลากถลำ
    หมายถึง ว. พลั้ง ๆ พลาด ๆ (ใช้แก่กริยาพูด), ถลำถลาก ก็ว่า.
  55. ถลากไถล
    หมายถึง ว. ไม่ตรงไปตรงมา, ไม่อยู่กับร่องกับรอย, (ใช้แก่กริยาพูด).
  56. ถลาย
    หมายถึง [ถะหฺลาย] ก. แตก, มีคำที่ใช้คล้ายกันอีก คือ ฉลาย สลาย.
  57. ถลำ
    หมายถึง [ถะหฺลำ] ก. ลํ้าล่วง เช่น ถลำเข้าไป, พลั้งพลาดตกลงไป เช่น ถลำลงคู.
  58. ถลำตัว
    หมายถึง ก. หลวมตัว.
  59. ถลำถลาก
    หมายถึง ว. พลั้ง ๆ พลาด ๆ (ใช้แก่กริยาพูด), ถลากถลำ ก็ว่า.
  60. ถลำใจ
    หมายถึง ก. ปล่อยใจให้ตกอยู่ในข้อผูกพัน.
  61. ถลีถลำ
    หมายถึง [ถะหฺลีถะหฺลำ] ก. เถลือกถลน.
  62. ถลึงตา
    หมายถึง [ถะหฺลึง-] ก. ขึงตา.
  63. ถลุง
    หมายถึง [ถะหฺลุง] ก. ใช้ความร้อนสุมสินแร่เพื่อไล่ขี้แร่ออกเอาไว้แต่เนื้อโลหะ; (ปาก) โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความแวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุงเสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย.
  64. ถลุน
    หมายถึง [ถะหฺลุน] ก. เอาปอหรือป่านมาบิดให้เป็นเส้นเขม็งเพื่อฟั่นเข้าเป็นเกลียวเส้นเชือกใหญ่.
  65. ถล่ม
    หมายถึง [ถะหฺล่ม] ก. ยุบหรือทำให้ยุบทลายลง เช่น แผ่นดินถล่ม, ทำให้พังทลายหรือล่มจม เช่น ถล่มด้วยปืนใหญ่.
  66. ถวัด
    หมายถึง [ถะหฺวัด] ก. ตวัด เช่น หมีแรดถวัดแสนงขนาย. (แช่งนํ้า). ว. ไว, คล่อง, เช่น ลางหมู่เอาดินก็ได้ถวัด. (ม. คำหลวง มหาราช).
  67. ถวัดถวัน
    หมายถึง [-ถะหฺวัน] (กลอน) ว. ว่องไว, คล่องแคล่ว.
  68. ถวัล
    หมายถึง [ถะหฺวัน] ว. อ้วน, หยาบ, เช่น ถวัลพัสตร์. (ป. ถูล; ส. สฺถูล).
  69. ถวัลย์
    หมายถึง [ถะหฺวัน] ก. ทรง, ครอง; เจริญ. ว. ใหญ่.
  70. ถวาย
    หมายถึง [ถะหฺวาย] ก. ให้, มอบให้, เช่น ถวายของ (ใช้แก่พระสงฆ์หรือเจ้านาย); ให้ดู, ให้ชม, เช่น รำถวายมือ เล่นถวายตัว, แผลงเป็น ดงวาย หรือ ตังวาย ก็ได้.
  71. ถวายกร
    หมายถึง ก. ไหว้เจ้านาย, รำให้เจ้านายชม.
  72. ถวายข้าวพระ
    หมายถึง ก. ทำพิธีอย่างหนึ่ง เมื่อนำสำรับไปถวายพระพุทธโดยยกมือประนม กล่าวคำว่า อุกาส สูปพฺยฺชนสมฺปนฺนํ สาลีนํ โภชนํ สอุทกํ วรํ พุทฺธสฺส ปูเชมิ.
  73. ถวายตัว
    หมายถึง ก. มอบตัวแก่เจ้านาย.
  74. ถวายพระพร
    หมายถึง คำเริ่มที่พระสงฆ์พูดกับเจ้านายและเป็นคำรับ.
  75. ถวายหัว
    หมายถึง (สำ) ก. ยอมเสี่ยงชีวิตเพื่อชาติ, เอาชีวิตเป็นประกัน, ทำจนสุดความสามารถ, ยอมสู้ตาย.
  76. ถวายเนตร
    หมายถึง น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืนพระหัตถ์ขวาประกบพระหัตถ์ซ้ายอยู่หน้าพระเพลา ลืมพระเนตรทั้ง ๒ ดูมหาโพธิพฤกษ์ อยู่ในพระอาการสำรวม.
  77. ถวิน
    หมายถึง [ถะหฺวิน] น. ห่วงร้อยสายรัดประคด เรียกว่า ลูกถวิน, กระวิน ก็ว่า.
  78. ถวิล
    หมายถึง [ถะหฺวิน] ก. คิด, คิดถึง.
  79. ถอก
    หมายถึง (ถิ่น) ก. เทออก.
  80. ถอก
    หมายถึง ก. รั้น, ร่นเข้าไป.
  81. ถอง
    หมายถึง ก. กระทุ้งด้วยศอก.
  82. ถอด
    หมายถึง ก. เอาออก เช่น ถอดเสื้อ ถอดรองเท้า ถอดยศ; ถ่าย เช่น ถอดแบบมาจากพ่อจากแม่; หลุดออก เช่น เล็บถอด.
  83. ถอดความ
    หมายถึง ก. แปลให้เข้าใจความได้ง่ายขึ้น.
  84. ถอดถอน
    หมายถึง ก. ถอดออกจากตำแหน่ง.
  85. ถอดรหัส
    หมายถึง ก. ถอดสารลับออกเป็นภาษาสามัญ.
  86. ถอดรูป
    หมายถึง ก. เอารูปที่ปกคลุมออกให้เห็นรูปเดิม เช่น เงาะถอดรูป.
  87. ถอดสี
    หมายถึง ก. แสดงอาการหวาดหวั่นครั่นคร้ามให้เห็น (มาจากปลากัด ตัวที่แพ้จะถอดสี) เช่น กลัวจนหน้าถอดสี.
  88. ถอดหัวโขน
    หมายถึง ก. พ้นจากตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์.
  89. ถอดเขี้ยวถอดเล็บ
    หมายถึง (สำ) ก. ละพยศ, ละความดุหรือร้ายกาจ, เลิกแสดงฤทธิ์แสดงอำนาจอีกต่อไป.
  90. ถอดไพ่
    หมายถึง ก. จัดเรียงไพ่ให้เข้าชุดโดยใช้หลักเกณฑ์อย่างใดอย่างหนึ่ง (มักใช้ในการเสี่ยงทาย).
  91. ถอน
    หมายถึง ก. ฉุดขึ้น, ดึงขึ้น, เช่น ถอนฟัน ถอนเสา ถอนหญ้า; บอกเลิก เช่น ถอนประกัน ถอนฟ้อง ถอนหมั้น; เอาตัวออกจากพันธะ เช่น ถอนตัว; ค่อนข้าง, เกือบ, เริ่ม, เช่น ถอนฉุน.
  92. ถอนคำฟ้อง,ถอนฟ้อง
    หมายถึง (กฎ) ก. ยื่นคำร้องหรือคำบอกกล่าวต่อศาลแสดงความประสงค์ว่าจะไม่ดำเนินคดีที่ยื่นฟ้องไว้อีกต่อไป ในคดีแพ่งเรียกว่า ถอนคำฟ้อง ในคดีอาญาเรียกว่า ถอนฟ้อง.
  93. ถอนต้นก่นราก,ถอนรากถอนโคน
    หมายถึง (สำ) ก. ทำลายให้ถึงต้นตอ, ทำลายให้สิ้นเสี้ยนหนาม.
  94. ถอนทุน
    หมายถึง ก. ได้ทุนคืน, ทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อเอาทุนคืน.
  95. ถอนพิษ
    หมายถึง ก. ทำให้พิษหมด.
  96. ถอนยวง
    หมายถึง ก. ทำลายให้สิ้นซาก.
  97. ถอนรากถอนโคน
    หมายถึง (สำ) ก. ทำลายให้ถึงต้นตอ, ทำลายให้สิ้นเสี้ยนหนาม, ถอนต้นก่นราก ก็ว่า.
  98. ถอนสมอ
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง ตัดมาจากตับเพลงฝรั่งถอนสมอ. (บัญชีเพลง).
  99. ถอนสายบัว
    หมายถึง ก. ถวายคำนับแบบผู้หญิง โดยยืนตรงแล้วชักขาข้างใดข้างหนึ่งไปข้างหลังพร้อมกับย่อเข่าและก้มศีรษะเล็กน้อย เป็นการแสดงความเคารพของสตรีต่อเจ้านายชั้นสูง.
  100. ถอนหงอก
    หมายถึง (สำ) ก. ไม่นับถือความเป็นผู้ใหญ่, พูดว่าให้เสียผู้ใหญ่.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ถ"