คำไวพจน์

คำไวพจน์ หมวด ผ

คำไวพจน์ หมวด ผ ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

"คำไวพจน์" มีความหมายว่าอย่างไร

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้องความ" เช่น ดอกไม้ และ บุษบา, สวย และ งาม, เศร้า และ เสียใจ เป็นต้น

คำไวพจน์ แบ่งเป็นกี่ประเภท

ประเภทของคำไวพจน์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยต้องสังเกตบริบทการใช้คำๆ นั้นควบคู่ไปด้วย ดังนี้

  1. คำพ้องรูป หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อาจจะออกเสียงต่างกัน ความหมายต่างกัน
  2. คำพ้องเสียง หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ความหมายต่างกัน
  3. คำพ้องความ หมายถึง คำที่ความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ออกเสียงต่างกัน

แต่เราจะเห็นในลักษณะ คำพ้องความ เสียเป็นส่วนใหญ่

รวมคำไวพจน์ หมวด ผ

คำไวพจน์ หมวด ผ ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คำไวพจน์ ผิวงาม = วิไลวรรณ / เฉลา / ฉวี / สินี / ผ่อง / นิรมล / พริ้ง / มังสี
  2. คำไวพจน์ ผู้ชาย = เจ้าบ่าว / ผม / ผัว / แป๊ะ / ปุม-, ปุมา / ปู่ / ปิตุละ, ปิตุลา / บัก / บา / ตัวพระ / ชายชาตรี / พ่อเล้า / คนสุก / คนดิบ / ขันที / เขย / กระหม่อม / เกล้ากระหม่อม / เกล้ากระผม / กะกัง / ภาตา / กนิษฐภาดา / ภิกษุ / บุรุษ / อา / สมิงมิ่งชาย / วีรบุรุษ / ลื้อ / ลุง / เยาวพาน / ยุว, ยุวา, ยุวาน / มัชฌิมบุรุษ / มาณพ / พระฤๅสาย / ภาดร, ภาดา / ภาติยะ / ภาตระ / ภาติกะ / ภาตา, ภาตุ / ภราดร, ภราดา, ภราตร–, ภราตฤ– / พระรอง / พระเอก / พ่อเลี้ยง / พ่อ / คุณชาย / ทิด / พ่อหนาน / หนุ่มน้อย / บ่าวน้อย / พ่อหนุ่ม / กระผม / เรียม / กระไทชาย / กระทาชาย / ท่านชาย / น้อย / ชาย / ตี๋ / ท้าว / เทพบุตร / ประสก / พระปิตุลา / ปิตุละ / ปิตุลา / ปั่ว / เด็กผู้ชาย / เถ้าแก่ / ฤๅสาย / ฮาจย์ / ธ / พระ / พระหน่อเนื้อ / พระหน่อ / อ้าย / สุดหล่อ / เสี่ย / เฮีย / ลูกผู้ชาย / นายหัว / ดอล / อนุชา / เชษฐา / ภราดร / ภราดา / หลวง / ต้น / พ่อพลาย
  3. คำไวพจน์ ผู้หญิง = จอมขวัญ / อิสตรี / ยุพา / นงราม / กัญญา / ยุพิน / ยุวดี / กันยา / โฉมตรู / โฉมงาม / ทรามวัย / เกน / เกศินี / กัลยา / กามินี / พนิดา / นาเรศ / นวลหง / นุช / แน่งน้อย / นาฏ / ดวงตา / วรางคณา / ยุพเรศ / อีตถี / เยาวรักษณ์ / ทรามเชย / อรทัย / สายสวาท / บังอร / กัลยาณี / เยาวเรศ / แก้วตา / กานดา / เยาวลักษณ์ / ดวงสมร / ดรุณี / วนิดา / นงคราญ / นงเยาว์ / สมร / นงพะงา / นงลักษณ์ / สุดา / อรไท / นารี / อิตถี / ร้อยชั่ง / มารศรี / เพาโพท / สตรี / ยุพเยาว์ / พธู / สายสมร / ยพุเรศ / สัตรี / อนงค์ / ยุพดี
  4. คำไวพจน์ ผู้เป็นใหญ่ = นาย / ผู้เป็นหัวหน้า / ผู้จ้าง / นายตรวจ นายทะเบียน / ผู้ควบคุม / พญา / อินทร- / อินทร์ / อินท์
  5. คำไวพจน์ แผ่นดิน = ปัถพี / พื้นดิน / ธาตรี / กษมา / ธรณิน / ธเรษตรี / ธริษตรี / ธรา / ปฐพี / ด้าว / พสุมดี / ปฐวี / ธาษตรี / มหิ / หล้า / พสุธา / พสุนทรา / พสุธาดล / ภพ / ภูตลา / พิภพ / ภูมิ / ธรณี / ภูวดล / เมธินี / ธราดล / โลกธาตุ

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในบริบทต่าง ๆ กัน หรือเรียกอีกอย่างว่า “คำพ้องความ” หรือคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น บุษบา กับ บุปผา ช้าง กับ คช ป่า กับ ดง ม้า กับ อาชา เป็นต้น

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำไวพจน์ หมวด ผ"