สำนวนไทย

สำนวนไทย หมวด ค

สำนวนไทย หมวด ค ตามที่เคยรู้จัก สํานวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

สำนวนไทย หมายถึง ถ้อยคำ กลุ่มคำ หรือประโยคที่ไม่ได้แปลความหมายตรง ๆ แต่มีความหมายเชิงเปรียบเทียบแฝงอยู่ เช่น สอนจระเข้ให้ว่ายนํ้า รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง

คำสุภาษิต หรือ สำนวนสุภาษิต คือ คำในภาษาไทยที่ใช้ในการสื่อสารเชิงเปรียบเทียบอุปมาอุปมัย มักมีความหมายในการตักเตือนสั่งสอนในทางบวก มีความหมายที่ดี เช่น รักยาวให้บั่นรักสั้นให้ต่อ น้ำเชี่ยวอย่าขวางเรือ

คำพังเพย หมายถึง ถ้อยคำหรือข้อความที่กล่าวเป็นกลาง ๆ เพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่อง มีความหมายแฝงอยู่ อาจเป็นคำที่ใช้สื่อในทางเปรียบเปรย หรือในทำนองเสียดสี เช่น กระต่ายตื่นตูม เสียน้อยเสียยากเสียมากเสียง่าย

รวมสำนวนไทย หมวด ค

สำนวนไทย หมวด ค ตามที่เคยรู้จัก สํานวนไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คงเส้นคงวา
    หมายถึง เสมอต้นเสมอปลาย
  2. คนละไม้คนละมือ
    หมายถึง ต่างคนต่างช่วยกันทำ ทำด้วยความสามัคคีกัน อย่างตั้งใจช่วยเหลือเกื้อกูลกันทำงานเพื่อผลสำเร็จ
  3. คนสามขามีปัญญาหาไว้ทัก ที่ไหนหลักแหลมคำจงจำเอา
    หมายถึง ผู้เฒ่าผู้แก่หรือผู้สูงอายุนับว่าเป็นผู้ผ่านโลกมาก่อน ย่อมมีประสบการณ์มาก จะทำสิ่งใดจึงควรขอคำแนะนำ
  4. คบคนจรนอนหมอนหมิ่น
    หมายถึง คบคนที่ไม่รู้จักหัวนอนปลายเท้า
  5. คมในฝัก
    หมายถึง มีความรู้ความสามารถแต่เมื่อยังไม่ถึงเวลาก็ไม่แสดง ออกมาให้ปรากฏ
  6. ครอบจักรวาล
    หมายถึง ครอบคลุมทั่วถึงไปหมดมักใช้เรียกสิ่งของหรืออะไรที่สามารถทำได้หลายๆอย่างที่มีประสิทธิภาพในการใช้งาน
  7. ครึ่ง ๆ กลาง ๆ
    หมายถึง การเรียนรู้หรือทำอะไรที่ไม่เต็มที่ไม่ครบสมบูรณ์ ทำอะไรยังไม่เสร็จหรือเลิกล้มไปกลางคันไม่ทำต่อ
  8. คร่ำหวอด
    หมายถึง มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญชำนาญในเรื่องนั้น ๆ สูง
  9. คลับคล้ายคลับคลา
    หมายถึง จำได้เลือนลาง ไม่แน่ชัดไม่ชัดเจนว่าจะใช่หรือไม่ใช่ นึกออกแต่ก็ไม่แน่ใจว่าถูกต้องหรือไม่
  10. คลื่นกระทบฝั่ง
    หมายถึง เรื่องราวหรือเหตุการณ์สำคัญที่ค่อนข้างใหญ่โตแต่กลับเงียบหายไป
  11. คลื่นใต้น้ำ
    หมายถึง เหตุการณ์ที่กรุ่นอยู่ภายใน แต่ภายนอกดูเหมือนสงบเรียบร้อยหรือพวกคลื่นใต้น้ำชอบก่อหวอดก่อเหตุการณ์วุ่นวาย ภายในคอยแซะอย่างลับหลัง
  12. คลุกคลีตีโมง
    หมายถึง มั่วสุมหรืออยู่ร่วมคลุกคลีพัวพันกันอย่างใกล้ชิดตลอดเวลา คำนี้โบราณท่านเปรียบไว้ด้วยคำที่มีความหมายบ่งบอกที่ค่อนข้างชัดเจน คือคำว่าคลุกคลีนั่นเอง
  13. คลุมถุงชน
    หมายถึง ลักษณะที่ทั้ง 2 ฝ่ายมาเผชิญกันทั้งที่ไม่เคยเห็นไม่เคยรู้จักกันมาก่อน มักใช้แก่ประเพณีแต่งงานสมัยก่อนที่พ่อแม่เป็นผู้จัดการให้โดยที่เจ้าตัวไม่เคยรู้จักหรือรักกันมาก่อนเหมือนแกมบังคับให้โดนจับคู่กัน
  14. ควันหลง
    หมายถึง เรื่องราวตามมาหรือเบื้องลึกเบื้องหลังที่มีหลุดออกออกมา หรือสิ่งที่ตามมาเป็นกระแสยังไม่จบซะทีเดียว จากเรื่องที่พึ่งเกิดยังไม่หมดสิ้นกลับปรากฏขึ้นอีก หรือผลพวงที่ตามมาจากเรื่องเหล่านั้น
  15. คว่ำบาตร
    หมายถึง ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย
  16. คว้าน้ำเหลว
    หมายถึง การที่ลงมือทำอะไรแล้วไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ได้ผลตามที่ต้องการ
  17. คอขาดบาดตาย
    หมายถึง ร้ายแรงถึงอาจต้องสูญเสียชีวิตได้ เกิดเหตุร้ายแรงถึงขั้นอันตรายอาจถึงกับเสียชีวิตหรือเป็นเรื่องใหญ่มาก
  18. คอทองแดง
    หมายถึง ดื่มเหล้าเก่ง ไม่เมาง่าย ๆ
  19. คอเป็นเอ็น
    หมายถึง ขึ้นเสียงเถียงโต้อย่างไม่ยอมลดละ ไม่อ่อนข้อ
  20. คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก
    หมายถึง ที่อยู่แม้จะคับแคบก็อยู่ได้ถ้าสบายใจ แต่ถ้าอึดอัดใจ ที่อยู่จะกว้างขวางใหญ่โตอย่างไรก็อยู่ไม่ได้
  21. คางคกขึ้นวอ
    หมายถึง คนที่มีฐานะต่ำต้อย พอได้ดิบได้ดี ลืมตัวลืมกำพืด ลืมชาติกำเนิดตัวเอง ดูถูกเหยียดหยามสิ่งที่ตัวเองเคยเป็น
  22. คางเหลือง
    หมายถึง ป่วยหรือบาดเจ็บมากจนแทบเสียชีวิต อาการหนักถึงหนักมาก
  23. คาบลูกคาบดอก
    หมายถึง อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน
  24. คาบเส้นยาแดง
    หมายถึง ทำงานเสร็จทันเวลาแต่ด้วยความกระทันหัน เฉียดฉิวเกือบจะไม่ทันรอดตัวได้หวุดหวิด
  25. คาหนังคาเขา
    หมายถึง จับได้ในขณะที่กำลังกระทำผิดหรือพร้อมกับของกลาง
  26. คู่สร้างคู่สม
    หมายถึง คู่ชีวิต
  27. เคราะห์หามยามร้าย
    หมายถึง เคราะห์ร้าย
  28. เคียงบ่าเคียงไหล่
    หมายถึง ร่วมสุขร่วมทุกข์หรือร่วมเป็นร่วมตายด้วยกัน
  29. เค็มเป็นเกลือ
    หมายถึง ขี้งก ตระหนี่ ขี้เหนียวสุด ๆ เหมือนเกลือที่เค็มสุด ๆ
  30. โคมลอย
    หมายถึง ไม่มีมูล เหลวไหล
  31. โคแก่กินหญ้าอ่อน
    หมายถึง ชายอายุเยอะ ที่มีภรรยามีอายุอ่อนคราวลูกคราวหลาน
  32. โค่นกล้วยอย่าไว้หน่อ ฆ่าพ่ออย่าไว้ลูก
    หมายถึง การกำจัดศัตรูนั้น ต้องกำจัดให้หมดสิ้นไปจริง ๆ ไม่ให้เหลือผู้สืบทอดหรือผู้ที่จะกลับมาเป็นศัตรูได้อีก ใช้กับการฆ่าและกับการหน้าที่การงาน

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "สำนวนไทย หมวด ค"