ภาษาอีสาน

ภาษาอีสาน หมวด จ

ภาษาอีสาน หมวด จ ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมภาษาอีสาน หมวด จ

ภาษาอีสาน หมวด จ ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. จตุโลกบาล
    หมายถึง ผู้รักษาโลกในสี่ทิศ คือ ท้าวธตรัฐ รักษาโลกในทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก รักษาโลกทางทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ รักษาโลกทางทิศตะวันตก ท้าวกุเวร รักษาโลกในทางทิศเหนือ (ป.).
  2. จอก
    หมายถึง แก้วน้ำ
  3. จอกน้ำ
    หมายถึง แก้วน้ำ
  4. จอบเบิ่ง
    หมายถึง แอบดู
  5. จอมเมือง
    หมายถึง นางสุมณฑา นางสุมณฑา เรียก จอมเมือง อย่างว่า จอมเมืองเจ้าใจฮมฮักไพร่ สนุกอยูหลิ้นไพรกว้างม่วนระงม (สังข์).
  6. จะของ
    หมายถึง ตัวเอง
  7. จัก (กี่)
    หมายถึง กี่
  8. จัก (ไม่รู้)
    หมายถึง ไม่รู้จัก
  9. จักบาท (เงิน)
    หมายถึง เงินกี่บาท
  10. จักว่าหยังเป็นหยัง
    หมายถึง ไม่รู้ว่าอะไรเป็นอะไร
  11. จักสิไปบ่ไป
    หมายถึง ไม่รู้ว่าจะไป หรือ ไม่ไป
  12. จักหน่อย
    หมายถึง เล็กน้อย,อีกสักพัก
  13. จักเทื่อ
    หมายถึง สักครั้ง
  14. จักแหล่ว
    หมายถึง ไม่รู้สิ
  15. จังได๋
    หมายถึง แบบไหน,ยังไง
  16. จังไฮ
    หมายถึง จังไร จัญไร ชั่วร้าย คนที่ทำความชั่วร้ายเรียก คนจังไฮ จังไฮไฟไหม้ ก็ว่า อย่างว่า บัดนี้จักกล่าวเถิงกุมภัณฑ์ผู้จังไฮหีนะโหด มันก็นอนแนบน้องในห้องแท่นลาย (สังข์).
  17. จัดส้วม
    หมายถึง จัดห้องนอน
  18. จัตุโลกบาล
    หมายถึง ผู้รักษาโลกใน ๔ ทิศ คือ ท้าวธตรัฐ จอมภูต อยู่ทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหก จอมเทวดา อยู่ทิศใต้ ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค อยู่ทิศตะวันตก ท้าวกุเวร จอมยักษ์ อยู่ทิศเหนือ (ป.).
  19. จับจูด
    หมายถึง เริ่มแบบไม่ได้ตั้งตัว , หรือไม่ได้ซ้อมกันมาก่อน ,ไม่ได้ตั้งตัว เป็นต้น
  20. จั่ง
    หมายถึง ถึง, อย่าง อย่างเช่นทำอย่างไร เรียก เฮ็ดจั่งใด พูดอย่างไรเรียก เว้าจั่งใด คิดอย่างไรเรียก คึดจั่งใด อย่างนี้เรียก จั่งซี้ อย่างนั้นเรียก จั่งซั้น อย่างไรเรียก จั่งใด ถูกอย่างนั้นเรียก แม่นจั่งซั้น เป็นต้น.
  21. จั๊กกะเดียม
    หมายถึง จั๊กกะจี้
  22. จาวขาย
    หมายถึง ประกาศขาย
  23. จาฮีต
    หมายถึง เป็นคำยืนยันถึงความจริง,แน่นอน
  24. จำปอก
    หมายถึง มิดด้าม,สุด
  25. จิดหลูดล้ม
    หมายถึง ใจหวิวแทบจะล้ม
  26. จี่
    หมายถึง ปิ้ง,ย่าง
  27. จืนน้ำมัน
    หมายถึง ทอดน้ำมัน
  28. จือ
    หมายถึง จำ,เข็ด
  29. จื้น
    หมายถึง แฉะ
  30. จุมพิต
    หมายถึง จูบ จูบด้วยปาก (ป.ส.).
  31. จ้อง
    หมายถึง ร่ม สิ่งที่ใช้ป้องกันแดดหรือฝน
  32. จ้อย
    หมายถึง มาตราชั่งน้ำหนักของฝิ่น จ้อยหนึ่ง น้ำหนักเท่ากับสองกิโลกรัม.
  33. จ้อยจ้อย (ดัง)
    หมายถึง เสียงกลมกล่อมเพราะหู
  34. เจวเวิว
    หมายถึง สูงไม่มีใบ
  35. เจ้า
    หมายถึง เธอ, คุณ
  36. เจ้าเมือง
    หมายถึง เจ้าผู้ปกครองเมืองเรียก เจ้าเมือง อย่างว่า งามแต่เข้าเฮ็ดนาแคมเหมือง งามแต่เมืองมีเจ้าผู้หนึ่ง (ภาษิต) เจ้าเมืองดีบ่เห็นแก่เงินแสนไถ้ เจ้าเมืองดีเห็นแก่ไพร่แสนเมือง (ภาษิต).
  37. แจบกระใจจิด
    หมายถึง ไม่แน่ใจ
  38. แจบใจ
    หมายถึง มั่นใจ,สนิทใจ
  39. แจวแหววสูงเจิ้นเทิ้น
    หมายถึง สูงเรียวๆเหมือนไม่ไผ่
  40. โจงโปง
    หมายถึง โล่ง,ว่างเปล่า
  41. โจรกรรม
    หมายถึง การลัก การขโมย การปล้น (ป.ส.).
  42. ใจออก
    หมายถึง ถอดใจ,ท้อถอย
  43. ใจฮ่มฮ่ม
    หมายถึง ใจเย็นเย็น
  44. ใจฮ้าย
    หมายถึง โกรธ,โมโห
  45. ใจเมือง
    หมายถึง นางกษัตริย์ เรียก ใจเมือง อย่างว่า มีท่อเยาวยอดแก้วเป็นมิ่งใจเมือง นางลุนมีแม่เดียวเทียมท้าว ปรากฏแก้วสุมุณฑาธรงฮูป โฉมยิ่งเพี้ยงแพงไว้แว่นใจ (สังข์).
  46. ไจ
    หมายถึง ด้ายที่ปั่นเต็มไนแล้วเก็บออกมาเรียกฝ้ายหนึ่งไจ สิบไจเท่ากับหนึ่งปอย. กรอง เกรอะ ต้มปลาร้าแล้วกรองเอาแต่น้ำ เรียก ไจปลาแดก เกรอะปลาแดก เตอะปลาแดก ก็ว่า.
  47. ไจ้
    หมายถึง ชื่อปีที่หนึ่งในจำนวนสิบสองปี คือ ปีไจ้=ปีชวด ปีเป้า=ปีฉลู ปียี่=ปีขาล ปีเหม้า=ปีเถาะ ปีสี่=ปีมะโรง ปีไส้=ปีมะเส็ง ปีชะง้า=ปีมะเมีย ปีมด=ปีมะแม ปีสัน=ปีวอก ปีเฮ้า=ปีระกา ปีเส็ด=ปีจอ ปีไค้=ปีกุน. คัด เลือก คัดสิ่งเสียออกจากสิ่งดีเรียก ไจ้ ไซ้ ก็ว่า.
  48. ไจ้ไจ้
    หมายถึง บ่อยๆ เนืองๆ คิดถึงเนืองๆ เรียก คึดไจ้ไจ้ จีไจ้ จีไจ้จีไจ้ ก็ว่า อย่างว่า เจ้าก็คิดเถิงบารมีธรรมเจ้าอยู่ไจ้ไจ้ (เวส).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "ภาษาอีสาน หมวด จ"