ภาษาอีสาน

ภาษาอีสาน หมวด ก

ภาษาอีสาน หมวด ก ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมภาษาอีสาน หมวด ก

ภาษาอีสาน หมวด ก ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวต้นของพยัญชนะทั้งหมด เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กก
  2. กก
    หมายถึง ต้นไม้ ต้นไม้เรียก กกไม้ เช่น กกมี้ กกม่วง กกยม กกยอ กกเดื่อ อย่างว่า กกบ่เตื้องตีงตายตั้งแต่ง่า ง่าบ่เหลื้องมาเตื้องตั้งแต่ใบ (บ.)
  3. กก
    หมายถึง ชื่ออักษรที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกด เรียกว่า แม่กก หรือมาตรากก.
  4. กก
    หมายถึง ต้นกก ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งคล้ายต้นผือ ใช้ทอเสื่อ เสื่อที่ทอด้วยกกสวยกว่า เพราะต้นกกลำเล็ก อย่างว่า สาดต่ำผือบ่งามบ่จบ สาดต่ำกกทังจบทังงาม (บ.)
  5. กก
    หมายถึง ต้นตระกูล ผู้เป็นต้นตระกูล เรียก กก, กอ หรือเหง้า ก็เรียก อย่างว่า กกกอเหง้าวงศ์สกุลโคตรย่า ให้บูชาอ่อนน้อมถนอมไว้อย่าลวน (บ.)
  6. กก
    หมายถึง แรก, ทีแรก, เริ่มแรก, ลูกผู้เกิดทีแรก เรียก ต้นข้าวปักดำทีแรกเรียก เข้ากกแฮก.
  7. กก
    หมายถึง กอด อุ้ม กอดหรืออุ้มไว้กับอกเรียก กก เช่นแม่กอดลูก บ่าวกอดสาว ไก่กกลูก อย่างว่า ยามเมื่อนอนในห้องศาลากวนแอ่ว พี่ก็กกกอดอุ้มเอาน้องเข้าบ่อนนอน (กา).
  8. กก
    หมายถึง แรก, ทีแรก, เริ่มแรก, ลูกผู้เกิดทีแรก เรียก ต้นข้าวปักดำทีแรกเรียก เข้ากกแฮก.
  9. กก
    หมายถึง โคน เช่น โคนแขนเรียก กกแขน โคนขาเรียก กกขา อย่างว่า สาวเอยสาว ตั้งแต่เจ้าเป็นสาว กกขาขาวคือปลีกล้วยถอก บาดเจ้าออกลูกแล้ว กกขาก่ำคือหำลิงโทน (กลอน)
  10. กก
    หมายถึง นกเงือกเรียก นกกก นกคอก้าก ก็ว่า อย่างว่า นกกกแลนกแกง ซุมแซงแลคอก่าน ห่านฟ้าแลตะลุม (เวส) ฟันยินเปล้าป่าวฮ้องเฮียงลูก สอนเสียงพุ้นเยอ สองค่อยพากันเก็บเงื่อนลิงเล็งป้อน ฟันยิงแกงกกเค้าคณามุมฮ้องฮ่ำ เจ้าหล้าช้อยฟังย้านสั่นสาย (สังข์).
  11. กกขา
    หมายถึง โคนขา
  12. กกบักขาม
    หมายถึง ต้นมะขาม
  13. กกหูก
    หมายถึง ด้ายหรือไหมที่ตัดไว้ติดกับฟืม เรียก กกหูก กกหูกสำหรับต่อกับเครือหูกในเวลาจะทอครั้งต่อไป
  14. กกหูก
    หมายถึง ด้ายหรือไหมที่ตัดไว ้ติดกับฟืม กกหูกสำหรับต่อกับเครือหูก ในเวลาจะทอครั้งต่อไป
  15. กกุธ์ห้า
    หมายถึง เครื่องหมายความเป็นพระราชาธิบดี ๕ อย่าง คือ ๑.มงกุฎ ๒.พระขรรค์ชัยศรี ๓.เศวตฉัตร ๔.แส้จามร ๕.ฉลองพระบาตร ทั้ง ๕ นี้เรียกว่า กกุธ์ห้า กุกกุห้าก็เรียก อย่างว่ากุกกุภัณทะห้าของพระยาปางก่อน พี่ก็ยอยกม้วนองค์อ้วนผู้เดียว (สังข์).
  16. กกุสนธ์
    หมายถึง พระนามพระพุทธเจ้าองค์แรกที่เกิดในภัทรกัปนี้ เรียก พระกกุสันธะ กุกกุสันธะก็เรียก ในภัทรกัปนี้มีพระพุทธเจ้ามาเกิด ๕ พระองค์ คือ พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม พระอริยเมตตรัยโย (ป. กกุสนธ).
  17. กกเหงือก
    หมายถึง ลิ้นไก่
  18. กกแข่ว
    หมายถึง รากฟัน
  19. กกแข้ว
    หมายถึง รากฟัน
  20. กกแนน
    หมายถึง คู่ครองที่เคยอยู่กินกันมาหลายภพหลายชาติ, บุพเพสันนิวาส, เนื้อคู่ สายแนน ก็เรียก คู่ครองที่เคยอยู่กินกันมาหลายภพหลายชาติ หรือที่โบราณเรียกว่าบุพเพสันนิวาสนั้น เรียก กกแนน กกมิ่ง กกแนน สายมิ่ง สายแนน ก็เรียก อย่างว่า อันหนึ่งกกแนนเจ้าขูลูบาบ่าวทังอ่อนน้อยยังเกี้ยวกอดกันบ่เด (ขูลู)
  21. กกไม้
    หมายถึง ต้นไม้
  22. กง
    หมายถึง เขตแดน, บริเวณ, สิ่งที่มีลักษณะกลมหรือคล้ายวงกลม
  23. กง (ดื้อ)
    หมายถึง ดื้อ พยศ ขัดขืน คนดื้อด้านไม่ฟังคำสั่งสอนเรียก คนกง โกง ก็ว่าอย่างว่า อย่าชะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ไผ่ป่า คันกะต่าบ่ห้อยบ่มีได้อ่านแอ่นกลางฯ อย่าซะกงหลายถ้อน หัวคานงงไม้ฮวก บ่แม่นพวกหมู่นี้ ใผชิโก้ยขึ้นนั่งชาน(บ.).
  24. กง (แม่กง)
    หมายถึง ชื่ออักษรที่มีตัว ง สะกด เรียกว่า แม่กง หรือ มาตรากง
  25. กงคำ
    หมายถึง ราชรถเรียก
  26. กงจักร
    หมายถึง สิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลม เช่น กงเกวียน กงล้อ กงรถ เรียก กงจักร อย่างว่า นำกงจักรจากไปปอมเว้น (สังข์)
  27. กงชมพู
    หมายถึง ที่, ใน
  28. กงดิน
    หมายถึง เขตดิน เรียก กงดิน
  29. กงน้ำ
    หมายถึง เขตน้ำ
  30. กงพัด
    หมายถึง ระหัด, พัดลม.
  31. กงพื้น
    หมายถึง เขตแผ่นดิน
  32. กงราช
    หมายถึง เขตเมืองหลวง เรียก กงราช อย่างว่า ฟังยินซว่าซว่าก้องกงราชเป็งจาน (สังข์)
  33. กงราชมณเฑียร
    หมายถึง เขตเรือนหลวงเรียก กงราชมณเฑียร อย่างว่า คื่นคื่นก้องกงราชมณเฑียร (สังข์).
  34. กงวัฏ
    หมายถึง สิ่งหรือสถานที่มีลักษณะคล้ายกงจักร เพราะคลำหาต้นสายปลายเหตุไม่พบ เรียก กงวัฏ หรือสังสารวัฏ คือ เกิดแก่เจ็บตาย ไม่มีที่สิ้นสุดจนกว่าจะบรรลุพระอรหัต
  35. กงสถาน
    หมายถึง ถิ่น, สถาน, ที่ สถานที่เรียก กงสถาน อย่างว่า กงสถานกว้างเกียงลมเลียนตาด (กา)
  36. กงสะเด็น
    หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งมีผล เวลาผลแก่เต็มที่ผลจะแตกกระเด็นตกไปในที่ไกล เรียก ต้นกงสะเด็น
  37. กงสี
    หมายถึง หุ้นส่วน, บริษัทที่บุคคลหมู่หนึ่งทำขึ้น เช่น กงสีต้มกลั่นสุรา.
  38. กงหลา
    หมายถึง กงไนสำหรับกรอด้าย กรอไหม เรียก กงหลา อย่างว่า เหล็กในบ่มีกงหลาแล้วชิกลายเป็นเหล็กส่วน มีผัวบ่มีลูกเต้าเขาชิเอิ้นแม่หมัน (ย่า).
  39. กงหัน
    หมายถึง ระหัด พัดลม เครื่องวิดน้ำเข้านา เรียก กงพัด กงหัน ก็ว่า คนโบราณอีสานเมื่อต้องการน้ำในแม่น้ำขึ้นมาทำนาก็ใช้กงพัดหรือกงหัน ดึงเอาน้ำขึ้นมา เรียก หมากปิ่น ก็ว่า อย่างว่า เชื่อกงหันลมต้องปิ่นหันลิ่นลิ่นปานคนหมุน(กลอน).
  40. กงห้วย
    หมายถึง เขตห้วย เรียก กงห้วย อย่างว่า ฟังยินอุมลัวเหินโฮ่นันกงห้วย (สังข์).
  41. กงเต็ก
    หมายถึง การทำบุญให้ผู้ตายของนักบวช นิกายจีนและญวน มีการสวดและเผากระดาษที่ทำเป็นรูปต่างๆ (จ.)
  42. กงเมือง
    หมายถึง เขตเมือง เรียก กงเมือง อย่างว่า มีในเขตขงกงเมืองสิวิราช (เวส) ท้าวก็คอยเห็นกงเมืองชั้นผีหลวงฮ้อยย่าน (สังข์) ข่อยเห็นกงเมืองชั้นจำปายาวย่าน (กา) ฟังยินซว่าซว่า ฮ้องกงราชเป็นจาน (สังข์) คอยเห็นกงเมืองก็พระยาขอมพอผอมผ่อ (ผาแดง)
  43. กงแก้ว
    หมายถึง วัน เดือน ปีเกิด เรียก กงแก้ว กงชะตา ดวงชะตา
  44. กงโลก
    หมายถึง ทั่วโลก เขตจักรวาลหรือโลกเรียก กงโลก อย่างว่า ควรที่อัศจรรย์ล้ำโลกา กงโลก มีในห้าสิบชาติ แท้เทียวใช่ส่งเวร (สังข์)
  45. กงไกว
    หมายถึง เหล็กสว่าน เหล็กสำหรับเจาะไม้และเจาะเหล็ก เรียก เหล็กกงไกว กงกวย ก็ว่า
  46. กฎ
    หมายถึง ปรากฏ, สังกฏ อย่างว่า สังกฏว่ามันมา แต่บ่เห็นมา จักมันไปใส (บ.) ผากฏ ก็ว่า อย่างว่า ผากฏแก้วสุมุณฑาทรงฮูปโฉมยิ่งเพี้ยงแพงไว้แว่นใจ (สังข์).
  47. กฎ (จด)
    หมายถึง จด บันทึก การจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานเรียก กฎ อย่างว่า ก็จิ่งลงลายแต้มกฎเอาคำปาก (ฮุ่ง).
  48. กฎ (ระเบียบ)
    หมายถึง ประเพณี ระเบียบ ข้อบังคับ ระเบียบที่คนหมู่หนึ่งคณะหนึ่งวางไว้ เพื่อให้คนหมู่หนึ่งในคณะทำเสมอกัน.
  49. กฎกรม
    หมายถึง กรมหรือหน่วยงานย่อยที่แยกออกจากหน่วยงานใหญ่ แต่ละกรมมีอธิบดีกรมเป็นหัวหน้า ข้อบัญญัติที่เจ้ากรมออกไว้ โดยอาศัยอำนาจตามกฎหมายเรียก กฎกรม ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวง เจ้าทบวง เจ้ากรมบัญญัติจะต้องไม่ขัดกับกฎหมาย ถ้าขัดกับกฎหมาย ข้อบัญญัติก็เป็น โมฆะหรือ โมฆียะ.
  50. กฎกรรม
    หมายถึง กรรมคือการกระทำ แยกออกเป็น ๒ อย่าง คือทำดีและทำชั่ว ทำดีได้รับผลดี ทำชั่วได้รับผลชั่ว นี่คือกฎของกรรม.
  51. กฎกระทรวง
    หมายถึง ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวงออกโดยอาศัยอำนาจตามที่กฎหมายให้ไว้เรียก กฎกระทรวง ข้อบัญญัติที่เจ้ากระทรวงออกนี้ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ภายในกระทรวงปฏิบัติให้ถูกต้องตามตำแหน่งของตนๆ.
  52. กฎทบวง
    หมายถึง ทบวงคือหน่วยงานหนึ่งที่เทียบเท่ากระทรวง หรือลดหลั่นกระทรวงลงมา ข้อบัญญัติที่เจ้าทบวงตราไว้ เพื่อบริหาร เรียก กฎทบวง.
  53. กฎธรรม
    หมายถึง ธรรมะ คือ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติ ข้อที่ควรประพฤติปฏิบัติมีมากมายก่ายกอง เมื่อจะสรุปลงคงได้แก่สุจริต คือความประพฤติดีทางกาย เรียก กายสุจริต ประพฤติดีทางวาจา เรียก วจีสุจริต ประพฤติดีทางใจ เรียก มโนสุจริต
  54. กฎธรรมชาติ
    หมายถึง ธรรมชาติคือสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือตามวิสัยของโลก สิ่งนั้นได้แก่คนและสัตว์เป็นต้น คนก็ดีสัตว์ก็ดี จะเกิดขึ้นต้องอาศัยปัจจัย ถ้าหมดเหตุหมดปัจจัยก็ดับไป แล้วเกิดขึ้นมาใหม่ หมุนเวียนเปลี่ยนไปจนกว่าจะถึงจุดจบ.
  55. กฎธรรมดา
    หมายถึง ธรรมดาคืออาการหรือความเป็นไปของคนและสัตว์ เมื่อคนและสัตว์เกิดขึ้นมาแล้ว จะต้องเป็นไปตามธรรมดาของโลก ธรรมดาของโลกนั้นจะต้องกิน จะต้องนอน จะต้องป้องกันภัยอันตราย จะต้องสืบพันธุ์คนและสัตว์ที่เกิดมาแล้วจะเป็นอย่างนี้ นี่คือกฎของธรรมดา.
  56. กฎบ้าน
    หมายถึง ระเบียบที่ชาวบ้านร่วมกันบ้านร่วมกันตั้งขึ้น เรียก กฎบ้าน เช่นการปลูกเรือน ใครจะปลูกเรือนจะต้องไปช่วยเหลือกันทั้งผู้หญิงผู้ชาย ผู้หญิงไปหาอาหารมาเลี้ยง ผู้ชายไปจัดการปลูกทำให้เสร็จในวันเดียว การดำนา เกี่ยวข้าว ตีข้าว ถ้ามีความจำเป็นก็ขอแรงญาติให้ไปช่วย
  57. กฎมนเทียรบาล
    หมายถึง ข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐานและพระราชวงศ์.
  58. กฎวัด
    หมายถึง ระเบียบที่ชาววัดร่วมกันตั้งขึ้นเรียก กฎวัด เป็นกฎเฉพาะ ไม่เกี่ยวกับวัดอื่น เช่น ระเบียบทำวัตรสวดมนต์ ระเบียบการศึกษาเล่าเรียนระเบียบการบำเพ็ญธรรมกรรมฐาน กฎเหล่านี้อำนวยความสะดวกให้ชาววัดเมื่อถึงเวลาแล้วไม่ต้องปลุกเตินเอิ้นป่าวกันเพราะระเบียบได้ระบุไว้แจ้ง
  59. กฎศีล
    หมายถึง ศีลคือข้อห้าม ศีลของศาสดาแต่ละศาสนาบัญญัติไว้ไม่เหมือนกัน สำหรับพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดา ได้บัญญัติศีลแด่พุทธบริษัทไม่เคร่ง ไม่หย่อน พอเหมาะพอดี ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติได้ก็มีความร่มเย็นเป็นสุขไม่มีภัย ไม่มีเวร ประสบแต่ความสุขความเจริญ
  60. กฎหมาย
    หมายถึง บทบัญญัติซึ่งผู้ที่มีอำนาจได้ตราขึ้นไว้ เพื่อใช้ปกครองคนภายในประเทศให้ได้ความยุติธรรม ความเป็นธรรมและความชอบธรรม ผู้ใดฝ่าฝืนมีโทษตามที่ได้ระบุไว้ในกฎหมาย กฎหมายนั้นมีมากเมื่อจะย่อลงคงที ๓ อย่างคือ ๑. กฎหมายอาญา ๒. กฎหมายแพ่ง ๓. กฎหมายพาณิชย์
  61. กฎอัยการศึก
    หมายถึง กฎหมายที่ตราขึ้นใช้ในเวลาที่จำเป็น เช่นเมื่อบ้านเมืองเกิดข้าศึกสงครามหรือความไม่สงบจะต้องตรากฎหมายขึ้นใช้ในภาวะเช่นนี้ กฎหมายนี้เรียก กฎอัยการศึก อำนาจบริหารบ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจทหาร ทหารจะใช้กฎนี้ไปจนกว่าบ้านเมืองจะสงบสุข.
  62. กฎี
    หมายถึง เรือนเป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุสามเณร เรียก กฎี กุฏี กะฏีก็ว่า (ป.กุฏิ).
  63. กฎุมพี
    หมายถึง คนมั่งมีเรียก กฎุมพี กฎมพีต ก็ว่า อย่างว่า ยังมีกฎมพีตเชื้อสถิตที่นครหลวง พาราญสีเมืองทีปชมพูภายพื้น (เสียว).
  64. กฎแกวด
    หมายถึง นับจำนวน, กำหนดจำนวน การกำหนดนับจำนวนเรียก กฎแกวด อย่างว่า กฎแกวดเผี้ยนตายเมี้ยนมากหลาย(กา).
  65. กฐิน
    หมายถึง ผ้าที่นำไปถอดถวายแด่พระสงฆ์ที่จำพรรษาครบสามเดือนเรียกผ้ากฐินกฐินมี ๒ ชนิดคือ จุลกฐินและมหากฐิน กฐินที่ทำให้สำเร็จในวันเดียวเริ่มแต่ปั่นด้าย ทอ เย็บ ย้อมเป็นต้นเรียกจุลกฐินกฐินแล่นก็เรียก กฐินที่ใช้เวลานานและจัดเตรียมบริขารบริวารถวายพระได้มากเรียกมหากฐิน.
  66. กฐินฮังโฮม
    หมายถึง กฐินสามัคคีเรียก กฐินฮังโฮม กฐินชนิดนี้มีเจ้าภาพร่วมกันหลายคนจุดประสงค์ก็เพื่อจะรวบรวมเงินไปสร้าง กุฏิ วิหาร ศาลา การเปรียญ หรือสร้างสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่เป็นสาธารณะกุศล.
  67. กด
    หมายถึง 1.)แม่กด หรือ มาตรากด. 2.)ชื่อปลาจำพวกหนึ่ง มีเงี่ยง ไม่มีเกร็ด เรียก ปลากด 3.)นกกด ชื่อนกกดจำพวกหนึ่ง มี 2 ชนิด คือชนิดสีดำปนแดง ตาสีแดงร้องเสียงปูดๆ หรือปืดๆ เรียก นกกดปูด หรือ นกกดปืด ชนิดตัวเล็กขนลายเรียก นกกดห่อย หรือ นกกดไฟ 4.)คำกำกับชื่อปี ในวิธีนับจุลศักราช กดตรงกับเลข ๗. 5.)บังคับ, ข่มเหง กดขี่ข่มเหงเรียก กด
  68. กดทรง
    หมายถึง วางมาด, ขี้เต๊ะ ,เก๊กหล่อ ทำท่าปั้นปึ่งขึงขังแสดงตนว่ามั่งมีศรีสุข อย่างว่า เพิ่นกะกดทรงโก้คือโตใหญ่ ตั้งทีแท้เข้าชิจี่เกลือจ้ำฮองท้องแม่นบ่มี (บ.).
  69. กดราคา
    หมายถึง ตีราคา, กำหนดค่า เช่น เมื่อพระเวสสันดรจะสั่งให้สองกุมารแก่ชูชก ก็กำหนดราคาลูกทั้งสองไว้
  70. กดวาท
    หมายถึง พูดจาท่าทีใหญ่โต เรียก กดวาท อย่างว่า มันก็ปองมิ่งแก้วโลมลูบจอมขวัญ เมื่อนั้นนางคราญขมเคียดเค็มฟุนป้อย ดูราชายโทนเถ้ายักโขผีผาด มึงหากกดวาทเว้ามีได้เวทนา ท่านเอย (สังข์).
  71. กดหน้า
    หมายถึง ก้มหน้า ธรรมเนียมคนโบราณถือการยืนเป็นการเคารพอย่างสูง เมื่อเข้าเฝ้าเจ้านายจะต้องก้มหน้า การก้มหน้านี่แหละเรียก กดหน้า อย่างว่า หลายส่ำถ้วนทุกปากปุนแถลง สองนายเมืองผ่อกายกดหน้า สาวกระสันเยื้อนใยความประสงค์สวาก เจ้าพี่ข้อยลืมน้องหน่ายแหนง (สังข์).
  72. กดเพศ
    หมายถึง ไว้ท่า อวดทรง แสดงท่าทางว่ายังหนุ่มแน่น ไม่ทุกข์จนค่นแค้น อย่างว่า บ่าวก็กดเพศ ไว้ให้สาวดิ้นดั้นตาย (สังข์).
  73. กตัญญูกตเวที
    หมายถึง ผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณท่าน พึงทราบบุคคลหาได้ในโลก ๒ จำพวกคือ ๑.บุพพการี ผู้ทำอุปการะก่อน ๒.กตัญญูกตเวที ผู้รู้คุณแล้วตอบแทนคุณ บุพพการีมี ๔ จำพวก คือ ๑.พ่อแม่ ๒.ครูบาอาจารย์ ๓.เจ้านายผู้ปกครอง ๔.พระพุทธเจ้า
  74. กตาธิการ
    หมายถึง บารมีที่ได้สั่งสมไว้ หรือบุญที่ได้สั่งสมไว้ (ป.).
  75. กตาภินิหาร
    หมายถึง บุญอันยิ่งที่ได้สั่งสมไว้ (ป.)
  76. กติกา
    หมายถึง ข้อตกลง, ข้อบังคับ, สัญญา (ป.).
  77. กถา
    หมายถึง คำ, ถ้อยคำ, เรื่อง, คำอธิบาย, คำกล่าว (ป.).
  78. กถาพันธ์
    หมายถึง คำประพันธ์, คำร้อยกรอง (ป.).
  79. กถามุข
    หมายถึง คำนำ, ข้อความเบื้องต้นของเรื่อง, คำที่เป็นแนวทาง (ป.).
  80. กทลี
    หมายถึง กล้วย (ป.) อย่างว่า เจ้าผู้คีงเหลืองล้ำกทลีกล้วยบ่ม (สังข์).
  81. กน
    หมายถึง ชื่ออักษรที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด เรียกว่า แม่กน หรือ มาตรากน.
  82. กนก
    หมายถึง ทองคำ (ป.)
  83. กนิษฐภคินี
    หมายถึง น้อง (ป.ส.) อย่างว่า บ่ได้สุขอยู่สร้างเสวยราชเป็นพระยา คนิงแพงศรีชู่วันมีเอื้อน กำสุดโอ้กนิษฐาเจ้าพี่กูเอย ปานนี้ยักษ์ฆ่าเจ้ากินแล้วฮู้ว่ายัง นั้นเด(สังข์).
  84. กนิษฐภาดา
    หมายถึง น้อง คู่กับเชษฐาพี่ เรียกขนิษฐาก็มี.
  85. กนโก
    หมายถึง ชื่อพรรณไม้ชนิดหนึ่งใบอ่อนใช้เป็นผักกินได้ ก้นโก ก็ว่า อย่างว่า เฮี้ยมนี้เป็นดั่งตาลปลายด้วนกนโกอยู่กลางท่งฮากบ่เหลือเครือบ่เกี้ยวโทนโท้อยู่แต่ลำคันเครือขิกบ่มาเกี้ยวใบ เครือหวายบ่มาเกี้ยวก้าน ตาลต้นส่วนอยู่พลอย แท้แล้ว(ผญา).
  86. กบ
    หมายถึง 1.)ชื่ออักษรที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด เรียกว่า แม่กบ หรือ มาตรากบ. 2.)สัตว์สี่เท้าตัวใหญ่กว่าเขียด อยู่ได้ในน้ำหรือบนบกก็ได้ เป็นสัตว์ประเภทครึ่งน้ำครึ่งบก เรียก กบ มีหลายชนิด อย่างว่าพี่นี้คนผู้ฮ้ายลี้อยู่คือกบ เห็นคนมาหลูบลิลูลงลี้(ผญา) . 3.)เครื่องมือช่างไม้ ทำด้วยเหล็กมีรางทำด้วยไม้ สำหรับใสไม้ให้เรียบ มีหลายชนิด เช่น กบสั้น กบยาว กบฮ่อง เป็นต้น.
  87. กบกินตะเวน
    หมายถึง การเกิดสุริยุปราคา
  88. กบกินเดือน
    หมายถึง จันทรุปราคา
  89. กบฎ
    หมายถึง การประทุษร้ายต่อบ้านเมือง, ความทรยศ, ผู้ทรยศ ขบถ ก็ว่า (ส.).
  90. กบาล
    หมายถึง กะโหลกศีรษะ,กระเบื้อง(ป.ส.กปาล) หัว (ข.) เช่น เขกกบาล เรียก เขกหัว.
  91. กบินทร์
    หมายถึง พญาลิง กเบนทร์ ก็ว่า (ส.).
  92. กบิล
    หมายถึง 1.)ลิง (ส. กปิล). 2.)ระเบียบ,แบบ,ทาง เช่น กบิลความ กบิลเมือง อย่างว่า ฮุ่งค่ำอื้ออามาตย์ ชุมสนาม โดยเดิมกบิลชั่วลางประถมเถ้าเชียงหลวงล้นระงมคนเค้าคื่น ทุกท่วยใต้ลุ่มฟ้ายำท้าวทอดทอง (สังข์).
  93. กบิลพัสดุ์
    หมายถึง ชื่อเมืองหนึ่งในอินเดียเป็นเมืองที่พระพุทธเจ้าประสูติ อย่างว่า แล้วจิ่งกลับคืนห้องเมืองกบิลบ้านเก่าหวังชิโผดพ่อเจ้าชาวเชื้อศากยา พอเมื่อพระพ่อฮู้เรื่องข่าวการเสด็จแล้วจิ่งพากันจัดฮับฮองพระองค์เจ้า (เวส-กลอน)ใ
  94. กบี่
    หมายถึง ลิง (ป.ส. กปิ).
  95. กปณ|กปณา
    หมายถึง กำพร้า,อนาถา,ไร้ญาติ,ยากไร้ (ป.).
  96. กปิ
    หมายถึง ลิง (ป.ส.).
  97. กม
    หมายถึง ชื่ออักษรที่มีตัว ม สะกด เรียก แม่กม หรือ มาตรากม.
  98. กมล
    หมายถึง บัว, ดอกบัว, ดวงใจ (ป.).
  99. กมลากร
    หมายถึง สระบัว (ป.).
  100. กมลาสน์
    หมายถึง ผู้มีบัวเป็นที่นั่ง คือพระพรหม (ป.ส.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "ภาษาอีสาน หมวด ก"