ภาษาอีสาน

ภาษาอีสาน หมวด ล

ภาษาอีสาน หมวด ล ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมภาษาอีสาน หมวด ล

ภาษาอีสาน หมวด ล ตามที่เคยรู้จัก ภาษาอีสาน มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. ลอย
    หมายถึง ว่าย
  2. ลอยน้ำ
    หมายถึง ว่ายน้ำ
  3. ลอยเฮือไฟ
    หมายถึง เรือที่ทำด้วยไม้ไผ่หรือท่อนกล้วย ทำรูปคล้ายเรือ ภายในเรือมีข้าวต้ม ขนม ฝ้ายไนไหมหลอด จุดกะไต้แล้วปล่อยไปตามแม่น้ำในวันออกพรรษาของทุกปีเพื่อบูชารอยพระพุทธบาทในแม่น้ำนัมมานที เรือที่ทำนี้เรียก เฮือไฟ การปล่อยเรือเรียก ปล่อยเฮือไฟ ไหลเฮือไฟ ก็ว่า.
  4. ลัน
    หมายถึง เครื่องมือดักปลาไหล มีลักษณะคล้ายแจกัน มีไส้ในสำหรับใส่เหยื่อทำจากไม้ไผ่สานมีรูปร่างสวยงาม ใช้สำหรับดักปลาไหลโดยเฉพาะ กู้อีจู้, สุ่มดักปลาไหล, ตุ้มใส่ปลาไหล, ไซดักปลาไหล, อีจู้ ก็เรียก
  5. ลางผ่อง
    หมายถึง บางพวก
  6. ลายตาแหลวห้อ
    หมายถึง ลายเฉลว
  7. ลายต่าง
    หมายถึง แตกต่างอย่างสิ้นเชิง หรือ เปลี่ยนแปลงไป
  8. ลำลี่ ลำไล
    หมายถึง เซ้าซี้ มากเรื่อง
  9. ลึ่ง
    หมายถึง คุ้นเคย
  10. ลื่นความ
    หมายถึง ไม่เชื่อฟัง
  11. ลุน
    หมายถึง ภายหลัง
  12. ลุนหมู่
    หมายถึง ทีหลังเพื่อน
  13. ลุ้ย
    หมายถึง อาการที่น้ำไหลช้าๆ เรียก น้ำไหลลุ้ยลุ้ย ยุ้ยยุ้ย ก็ว่า.
  14. ลูกกก
    หมายถึง ลูกคนโต
  15. ลูกหล้า
    หมายถึง ลูกคนสุดท้อง
  16. ลูกหล้า
    หมายถึง ลูกคนสุดท้อง.
  17. ล่วง
    หมายถึง ถือวิสาสะ
  18. เลาะ
    หมายถึง 1. แวะรายทาง, เตร็ดเตร่ไปเรื่อย 2. เลียบไปตามชายฝั่ง
  19. เลาะบ้าน
    หมายถึง ตะเวนตามหมู่บ้าน
  20. เลียบเมือง
    หมายถึง เสด็จรอบเมือง เรียก เลียบเมือง การเสด็จเลียบเมืองเป็นประเพณีของพระเจ้าแผ่นดินสมัยโบราณถือเป็นพระราชกรณียกิจ เพราะจะได้ตรวจดูไพร่ฟ้าประชาชนว่ามีความทุกข์สุขอย่างไร.
  21. เลือดดัง
    หมายถึง เลือดกำเดา
  22. เล้า
    หมายถึง ยุ้งฉาง
  23. แลน
    หมายถึง วิ่ง
  24. แลนหัน
    หมายถึง วิ่งเร็ว
  25. แล่น
    หมายถึง วิ่ง
  26. แล้วไป๊
    หมายถึง เสร็จหรือยัง
  27. โลง
    หมายถึง หีบสำหรับบรรจุศพ.
  28. โลด
    หมายถึง เลย
  29. โลด
    หมายถึง เลย ทีเดียว ไปเลย เรียก ไปโลด กินเลย เรียก กินโลด ทำเลย เรียก เฮ็ดโลด อย่างว่า เลื่อนเลื่อนฟ้าไหลหลีกดารา พุ้นเยอ ทังหลายเลยพร่ำแลงนอนพร้อม แม้งหนึ่งสูรย์เคี่ยนขึ้นบัวระพาใสส่อง คอนขี่ม้าไปพร้อมโลดคราว (ฮุ่ง).
  30. โล่ง
    หมายถึง พูดคล่องเรียก เว้าโล่ง ไม้ที่ผ่าง่ายไม่เสี้ยวเรียก ไม้โล่ง คิดออกซอกเห็นเรียก โล่งอกโล่งใจ หายใจสะดวกเรียก หันใจโล่ง ทางตรงเรียก ทางโล่ง อย่างว่า เมืองเมืองม้าอานคำห้างหิ่ง ทางโล่งเท้าขวางกว้างฮอดปะกัน (ฮุ่ง).
  31. โล้งโค้ง
    หมายถึง เขาควายที่ใหญ่และงองุ้มเรียก เรียก เขาโล้งโค้ง อย่างว่า บวชแต่น้อยบ่ฮู้แห่งคลองคหัสถ์ ผัดแต่ในคลองธรรมบ่อวดโตกะพอฮู้ บวชแต่น้อยบ่เห็นฮอยหมู่ แม่เห็นแต่บักโล้งโค้งหมูผู้หนวดยาว (บ.) อย่าได้โสกาดิ้นนำงาช้างเพิ่น ไห้ต่อเขาโล้งโค้งควายเถ้าแห่งเฮา (กลอน

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "ภาษาอีสาน หมวด ล"