พุทธสุภาษิต

พุทธสุภาษิต หมวด พ

พุทธสุภาษิต หมวด พ ตามที่เคยรู้จัก พุทธสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมพุทธสุภาษิต หมวด พ

พุทธสุภาษิต หมวด พ ตามที่เคยรู้จัก พุทธสุภาษิต มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. พบคนไม่รัก ก็เป็นทุกข์
  2. พรตของผู้บริสุทธิ์ มีการงานสะอาด ย่อมถึงพร้อมทุกเมื่อ
  3. พระจันทร์ พระอาทิตย์ สมณพราหมณ์ และ ฝั่งทะเล ต่างก็มีกำลัง, แต่สตรีมีกำลังยิ่งกว่ากำลัง (เหล่านั้น)
  4. พระตถาคตเจ้าย่อมเกิดขึ้น เพื่อประโยชน์แก่คนหมู่มาก คือเพื่อสตรี และ บุรุษผู้ทำตามคำสอน
  5. พระนิพพานที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว ไม่มีโศก ปราศจากธุลี เกษม เป็นที่ดับทุกข์ เป็นสุขดีหนอ
  6. พระพุทธเจ้าตรัสพระวาจาใด ย่อมเป็นคำปลอดภัย เพื่อบรรลุพระนิพพาน และเพื่อทำที่สุดแห่งทุกข์ พระวาจานั้นแล เป็นสูงสุดแห่งวาจาทั้งหลาย
  7. พระมหากษัตริย์ทรงเครื่องรบ ย่อมสง่า
  8. พระมหากษัตริย์เป็นผู้ประเสริฐสุด
  9. พระราชา เป็นประมุขของประชาชน
  10. พระราชา เป็นเครื่องปรากฏของแว่นแคว้น
  11. พระราชาจงรักษาประชาราษฎร์
  12. พระราชาดี ที่ทรงยินดีในธรรม, คนดี ที่มีปัญญา, เพื่อนดีที่ไม่ประทุษรายมิตร, สุข อยู่ที่ไม่ทำบาป
  13. พระอรหันต์ทั้งหลาย อยู่ในที่ใด คือบ้านก็ตาม ป่าก็ตาม ที่ลุ่มก็ตาม ที่ดอนก็ตาม ที่นั้นย่อมเป็นภูมิน่ารื่นรมย์
  14. พราหมณ์ .. พระอริยเจ้าย่อมสรรเสริญผู้ฆ่าความโกรธ ซึ่งมีโคนเป็นพิษ ปลายหวาน, เพราะคนตัดความโกรธนั้นได้แล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
  15. พวกมนุษย์ผู้อ่อนปัญญา ไม่เห็นอริยธรรม สนทนาถกเถียงกันทั้งวันทั้งคืน แต่ในเรื่องที่ว่า เงินของเรา ทองของเรา
  16. พวกโจร เป็นเสนียดของโลก
  17. พอใจเท่าที่มี เป็นความสุข
  18. พาลชนสร้างสมความชั่วทีละน้อย ก็เต็มเพียบไปด้วยความชั่ว
  19. พึงขจัดปัญหาที่เป็นเหตุถือมั่นทั้งปวง ทั้งเบื้องสูง เบื้องต่ำ เบื้องขวาง ท่ามกลาง, เพราะเขาถือมั่นสิ่งใด ๆ ในโลกไว้ มารย่อมติดตามเขาไป เพราะสิ่งนั้น ๆ
  20. พึงขวนขวายในเป้าหมายของตน
  21. พึงข่มคนที่ควรข่ม
  22. พึงชนะคนตระหนึ่ด้วยการให้
  23. พึงชนะคนพูดปดด้วยคำจริง
  24. พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
  25. พึงชนะคนโกรธด้วยความไม่โกรธ
  26. พึงชนะคนไม่ดีด้วยความดี
  27. พึงชนะความโกธรด้วยความไม่โกรธ
  28. พึงตัดความโกรธด้วยความข่มใจ
  29. พึงตัดความโกรธด้วยปัญญา
  30. พึงตามรักษาความสัตย์
  31. พึงทำกิจแก่ผู้ช่วยทำกิจ
  32. พึงนั่งใกล้ผู้เป็นพหูสูต และ ไม่พึงทำสุตะให้เสื่อม สุตะเป็นรากแห่งพรหมจรรย์ เพราะฉะนั้นควรเป็นผู้ทรงธรรม
  33. พึงนำสมบัติออกด้วยการให้, วัตถุที่ให้แล้วย่อมเป็นอันนำออกดีแล้ว, วัตถุที่ให้แล้วย่อมมีผลเป็นสุข, ส่วนวัตถุที่ยังไม่ได้ให้ก็ไม่เป็นอย่างนั้น
  34. พึงบากบั่นทำการให้มั่นคง
  35. พึงประกอบการค้าที่ชอบธรรม
  36. พึงประกอบธุระให้เหมาะแก่กาลเทียว
  37. พึงประพฤติธรรมให้สุจริต ไม่พึงประพฤติให้ทุจริต
  38. พึงประพฤติให้พอเหมาะพอดี
  39. พึงปรารถนาความไม่มีโรค ซึ่งเป็นลาภอย่างยิ่ง
  40. พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
  41. พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
  42. พึงป้องกันภัยที่ยังมาไม่ถึง
  43. พึงพินิจพิจารณาเรื่องราวโดยรอบคอบ
  44. พึงมองเห็นคนมีปัญญาที่ชอบชี้โทษ พูดจาข่มขี่ เสมือนเป็นผู้บอกขุมทรัพย์ พึงคบคนที่เป็นบัณฑิตเช่นนั้นแหละ เมื่อคบคนเช่นนั้นย่อมมีแต่ดี ไม่มีเสียเลย
  45. พึงยกย่องคนที่ควรยกย่อง
  46. พึงระแวง สิ่งที่ควรระแวง
  47. พึงระแวงสงสัยสิ่งที่ควรระแวงสงสัย
  48. พึงรักษาความดีของคนไว้ ดังเกลือรักษาความเค็ม
  49. พึงรักษาจิตของตน เหมือนคนประคองบาตรเต็มด้วยน้ำมัน
  50. พึงรักษาศีลในโลกนี้ เพราะศีลที่รักษาดีแล้ว เสพแล้วในโลกนี้ ย่อมน้อมนำมาซึ่งสมบัติทั้งปวง
  51. พึงละเว้นบาปทั้งหลาย
  52. พึงวิจัยเรื่องราวตลอดสายให้ถึงต้นตอ
  53. พึงศึกษาความสงบนั้นแล
  54. พึงศึกษาความสามัคคี ความสามัคคีนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลาย สรรญเสริญแล้ว ผู้ยินดีในสามัคคี ตั้งอยู่ในธรรม ย่อมไม่คลาดจากธรรมอันเกษมจากโยคะ
  55. พึงศึกษาวิเวก ซึ่งเป็นคุณอันสูงสุดของพระอริยะทั้งหลาย, ไม่ถือตัวว่าเป็นผู้ประเสริฐเพราะวิเวกนั้น ผู้นั้นแล ชื่อว่าปฏิบัติใกล้พระนิพพาน
  56. พึงสมาคมกับสัตบุรุษ พึงทำความสนิทสนมกับสัตบุรุษ ผู้นั้นรู้ทั่วถึงสัทธรรมของสัตบุรุษแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวง
  57. พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ
  58. พึงสละทรัพย์ เพื่อรักษาอวัยวะ พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต พึ่งสละ ทั้งทรัพย์ อวัยวะ และ ชีวิต เพื่อรักษาธรรม (ความถูกต้อง)
  59. พึงสละทรัพย์ เพื่อเห็นแก่อวัยวะ พึงสละอวัยวะ ในเมื่อจะรักษาชีวิต พึงสละได้หมด ทั้งอวัยวะ ทรัพย์ และ ชีวิต ในเมื่อคำนึงถึงธรรม
  60. พึงสละอวัยวะ ทรัพย์ และแม้ชีวิต เพื่อรักษาความถูกต้อง
  61. พึงสละอวัยวะ เพื่อรักษาชีวิต
  62. พึงเปล่งวาจางามเท่านั้น ไม่พึงเปล่งวาจาชั่วเลย การเปล่งวาจางามยังประโยชน์ให้สำเร็จ คนเปล่งวาจาชั่วย่อมเดือดร้อน
  63. พึงเป็นคนชอบไตร่ถามเพื่อหาความรู้
  64. พึงเป็นคนไม่เบียดเบียน (ผู้อื่น) และพึงกล่าวแต่คำสัตย์อย่างนี้ ละไปจากโลกนี้ไปสู่โลกอื่นแล้ว ย่อมไม่เศร้าโศก
  65. พึงเป็นผู้ฉลาดในกระบวนจิตของตน
  66. พึงเป็นผู้พอใจ และ ประทับใจ ในพระนิพพานที่บอกไม่ได้ ผู้มีจิตไม่ติดกาม ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสอยู่เบื้องบน
  67. พึงเป็นผู้ใคร่ธรรม ทรงไว้ซึ่งสุตะเป็นผู้สอบถาม เข้าไปนั่งใกล้ท่านผู้มีศีล และเป็นพหุสูตโดยเคารพ
  68. พึงเพิ่มพูนความสละออกให้มากไว้
  69. พึงเลือกเฟ้นธรรมโดยแยบคาย
  70. พึงแนะนำตักเตือนเถิด พึงพร่ำสอนเถิด พึงห้ามปรามจากความชั่วเถิด คนที่ทำเช่นนั้น ย่อมเป็นที่รักของสัตบุรุษ และไม่เป็นที่รักของอสัตบุรุษ
  71. พึงแสวงหาทรัพย์โดยทางชอบธรรม
  72. พูดดี เป็นมงคลอย่างสูงสุด
  73. พูดอย่างใด ควรทำอย่างนั้น
  74. พูดอย่างใด ทำอย่างนั้น
  75. พูดอย่างใด พึงทำอย่างนั้น
  76. พูดอย่างไร ทำได้อย่างนั้น
  77. เพราะความไว้ใจภัยจึงตามมา
  78. เพราะฉะนั้น สาธุชน สดับคำสอน ของท่านผู้ไกลกิเลสแล้ว พึงกำจัดความร่ำไรรำพันเสีย เห็นคนล่วงลับจากไป ก็ทำใจให้ได้ว่า ผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เราจะขอให้เป็นอยู่อีกย่อมไม่ได้
  79. เพราะฉะนั้น ในชีวิตที่เหลืออยู่นี้ ทุกคนควรกระทำกิจหน้าที่ และไม่พึงประมาท
  80. เพราะนักปราชญ์มีสติตั้งมั่นในธรรมวินัยนี้ ไม่เสพกามและบาป พึงละกามพร้อมทั้งทุกข์ได้ ท่านจึงกล่าวบุคคลนั้นว่า ผู้ไปทวนกระแส
  81. เพราะน้ำหยดทีละน้อย หม้อน้ำก็ยังเต็มได้
  82. เพียงเห็นกันชั่วครู่ชั่วยาม ไม่พึงไว้วางใจ

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "พุทธสุภาษิต หมวด พ"

 พุทธสุภาษิตที่แนะนำมาใหม่