พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ห

คำในภาษาไทย หมวด ห ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ห

คำในภาษาไทย หมวด ห ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๔๑ อยู่ในพวกอักษรสูง เช่น หา เห็นใช้นำอักษรตํ่าที่เป็นอักษรเดี่ยวให้มีเสียงสูงและไม่ออกเสียงตัว ห เช่น หงอย หนา.
  2. หก
    หมายถึง ก. อาการที่ส่วนเบื้องสูงของร่างกาย ของภาชนะ หรือของสิ่งใดสิ่งหนึ่งเอียงลง เทลง ในทันใดจากที่เดิม เช่น หกต่ำหกสูง น้ำหก ข้าวหก, โดยปริยายเรียกอาการเช่นนั้น เช่น กระดานหก.
  3. หก
    หมายถึง น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Psittacidae หัวโต ปากหนาใหญ่ ตัวสีเขียว หางสั้น อยู่รวมกันเป็นฝูง ทำรังในโพรงไม้ มักเกาะห้อยหัวลง กินผลไม้และเมล็ดพืช ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ หกใหญ่ (Psittinus cyanurus) หกเล็กปากแดง (Loriculus vernalis) และหกเล็กปากดำ (L. galgulus).
  4. หก
    หมายถึง น. จำนวนห้าบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๖ ตกในราวเดือนพฤษภาคม.
  5. หกคว่ำ
    หมายถึง ก. อาการที่ภาชนะเอียงคว่ำลง; ล้มคว่ำ, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ คะมำหงาย เป็น หกคว่ำคะมำหงาย ซึ่งมีความหมายคล้ายกับ ล้มคว่ำคะมำหงาย.
  6. หกคะเมน
    หมายถึง ก. ล้มหัวทิ่ม เช่น หกคะเมนลงไปข้างท้องร่อง, เอาหัวหรือมือทั้ง ๒ ข้างปักลงที่พื้น ยกเท้าชี้ขึ้นข้างบน แล้วม้วนตัวไปข้างหลัง, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ตีลังกา เป็น หกคะเมนตีลังกา.
  7. หกบท
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  8. หกล้ม
    หมายถึง ก. ล้มลง, ทรุดตัวลงเพราะเสียการทรงตัว.
  9. หกหัน
    หมายถึง ก. หันกลับ, หมุนกลับ.
  10. หกเหียน
    หมายถึง น. เรียกไม้ดัดแบบหนึ่งที่มีหุ่นหักลงดิน แล้ววกกลับขึ้นมา ว่า ไม้หกเหียน.
  11. หกโล่
    หมายถึง [หกกะโล่] ก. หกกลิ้ง. (ต. โล่ ว่า กลิ้ง).
  12. หง
    หมายถึง ว. มีสีแดงเจือสีขาวทำให้สีแดงนั้นอ่อนลง เช่น หงเสน คือ สีแดงเสนผสมสีขาว, หงชาด คือ สีแดงชาดผสมสีขาว หงดิน คือ สีแดงเลือดหมูผสมสีขาว.
  13. หงก ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่หัวหงุบลงแล้วเผยอขึ้นเร็ว ๆ, อาการที่เดินโดยทำหัวเช่นนั้น เรียกว่า เดินหงก ๆ.
  14. หงส,หงส-,หงส์,หงส์
    หมายถึง [หงสะ-, หง] น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม; ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูลสูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดินของหงส์. (ป., ส. หํส).
  15. หงสคติ
    หมายถึง [หงสะคะติ] น. ท่าเดินอย่างหงส์ คือ มีลักษณะงดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่า.
  16. หงสบาท
    หมายถึง [หงสะบาด] ว. มีสีคล้ายเท้าหงส์ คือ สีแดงปนเหลือง, สีแดงเรื่อ หรือ สีแสด ก็ว่า. (ป.).
  17. หงสรถ
    หมายถึง [หงสะรด] น. พระผู้มีหงส์เป็นพาหนะ คือ พระพรหม.
  18. หงสราช
    หมายถึง [หงสะราด] น. พญาหงส์.
  19. หงสลีลา,หงส์ลีลา,หงส์ลีลา
    หมายถึง [หงสะลีลา, หงลีลา] น. ท่าเดินอย่างหงส์.
  20. หงสโปดก
    หมายถึง [หงสะโปดก] (วรรณ) น. ลูกหงส์, เขียนเป็น หงษโปฎก ก็มี เช่น ดุจหงษโปฎก กระเหว่าเหล่านก พลัดแม่สูญหาย. (ม. คำหลวง มัทรี).
  21. หงส์
    หมายถึง [หง] น. ชื่อนกจำพวกเป็ดในวงศ์ Anatidae ลำตัวใหญ่ คอยาว มีหลายชนิด เช่น หงส์ขาว (Cygnus olor) หงส์ดำ (C. atratus).
  22. หงส์ทอง
    หมายถึง น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  23. หงส์ร่อนมังกรรำ
    หมายถึง น. ชื่อพิธีกรรมทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่งที่หญิงทำเพื่อให้ผัวหลงรักตัวคนเดียว.
  24. หงส์ลีลา
    หมายถึง [หงลีลา] น. ชื่อท่ารำท่าหนึ่งอยู่ในลำดับว่า นาคาม้วนหาง กวางเดินดง หงส์ลีลา. (ฟ้อน).
  25. หงส์หยก
    หมายถึง น. ชื่อนกปากขอขนาดเล็กชนิด Melopsittacus undulatus ในวงศ์ Psittacidae ตัวมีหลายสี เช่น เขียว เหลือง ฟ้า ขาว ปากสีนํ้าตาล กินเมล็ดพืช มีถิ่นกำเนิดในประเทศออสเตรเลีย.
  26. หงส์แล่น
    หมายถึง น. เครื่องประดับสันหลังคาหรือส่วนฐานของอาคาร ทำด้วยปูน ไม้ หรือหิน เป็นรูปหงส์เรียงกันเป็นแถว.
  27. หงอ
    หมายถึง ว. อาการที่กลัวจนตัวงอ, อาการที่กลัวลานหรือครั่นคร้ามไม่กล้าสู้, ในคำว่า กลัวหงอ, ใช้ว่า หงอก๋อ ก็มี.
  28. หงอก
    หมายถึง [หฺงอก] ว. ขาว (ใช้แก่ผมหรือหนวดเคราเป็นต้นที่เปลี่ยนจากสีเดิมเป็นสีขาว).
  29. หงองแหงง
    หมายถึง [หฺงองแหฺงง] ก. ระหองระแหง, ไม่ลงรอยกัน.
  30. หงอด,หงอด ๆ
    หมายถึง [หฺงอด] ว. เงื่อง, ช้า; ไม่ใคร่จะหาย (ใช้แก่การเจ็บไข้ได้ป่วย); อาการบ่นด้วยความไม่พอใจ.
  31. หงอน
    หมายถึง [หฺงอน] น. ขนหรือเนื้อที่งอกขึ้นบนหัวไก่และนกบางชนิด, โดยปริยายใช้เรียกของที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ค้อนหงอน ขวานหงอน.
  32. หงอนไก่
    หมายถึง น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Celosia argentea L. var. cristata Kuntze ในวงศ์ Amaranthaceae ดอกสีแดงลักษณะคล้ายหงอนไก่. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Heritiera littoralis Ait. ในวงศ์ Sterculiaceae ผลเป็นสัน. (๓) ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Cnestis palala Merr. ในวงศ์ Connaraceae ดอกสีแดง ลักษณะคล้ายหงอนไก่, หงอนไก่ป่า ก็เรียก.
  33. หงอนไก่ป่า
    หมายถึง ดู หงอนไก่ (๓).
  34. หงอย
    หมายถึง [หฺงอย] ว. ซึมเซา, ไม่ชุ่มชื่น, ไม่กระปรี้กระเปร่า, ไม่ร่าเริง.
  35. หงอยก๋อย
    หมายถึง ว. ซบเซา, จับเจ่า, เซื่องซึม, ง่วงเหงา.
  36. หงอยเหงา
    หมายถึง [หฺงอยเหฺงา] ว. เปลี่ยวใจไม่กระปรี้กระเปร่า, เหงาหงอย ก็ว่า.
  37. หงัก
    หมายถึง ว. มาก เช่น แก่หงัก, งั่ก ก็ว่า.
  38. หงัก ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่สั่นสะท้าน; อาการที่เดินสั่น ๆ มา, งั่ก ๆ ก็ว่า.
  39. หงับ ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่ปากอ้าและหุบลงโดยไม่มีเสียง เช่น ทำปากหงับ ๆ, อาการที่เคี้ยวของ เช่น เคี้ยวขนมหงับ ๆ.
  40. หงาย
    หมายถึง ก. พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หงายหน้า หงายมือ หงายไพ่, ตรงข้ามกับ ควํ่า. ว. อาการที่พลิกเอาด้านหน้าขึ้น เช่น หน้าหงาย; เรียกคืนที่มีดวงจันทร์ส่องแสงสว่าง ว่า คืนเดือนหงาย.
  41. หงายท้อง,หงายหลัง
    หมายถึง (สำ) ก. ผิดไปจากที่คาดหวังไว้อย่างมาก เช่น มั่นใจว่าจะต้องสอบได้แน่ แต่พอไปดูประกาศผลการสอบ ไม่พบชื่อตัวเอง ก็หงายท้องกลับมา.
  42. หงายบาตร
    หมายถึง (สำ) น. สังฆกรรมที่คณะสงฆ์ประกาศยกโทษให้แก่คฤหัสถ์ที่เคยถูกประกาศคว่ำบาตรมาแล้ว ด้วยการยอมรับบิณฑบาตเหมือนเดิม.
  43. หงำ
    หมายถึง [หฺงำ] ว. มากจนเลอะเทอะ เช่น เมาหงำ แก่หงำ.
  44. หงำเหงอะ,หงำเหงือก
    หมายถึง [หฺงำเหฺงอะ, หฺงำเหฺงือก] ว. หลงจนจำอะไรไม่ได้ (ใช้แก่คนที่แก่มาก).
  45. หงิก
    หมายถึง ว. งอที่ปลาย เช่น มือหงิก คือ มือเหยียดนิ้วไม่ออก, ใบไม้หงิก คือ ใบไม้ปลายงอ; โดยปริยายหมายความว่า อาการที่เหนื่อยหน่ายเนื่องจากถูกดุ ถูกใช้ หรือทำงานหนักมากเป็นต้น เช่น ถูกแม่ดุเสียหงิกไปเลย, อาการที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า.
  46. หงิกงอ,หงิก ๆ งอ ๆ
    หมายถึง ว. คดงอไปมา เช่น ใบพริกถูกมดคันไฟขึ้นเลยหงิกงอ ใบโกรต๋นบางชนิดหงิก ๆ งอ ๆ ตามธรรมชาติ.
  47. หงิง ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่เปล่งเสียงคราง ร้อง ร้องไห้ หรือร้องเพลงเบา ๆ เช่น คนไข้ครางหงิง ๆ เธอร้องไห้หงิง ๆ เขาครวญเพลงหงิง ๆ.
  48. หงิม,หงิม ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่แสดงท่าทางเฉย ๆ ไม่ค่อยพูด.
  49. หงิม ๆ หยิบชิ้นปลามัน
    หมายถึง (สำ) น. ลักษณะของบุคคลที่มีท่าทางหงิม ๆ แต่ความจริงเป็นคนฉลาด มีวิธีเลือกเอาดี ๆ ไปได้.
  50. หงึก ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่พยักหน้าเป็นการรับรู้, งึก ๆ ก็ว่า.
  51. หงึกหงัก
    หมายถึง ว. ติด ๆ ขัด ๆ เช่น วันนี้สมองตื้อ จะเขียนอะไรก็ติดหงึกหงักไปหมด.
  52. หงุงหงิง,หงุง ๆ หงิง ๆ
    หมายถึง ว. มีเสียงพูดกันเบา ๆ เช่น เด็ก ๆ คุยกันหงุงหงิง หนุ่มสาวคุยกันหงุง ๆ หงิง ๆ.
  53. หงุดหงิด
    หมายถึง ว. มีอารมณ์เสียอยู่เสมอ ๆ เช่น เขาเป็นคนหงุดหงิดง่าย, มีอารมณ์เสียเพราะไม่ได้ดังใจหรือไม่เป็นไปตามกำหนดเป็นต้น.
  54. หงุบ,หงุบ ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่ฟุบหัวลงเมื่อเวลาง่วงนอน เช่น เขานั่งโงกหงุบ.
  55. หงุบหงับ
    หมายถึง ว. สัปหงก, อาการที่นั่งโงกหัวหงุบลงแล้วเงยขึ้น; อาการที่เคี้ยวอาหารด้วยฟันปลอมที่สบกันไม่สนิท มักมีเสียงดังเช่นนั้น.
  56. หงุ่ย
    หมายถึง ว. อาการที่ทำสิ่งใดก็ทำเรื่อยไปแต่สิ่งนั้น, เพลินในการทำการงาน, ขลุกขลุ่ย.
  57. หง่อง ๆ
    หมายถึง ว. อาการที่เดินขย่มตัวหัวสั่นหัวคลอนไปตามลำพัง, โดยปริยายหมายถึงเดินอยู่ตามลำพัง; เสียงดังเช่นเสียงฆ้องกระแต.
  58. หง่อม
    หมายถึง [หฺง่อม] ว. แก่มาก ในคำว่า แก่หง่อม.
  59. หง่อย
    หมายถึง ว. เชื่องช้า, ไม่ฉับไว, เงื่อง.
  60. หง่าง
    หมายถึง ว. เสียงอย่างเสียงระฆังดัง, มักใช้ว่า หง่างเหง่ง หรือ เหง่งหง่าง.
  61. หง่าว
    หมายถึง ว. เสียงอย่างเสียงแมวตัวผู้ร้องหาแมวตัวเมีย, โดยปริยายหมายความว่า โดดเดี่ยว, เหงาอยู่ตามลำพัง, เช่น ปล่อยให้นั่งหง่าวอยู่คนเดียว. น. เรียกว่าวชนิดหนึ่งที่มีเสียงดังเช่นนั้นว่า ว่าวหง่าว.
  62. หญิง
    หมายถึง น. คนที่มีมดลูก, ผู้หญิง ก็ว่า.
  63. หญิงงามเมือง
    หมายถึง น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิงโสเภณี นครโสเภณี หญิงนครโสเภณี หรือหญิงหากิน ก็ว่า.
  64. หญิงสามผัว
    หมายถึง (สำ) น. ผู้หญิงที่มีสามีถึง ๓ คน, ใช้พูดตำหนิเหยียดหยามว่าเป็นหญิงไม่ดี.
  65. หญิงหากิน
    หมายถึง น. หญิงที่หาเลี้ยงชีพด้วยการค้าประเวณี, โสเภณี หญิงโสเภณี นครโสเภณี หญิงนครโสเภณี หรือ หญิงงามเมือง ก็ว่า.
  66. หญิงโสด
    หมายถึง น. หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน, สาวโสด ก็ว่า.
  67. หญิบ
    หมายถึง [หฺยิบ] ว. ญิบ, สอง, เช่น ถ้วนหญิบหมื่นเป็นบริพาร. (ม. คำหลวง ทศพร).
  68. หญ้า
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลาขี้ยอก. (ดู ขี้ยอก).
  69. หญ้า
    หมายถึง น. ชื่อเรียกไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าคา (Imperata cylindrica Beauv.) หญ้าตีนกา (Eleusine indica Gaertn.) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon Pers.); ใช้อนุโลมเรียกพรรณไม้บางชนิดที่มิได้อยู่ในวงศ์ Gramineae เช่น หญ้าเกล็ดหอย หญ้างวงช้าง.
  70. หญ้ากระจาม
    หมายถึง ดู กระต่ายจาม (๑).
  71. หญ้าขัด
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Sida วงศ์ Malvaceae ดอกสีเหลือง เช่น ชนิด S. rhombifolia L. ใช้ทำยาได้, ขัดมอน คัดมอน หรือ ยุงปัดแม่ม่าย ก็เรียก.
  72. หญ้าขัดหลวง
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Sida subcordata Span. ในวงศ์ Malvaceae, ขัดมอนหลวง หรือ ขัดมอนตัวผู้ ก็เรียก.
  73. หญ้าขัดใบยาว
    หมายถึง น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Sida acuta Burm.f. ในวงศ์ Malvaceae, ข้าวต้ม ยุงกวาด หรือ ยุงปัด ก็เรียก.
  74. หญ้างวงช้าง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Heliotropium indicum R. Br. ในวงศ์ Boraginaceae ดอกสีม่วงอ่อนออกเป็นช่อลักษณะคล้ายงวงช้าง, แพว ก็เรียก.
  75. หญ้าจาม
    หมายถึง ดู กระต่ายจาม (๑).
  76. หญ้าถอดปล้อง
    หมายถึง น. ชื่อเฟินชนิด Equisetum debile Roxb. ex Vauch. ในวงศ์ Equisetaceae ลำต้นเป็นปล้อง ๆ มักขึ้นตามรอยแตกของกำแพง ใช้ทำยาได้.
  77. หญ้าน้ำดับไฟ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Lindenbergiaphilippensis (Cham.) Benth. ในวงศ์ Scrophulariaceae ต้นและใบมีขน ใบออกตรงข้ามกัน ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อยาว ชอบขึ้นในที่ที่เป็นหินปูน.
  78. หญ้าบัว
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Xyris indica L. ในวงศ์ Xyridaceae ขึ้นตามทุ่งนาและที่ลุ่ม ดอกสีเหลือง ใช้ทำยาได้.
  79. หญ้าปากคอก
    หมายถึง (สำ) ว. สะดวก, ง่าย, ไม่มีอะไรยุ่งยาก, เช่น นี่เป็นเรื่องหญ้าปากคอก.
  80. หญ้าปากคอก
    หมายถึง ดู ตีนกา ๓.
  81. หญ้าปีนตอ
    หมายถึง ดู ปิ่นตอ.
  82. หญ้าฝรั่น
    หมายถึง [-ฝะหฺรั่น] น. ชื่อเรียกยอดเกสรเพศเมียแห้งของไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Crocus sativus L. ในวงศ์ Iridaceae ใช้ทำยาและเครื่องหอม. (อาหรับ za’faran; อ. saffron).
  83. หญ้าพันงู
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในวงศ์ Amaranthaceae ดอกมีกลีบรองแข็งคล้ายหนาม ใช้ทำยาได้ คือ หญ้าพันงูขาว (Achyranthes aspera L.) ลำต้นตั้ง ใบสีเขียว และ หญ้าพันงูแดง [Cyathula prostrata (L.) Blume] กิ่งทอดราบไปตามพื้นดิน ใบสีแดง ๆ.
  84. หญ้ายองไฟ
    หมายถึง น. เขม่าไฟที่ติดหยากไย่ เป็นเส้นห้อยอยู่ตามหลังคาครัวไฟ.
  85. หญ้ายายเภา
    หมายถึง ดู ลิเภา.
  86. หญ้ารกช้าง
    หมายถึง ดู กะทกรก (๒).
  87. หญ้ารากขาว
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Knoxia brachycarpa R. Br. ในวงศ์ Rubiaceae ดอกเล็ก สีชมพู ใช้ทำยาได้.
  88. หญ้าลิเภา
    หมายถึง ดู ลิเภา.
  89. หญ้าหนวดแมว
    หมายถึง ดู พยับเมฆ ๒.
  90. หญ้าเกล็ดหอย
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hydrocotyle sibthorpioides Lam. ในวงศ์ Umbelliferae ใบกลม ๆ คล้ายเกล็ดหอย.
  91. หญ้าเพ็ก
    หมายถึง ดู เพ็ก.
  92. หญ้าแพรก
    หมายถึง ชื่อหญ้าชนิด Cynodon dactylon (L.) Pers. ในวงศ์ Gramineae ใช้ในพิธีไหว้ครูและใช้ทำยาได้
  93. หญ้าแพรก
    หมายถึง สามัญชน, คนธรรมดา
  94. หญ้าแห้วหมู
    หมายถึง ดู แห้วหมู.
  95. หญ้าใต้ใบ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ล้มลุก ๒ ชนิดในสกุล Phyllanthus วงศ์ Euphorbiaceae คือ ชนิด P. amarus Schum. et Thonn. ทั้งต้นรสขม ใบมีนวล ผลเกลี้ยง และชนิด P. urinaria L. ใบอ่อนสีแดง ๆ ผลขรุขระ ทั้ง ๒ ชนิด ใช้ทำยาได้.
  96. หด
    หมายถึง ก. สั้นเข้า, ย่นเข้า, เช่น เสื้อหด, น้อยลง เช่น ทุนหายกำไรหด; ชักกลับ เช่น หดมือ หดเท้า, โดยปริยายหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กลัวจนหัวหด.
  97. หดหัว
    หมายถึง ก. ชักหัวกลับ, โดยปริยายหมายความว่า กลัวหรือหลบไม่ยอมโผล่หน้าออกไป เช่น มัวหดหัวอยู่แต่ในบ้าน.
  98. หดหาย
    หมายถึง ก. น้อยลง, หมดไป, เช่น ยิ่งค้าขายนานวันเข้า ทุนรอนก็ยิ่งหดหายไป.
  99. หดหู่
    หมายถึง ก. ห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน, สลดใจ, เช่น เห็นสภาพบ้านเมืองทรุดโทรมแล้วใจคอหดหู่. ว. อาการที่รู้สึกห่อเหี่ยวไม่ชื่นบาน เช่น วันนี้เขาพบแต่เรื่องเศร้า ๆ จึงรู้สึกหดหู่.
  100. หตะ
    หมายถึง [หะ-] ก. ตี, ฆ่า, ทำลาย. (ป., ส.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ห"