พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ส

คำในภาษาไทย หมวด ส ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ส

คำในภาษาไทย หมวด ส ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๔๐ เป็นพวกอักษรสูง ใช้ได้ทั้งเป็นพยัญชนะตัวต้นและตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น สวย สงสาร สวิตช์ รส สัมผัส สวิส.

  2. หมายถึง คำประกอบหน้าคำอื่นที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บ่งความว่า กอบด้วย, พร้อมด้วย, เช่น สเทวก ว่า พร้อมด้วยเทวดา. (ป., ส.).
  3. สก
    หมายถึง (โบ) ก. สะเด็ดนํ้า เช่น เอาข้าวที่ซาวนํ้าแล้วใส่ในตะแกรงเพื่อให้นํ้าแห้ง เรียกว่า สก.
  4. สก
    หมายถึง น. ผม. (ข. สก่).
  5. สก,สก-,สก-
    หมายถึง [สะกะ-] ว. ของตน. (ป.; ส. สฺวก).
  6. สกฏ,สกฏ-,สกฏะ
    หมายถึง [สะกะตะ-] น. เกวียน. (ป.).
  7. สกฏภาระ
    หมายถึง [-พาระ] น. ของบรรทุกเกวียน.
  8. สกทาคามิผล,สกิทาคามิผล
    หมายถึง [สะกะ-, สะกิ-] น. ธรรมที่พระสกทาคามีได้บรรลุ. (ป. สกทาคามิผล, สกิทาคามิผล; ส. สกฺฤทาคามินฺ + ผล). (ดู ผล).
  9. สกทาคามิมรรค,สกิทาคามิมรรค
    หมายถึง [-มัก] น. ทางปฏิบัติที่ให้สำเร็จเป็นพระสกทาคามี. (ส. สกฺฤทาคามินฺ + มารฺค; ป. สกทาคามิมคฺค, สกิทาคามิมคฺค). (ดู มรรค).
  10. สกทาคามี,สกิทาคามี
    หมายถึง [สะกะ-, สะกิ-] น. “ผู้มาสู่กามภพอีกครั้งหนึ่ง” เป็นชื่อพระอริยบุคคลชั้นที่ ๒ ใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีก็เรียกสั้น ๆ ว่า พระสกทาคา หรือ พระสกิทาคา. (ป.; ส. สกฺฤทาคามินฺ).
  11. สกนธ์
    หมายถึง [สะกน] น. ขันธ์, กอง, ส่วนร่างกาย, ร่างกาย. (ส.; ป. ขนฺธ).
  12. สกปรก
    หมายถึง [สกกะปฺรก] ว. เปรอะหรือเปื้อนด้วยสิ่งที่ถือว่าน่าเกลียดหรือที่ไม่พึงประสงค์ เช่น เสื้อผ้าสกปรก เนื้อตัวสกปรกด้วยฝุ่นละออง, ขุ่นมัว, ไม่สะอาดหมดจด, เช่น น้ำสกปรก จิตใจสกปรก, ลักษณะกิริยาวาจาที่แสดงออกอย่างหยาบคาย เช่น พูดจาสกปรก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เขาเป็นคนสกปรก เล่นสกปรก.
  13. สกรณีย์
    หมายถึง [สะกะระ-] (แบบ) น. ผู้ยังมีหน้าที่จะต้องทำ. (ป.).
  14. สกรรจ์
    หมายถึง [สะกัน] ว. ร้าย, ดุร้าย, เก่งกาจ, แข็งแรง, โดยมากใช้ ฉกรรจ์.
  15. สกรรถ
    หมายถึง [สะกัด] น. เรียกคำที่เพิ่มเข้าข้างหลังคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว มีความหมายคงเดิม หรือหมายถึงพวกหรือหมู่ ว่า คำสกรรถ เช่น อากร (ในคำเช่น นรากร ประชากร) อาการ (ในคำเช่น คมนาการ ทัศนาการ) ชาติ (ในคำเช่น มนุษยชาติ ติณชาติ) ประเทศ (ในคำเช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ).
  16. สกรรมกริยา
    หมายถึง [สะกำกฺริยา, สะกำกะริยา] (ไว) น. กริยาที่มีกรรมหรือผู้ถูกกระทำมารับ เช่น ดื่มน้ำ เตะฟุตบอล.
  17. สกล
    หมายถึง [สะกน] ว. สากล. (ป., ส.).
  18. สกล-
    หมายถึง [สะกนละ-] ว. สากล. (ป., ส.).
  19. สกลมหาสังฆปริณายก
    หมายถึง [สะกนมะหาสังคะปะรินายก] (กฎ) น. ตำแหน่งของสมเด็จพระสังฆราชในฐานะที่ทรงเป็นประมุขแห่งคณะสงฆ์ทั้งปวง ทรงมีอำนาจบัญชาการคณะสงฆ์ ทรงตราพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราชโดยไม่ขัดหรือแย้งกับกฎหมาย พระธรรมวินัย และกฎมหาเถรสมาคม.
  20. สกลโลก
    หมายถึง น. ทั้งโลก, โลกทั้งสิ้น, ทั่วโลก.
  21. สกวาที
    หมายถึง น. ผู้กล่าวถ้อยคำฝ่ายตน คือ ฝ่ายเสนอหรือฝ่ายถาม, คู่กับ ปรวาที. (ป.).
  22. สกัด
    หมายถึง ก. กั้น, ขวาง, เช่น สกัดหน้า; ตัดหรือกะเทาะของแข็งเช่นเหล็ก หิน ให้เป็นร่อง รอย ทะลุ หรือให้ขาดจากกัน, เรียกเหล็กที่ใช้ตัดหรือกะเทาะของแข็งเช่นนั้นว่า เหล็กสกัด; เค้นหรือแยกเอาออกมา เช่น สกัดนํ้ามัน สกัดน้ำหอมจากดอกกุหลาบ. (ข.).
  23. สกัดแคร่
    หมายถึง น. โคลงทวารประดับ.
  24. สกา
    หมายถึง น. เครื่องเล่นการพนันอย่างหนึ่งใช้ลูกบาศก์ทอดแล้วเดินตัวสกาตามแต้มลูกบาศก์. (เทียบทมิฬ บาสกา).
  25. สกาว
    หมายถึง [สะกาว] ว. ขาว, สะอาด, หมดจด.
  26. สกิทาคามี
    หมายถึง น. สกทาคามี.
  27. สกี
    หมายถึง น. แผ่นไม้แคบ ๆ ๒ แผ่น ปรกติยาวแผ่นละ ๑.๕-๒.๔ เมตร มีที่สำหรับสวมเท้าผู้เล่น ใช้ในการเล่นสกี; กีฬาอย่างหนึ่ง ผู้เล่นยืนบนแผ่นสกี แล้วไถตัวให้ลื่นไถลลงไปตามเนินเขาที่มีหิมะปกคลุม โดยมีไม้คู่หนึ่งสำหรับยันหรือถ่อเวลาเล่น. (อ. ski).
  28. สกีน้ำ
    หมายถึง น. กีฬาอย่างหนึ่งคล้ายสกี แต่เล่นในนํ้า ใช้เรือยนต์ลาก. (อ. water ski).
  29. สกุณ
    หมายถึง น. นก. (ป.; ส. ศกุน).
  30. สกุณา
    หมายถึง (กลอน) น. นก.
  31. สกุณี
    หมายถึง (กลอน) น. นก.
  32. สกุน
    หมายถึง น. รก, ราชาศัพท์ใช้ว่า พระสกุน.
  33. สกุนต์
    หมายถึง น. นก. (ป.; ส. ศกุนฺต).
  34. สกุล
    หมายถึง [สะกุน] น. ตระกูล, วงศ์, เชื้อสาย, เผ่าพันธุ์; เชื้อชาติผู้ดี เช่น เป็นคนมีสกุล ผู้ดีมีสกุล.
  35. สกุลรุนชาติ
    หมายถึง [สะกุนรุนชาด] น. ตระกูลผู้ดี เช่น เขาเป็นคนมีสกุลรุนชาติ.
  36. สขะ,สขา,สขิ
    หมายถึง (แบบ) น. เพื่อน, สหาย. (ป., ส.).
  37. สง
    หมายถึง ก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากสง.
  38. สงกร
    หมายถึง [-กอน] (แบบ) น. การปะปน, การคาบเกี่ยว. (ป.; ส. สํกร).
  39. สงกรานต์
    หมายถึง [-กฺราน] น. ชื่อสัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์สีรุ้ง ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ในทะเล ช่วงประมาณเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์.
  40. สงกรานต์
    หมายถึง [-กฺราน] น. เทศกาลเนื่องในการขึ้นปีใหม่อย่างเก่า ซึ่งกำหนดตามสุริยคติ ปรกติตกวันที่ ๑๓-๑๔-๑๕ เมษายน วันที่ ๑๓ คือวันมหาสงกรานต์ วันที่ ๑๔ คือวันเนา และวันที่ ๑๕ คือวันเถลิงศก. (ส. สงฺกฺรานฺติ).
  41. สงกา
    หมายถึง น. ความสงสัย. (ป. สงฺกา; ส. ศงฺกา).
  42. สงคร
    หมายถึง [-คอน] (แบบ) น. ความตกลง, สัญญา, ความผัดเพี้ยน. (ป. สงฺคร; ส. สํคร).
  43. สงคราม
    หมายถึง [-คฺราม] น. การรบใหญ่ที่มีคนจำนวนมากต่อสู้ฆ่าฟันกัน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สงครามชีวิต สงครามปาก. (ส. สํคฺราม; ป. สงฺคาม).
  44. สงครามกลางเมือง
    หมายถึง น. สงครามระหว่างชนที่อาศัยอยู่ในประเทศเดียวกัน.
  45. สงครามนิวเคลียร์
    หมายถึง น. สงครามที่ใช้อาวุธนิวเคลียร์.
  46. สงครามเย็น
    หมายถึง น. การต่อสู้ระหว่างประเทศต่อประเทศโดยไม่ใช้อาวุธ แต่ใช้อำนาจอื่นแทน เช่น อำนาจทางการเมือง อำนาจทางเศรษฐกิจ.
  47. สงครามโลก
    หมายถึง น. สงครามใหญ่ที่มีประเทศมหาอำนาจเป็นคู่สงคราม.
  48. สงค์
    หมายถึง น. ความข้องอยู่, ความเกี่ยวพัน, การติดอยู่. (ป. สงฺค; ส. สํค).
  49. สงฆ์
    หมายถึง น. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคำ พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไปร่วมกันทำสังฆกรรม แต่จำนวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมแต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวดพิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวดอัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่าจำนวนที่กำหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจำนวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).
  50. สงบ
    หมายถึง [สะหฺงบ] ก. ระงับ เช่น สงบจิตสงบใจ สงบสติอารมณ์ สงบศึก, หยุดนิ่ง เช่น คลื่นลมสงบ พายุสงบ, กลับเป็นปรกติ เช่น เหตุการณ์สงบแล้ว, ปราศจากสิ่งรบกวน เช่น จิตใจสงบ, ไม่กำเริบ เช่น อาการไข้สงบลง ภูเขาไฟสงบ, ไม่วุ่นวาย เช่น บ้านเมืองสงบปราศจากโจรผู้ร้าย.
  51. สงบปากสงบคำ
    หมายถึง ก. นิ่ง, ไม่พูด, เช่น เขาเป็นคนสงบปากสงบคำ, ไม่โต้เถียง เช่น สงบปากสงบคำเสียบ้าง อย่าไปต่อล้อต่อเถียงเขาเลย.
  52. สงบราบคาบ
    หมายถึง ก. เรียบร้อยปราศจากเสี้ยนหนามหรือความกระด้างกระเดื่อง เช่น บ้านเมืองสงบราบคาบ.
  53. สงบเงียบ
    หมายถึง ก. ปราศจากเสียงรบกวน เช่น เด็ก ๆ ไม่อยู่บ้าน ทำให้บ้านสงบเงียบ.
  54. สงบเสงี่ยม
    หมายถึง ก. ระงับกิริยาวาจาด้วยความสุภาพเรียบร้อย เช่น เวลาอยู่ต่อหน้าผู้ใหญ่ต้องสงบเสงี่ยมเจียมตัว.
  55. สงวน
    หมายถึง [สะหฺงวน] ก. ถนอมรักษาไว้ เช่น เสียสินสงวนศักดิ์ไว้ วงศ์หงส์ (โลกนิติ) สงวนมรดกของชาติ, หวงแหนไว้ เช่น สงวนเนื้อสงวนตัว สงวนลิขสิทธิ์ สงวนสิทธิ์. ว. ที่รักษาหวงแหนไว้ เช่น ป่าสงวน.
  56. สงวนท่าที,สงวนทีท่า
    หมายถึง ก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้ง เพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทายใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง.
  57. สงวนปากสงวนคำ
    หมายถึง ก. พูดด้วยความระมัดระวัง, ระมัดระวังคำพูด, เช่น จะพูดจาอะไร รู้จักสงวนปากสงวนคำไว้บ้าง ผู้อื่นจะรู้ความคิด.
  58. สงสัย
    หมายถึง ก. ไม่แน่ใจในข้อเท็จจริง เช่น สงสัยว่าทำดีจะได้ดีจริงหรือ, ลังเล เช่น เมื่อเดินไปถึงทาง ๒ แพร่ง สงสัยว่าจะไปทางไหนจึงจะถูก; ทราบไม่ได้แน่ชัด, เคลือบแคลง, เช่น สงสัยว่าคำตอบข้อไหนถูก สงสัยว่าเขาจะเป็นขโมย; เอาแน่ไม่ได้ เช่น สงสัยว่าเขาจะมาหรือไม่มา. (ป. สํสย; ส. สํศย).
  59. สงสาร
    หมายถึง [สงสาน] ก. รู้สึกเห็นใจในความเดือดร้อนหรือความทุกข์ของผู้อื่น, รู้สึกห่วงใยด้วยความเมตตากรุณา, เช่น เห็นเด็ก ๆ อดอยากก็รู้สึกสงสาร เห็นเขาประสบอัคคีภัยแล้วสงสาร.
  60. สงสาร,สงสาร,สงสาร-
    หมายถึง [สงสาน, สงสาระ-] น. การเวียนว่ายตายเกิด, การเวียนตายเวียนเกิด; โลก. (ป., ส. สํสาร).
  61. สงสารทุกข์
    หมายถึง น. ทุกข์ที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด.
  62. สงสารวัฏ
    หมายถึง น. การเวียนว่ายตายเกิด, สังสารวัฏ หรือ วัฏสงสาร ก็ว่า.
  63. สงัด
    หมายถึง [สะหฺงัด] ก. เงียบสงบ เช่น คลื่นสงัด ลมสงัด. ว. เงียบเชียบ, สงบเงียบเพราะปราศจากเสียงรบกวน, เช่น ดึกสงัด ยามสงัด.
  64. สงัดคลื่น
    หมายถึง ก. ไม่มีเสียงคลื่น.
  65. สงัดคลื่นสงัดลม
    หมายถึง ก. ไม่มีคลื่นไม่มีลม เช่น ทะเลสงัดคลื่นสงัดลม.
  66. สงัดผู้สงัดคน
    หมายถึง ก. เงียบเชียบเพราะไม่มีผู้คนผ่านไปมา.
  67. สงัดลม
    หมายถึง ก. ไม่มีลมพัด.
  68. สงเคราะห์
    หมายถึง [-เคฺราะ] น. การช่วยเหลือ, การอุดหนุน, เช่น ฌาปนกิจสงเคราะห์; การรวบรวม เช่น หนังสือนามสงเคราะห์. ก. อุดหนุน เช่น สงเคราะห์เด็กกำพร้า. (ส. สงฺคฺรห; ป. สงฺคห).
  69. สงเษป
    หมายถึง [-เสบ] (แบบ) น. สังเขป เช่น สวมแสดงบันทึกสาร สงเษป ไส้พ่อ. (ยวนพ่าย). (ส. สํเกฺษป; ป. สงฺเขป).
  70. สงโกจ
    หมายถึง [-โกด] (แบบ) ก. หดเข้า, สั้นเข้า; สยิ้ว, หน้านิ่วคิ้วขมวด. (ป. สงฺโกจ; ส. สํโกจ).
  71. สง่า
    หมายถึง [สะหฺง่า] ว. มีลักษณะผึ่งผายเป็นที่น่ายำเกรงหรือน่านิยมยกย่อง เช่น ผู้นำจะต้องมีบุคลิกลักษณะสง่า, เป็นที่น่าเกรงขาม เช่น เสือโคร่งมีท่าทางสง่า.
  72. สง่างาม
    หมายถึง ว. มีท่าทางภูมิฐานแลดูงาม.
  73. สง่าผ่าเผย
    หมายถึง ว. มีท่าทางองอาจผึ่งผาย.
  74. สง่าราศี
    หมายถึง ว. มีท่าทางภูมิฐานผิวพรรณมีน้ำมีนวล.
  75. สฐะ
    หมายถึง (แบบ) ว. โกง, ล่อลวง; โอ้อวด. (ป.).
  76. สณฑ์
    หมายถึง (แบบ) น. ชัฏ, ดง, ที่รก, ที่ทึบ. (ป. สณฺฑ; ส. ษณฺฑ).
  77. สด
    หมายถึง ว. ใหม่ ใช้แก่ลักษณะของสิ่งต่าง ๆ ที่ได้มาหรือผลิตขึ้นใหม่ ๆ ยังไม่ทันเสื่อมหรือเสียคุณภาพของสิ่งนั้น คือ ไม่เหี่ยวแห้ง ซีดจาง และอาจบริโภคหรือใช้ได้ดีในสภาพของขณะนั้น เช่น ไข่สด กุ้งสด ปลาสด, มีอยู่หรือได้มาใหม่ ๆ เช่น ข่าวสด, ดิบ คือ ยังไม่สุกด้วยไฟ ไม่แห้งหรือหมักดองเป็นต้น เช่น น้ำพริกผักสด ผลไม้สด น้ำตาลสด เบียร์สด ขนมจีนแป้งสด.
  78. สด ๆ,สด ๆ ร้อน ๆ
    หมายถึง ว. หยก ๆ, ใหม่ ๆ, เร็ว ๆ นี้, ไว ๆ นี้, เช่น เขาเพิ่งจบการศึกษามาจากต่างประเทศสด ๆ ร้อน ๆ สินค้าเพิ่งผลิตออกจากโรงงานสด ๆ ร้อน ๆ; ซึ่ง ๆ หน้า เช่น เจ้าข้าเอ่ยบุคคลผู้ใดเลย ในโลกนี้ที่น่าจะเจรจาตลบเลี้ยวลดสด ๆ ร้อน ๆ เหมือนเจ้าพระยาเวสสันดรชีไพรเป็นว่าหามิได้นี้แล้วแล (เวสสันดร), โกหกสด ๆ ร้อน ๆ.
  79. สดก
    หมายถึง [สะดก] (แบบ) น. หมวด ๑๐๐, จำนวนร้อย. (ป. สตก; ส. ศตก).
  80. สดคาว
    หมายถึง ว. ดิบ ๆ และยังมีคาวอย่างปลาสดหรือเนื้อสด เช่น เขาชอบกินอาหารสดคาว, อาหารที่แสลงแก่โรค เช่น เป็นโรคริดสีดวงห้ามกินของสดคาว.
  81. สดชื่น
    หมายถึง ว. ใหม่และบริสุทธิ์ทำให้เบิกบานใจและกระปรี้กระเปร่าขึ้น เช่น จิตใจสดชื่น อากาศสดชื่น ดอกไม้บานสดชื่น ผิวพรรณสดชื่น หน้าตาสดชื่น.
  82. สดน,สดัน
    หมายถึง [สะดน, สะ-] (แบบ) น. เต้านม. (ส. สฺตน; ป. ถน).
  83. สดมภ์
    หมายถึง [สะดม] น. เสา, หลัก; (คณิต) ช่องในแนวตั้งสำหรับกรอกรายการต่าง ๆ เช่น ตัวเลข สัญลักษณ์ สูตร. (ส. สฺตมฺภ; ป. ถมฺภ).
  84. สดับ
    หมายถึง [สะดับ] ก. ตั้งใจฟัง เช่น สดับพระธรรมเทศนา, มักใช้เข้าคู่กับคำตรับฟัง เป็น สดับตรับฟัง; (วรรณ) ได้ยิน เช่น ถึงแม้ว่าจะสนิทนิทรา ก็ผวาเมื่อสดับศัพท์เสียงพี่. (วิวาหพระสมุท). (ข. สฎาบ่).
  85. สดับตรับฟัง
    หมายถึง ก. ฟังด้วยความเอาใจใส่ เช่น สดับตรับฟังพระธรรมเทศนา.
  86. สดับปกรณ์
    หมายถึง [สะดับปะกอน] ก. บังสุกุล (ใช้แก่ศพเจ้านาย). น. พิธีสวดมาติกาบังสุกุลเนื่องด้วยศพ ปัจจุบันใช้เฉพาะเจ้านาย. (ป. สตฺตปฺปกรณ; ส. สปฺตปฺรกรณ หมายถึง พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์).
  87. สดำ
    หมายถึง [สะ-] ว. ขวา. (ข. สฺฎำ).
  88. สดี
    หมายถึง [สะ-] น. นางที่มีความซื่อสัตย์ต่อสามี. (ส. สตี).
  89. สดุดี
    หมายถึง [สะ-] น. คำยกย่อง, คำสรรเสริญ, (โดยปรกติใช้ในลักษณะเป็นพิธีการ), เช่น กล่าวสดุดีวีรกรรมของทหาร. (ส. สฺตุติ; ป. ถุติ).
  90. สดูป
    หมายถึง [สะดูบ] (แบบ) น. สถูป, สิ่งก่อสร้างซึ่งก่อไว้สำหรับบรรจุของควรบูชามีกระดูกแห่งบุคคลที่นับถือเป็นต้น, สตูป ก็ว่า. (ส. สฺตูป; ป. ถูป).
  91. สดใส
    หมายถึง ว. ผ่องใส, ไม่ขุ่นมัว, เช่น หน้าตาสดใส สีสันสดใส.
  92. สต,สต-,สตะ,สตะ
    หมายถึง [สะตะ-] น. ร้อย (๑๐๐). (ป.; ส. ศต).
  93. สตกะ
    หมายถึง [สะตะ-] น. หมวด ๑๐๐, จำนวนร้อย. (ป.).
  94. สตน,สตัน
    หมายถึง [สะตน, สะ-] (แบบ) น. เต้านม. (ส. สฺตน; ป. ถน).
  95. สตภิสชะ,ศตภิษัช
    หมายถึง [สะตะพิดชะ, สะตะพิสัด] น. ดาวฤกษ์ที่ ๒๔ มี ๔ ดวง เห็นเป็นรูปทิมทองหรือมังกร, ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์ ก็เรียก.
  96. สตมาหะ
    หมายถึง น. วันที่ครบ ๑๐๐.
  97. สตรอนเชียม
    หมายถึง [สะตฺรอน-] น. ธาตุลำดับที่ ๓๘ สัญลักษณ์ Sr เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง เนื้ออ่อน สีเหลืองอ่อน ไวต่อปฏิกิริยาเคมี หลอมละลายที่ ๗๕๒ °ซ. (อ. strontium).
  98. สตริกนิน
    หมายถึง [สะตฺริก-] น. สารประกอบอินทรีย์ประเภทแอลคาลอยด์ มีสูตร C21H22N2O2 ลักษณะเป็นผลึกหรือผงสีขาว ละลายได้เล็กน้อยในนํ้า หลอมละลายที่ ๒๖๘ °-๒๙๐ °ซ. เป็นพิษอย่างแรง. (อ. strychnine).
  99. สตรี
    หมายถึง [สัดตฺรี] น. ผู้หญิง, เพศหญิง, คู่กับ บุรุษ, (ใช้ในลักษณะที่สุภาพ). (ส.; ป. อิตฺถี, ถี).
  100. สตรีลิงค์,สตรีลึงค์
    หมายถึง (ไว) น. เพศของคำที่เป็นเพศหญิง เช่น ย่า ยาย แม่ นารี, อิตถีลิงค์ ก็ว่า. (ส. สฺตรีลิงฺค; ป. อิตฺถีลิงฺค).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ส"