พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ล

คำในภาษาไทย หมวด ล ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ล

คำในภาษาไทย หมวด ล ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๓๖ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กนอย่างตัว น ในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กาล พาล ฟุตบอล.
  2. ลก
    หมายถึง ว. หก; (โบ) เรียกลูกชายคนที่ ๖ ว่า ลก, คู่กับ ลูกหญิงคนที่ ๖ ว่า อก.
  3. ลการ
    หมายถึง [ละกาน] น. ใบเรือ. (ป.).
  4. ลกุจ
    หมายถึง [ละกุด] น. มะหาด. (ส.).
  5. ลคุฑ,ลคุฬ
    หมายถึง [ละคุด, ละคุน] น. ไม้ตะบอง. (ส. ลคุฑ; ป. ลคุฬ).
  6. ลฆุ
    หมายถึง ว. เบา, เร็ว. (ส.; ป. ลหุ).
  7. ลฆุจิต
    หมายถึง ว. มีใจเบา. (ส. ลฆุจิตฺต).
  8. ลฆุภาพ
    หมายถึง น. ความเบา, ความสะดวก, ความง่ายดาย. (ส. ลฆุภาว).
  9. ลฆุโภชน์
    หมายถึง น. เครื่องว่าง, อาหารว่าง. (ส.).
  10. ลง
    หมายถึง ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทำพิธีจารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจแล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทำเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
  11. ลงกระหม่อม
    หมายถึง ก. ลงยันต์บนกระหม่อม แล้วเสกเป่าให้อยู่ยงคงกระพันเป็นต้น.
  12. ลงกลอน
    หมายถึง ก. ใส่กลอน, เดิมหมายถึงใส่กลอนล่าง.
  13. ลงกา
    หมายถึง น. ชื่อเมืองของทศกัณฐ์ในเรื่องรามเกียรติ์.
  14. ลงขัน
    หมายถึง ก. เอาเงินใส่ลงในขันเป็นต้นเพื่อช่วยในงานต่าง ๆ เช่น งานตัดจุก, ช่วยกันออกเงินเพื่อการใดการหนึ่ง เช่น ลงขันซื้อตู้เย็นไว้ใช้เป็นส่วนกลาง ลงขันเพื่อรวมเงินเป็นค่าอาหารในเวลาเดินทาง.
  15. ลงข่าว
    หมายถึง ก. ตีพิมพ์ข่าวออกเผยแพร่.
  16. ลงคราม
    หมายถึง ก. เอาผ้าขาวที่ซักแล้วชุบลงในน้ำผสมครามอ่อน ๆ ก่อนนำขึ้นตาก เพื่อให้ผ้าขาวนวลเมื่อแห้งแล้ว.
  17. ลงความเห็น
    หมายถึง ก. มีความเห็นร่วมกัน.
  18. ลงคอ
    หมายถึง ว. อาการที่ทำสิ่งที่ขัดต่อคุณธรรมหรือศีลธรรมเป็นต้นโดยไม่ตะขิดตะขวง เช่น แม่หาเงินมาด้วยความยากลำบากลูกยังขโมยได้ลงคอ เด็กตัวเท่านี้แม่ยังตีได้ลงคอ.
  19. ลงคะแนน
    หมายถึง ก. แสดงความเห็นโดยลงเป็นคะแนน.
  20. ลงจอบ
    หมายถึง ก. ใช้จอบขุดดิน, ลงจอบลงเสียม ก็ว่า.
  21. ลงชื่อ
    หมายถึง ก. เขียนชื่อ, ลงลายมือชื่อ, ลงนาม ก็ว่า.
  22. ลงดาบ
    หมายถึง ก. ประหารชีวิตด้วยการใช้ดาบฟันคอให้ขาด เช่น เพชฌฆาตลงดาบนักโทษ.
  23. ลงตัว
    หมายถึง ว. ไม่มีเศษ ในคำว่า หารลงตัว. ก. พอดี เช่น เรื่องนี้ลงตัวแล้ว.
  24. ลงถม
    หมายถึง ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีดำ, ถม ถมดำ หรือ ถมยา ก็เรียก.
  25. ลงถมยาสี
    หมายถึง ก. ใช้น้ำยาเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้วใช้ความร้อนอบให้น้ำยาติดและให้พื้นเป็นสีต่าง ๆ, เรียกสั้น ๆ ว่า ลงยา.
  26. ลงทอง
    หมายถึง ก. ปิดทองตามลวดลาย เช่น ลวดลายแกะไม้ลงทอง.
  27. ลงทะเบียน
    หมายถึง ก. จดเป็นหลักฐาน เช่น จดหมายลงทะเบียน, ลงชื่อรายงานตัวเป็นหลักฐาน เช่น ลงทะเบียนเข้าร่วมสัมมนา, ลงชื่อแสดงความจำนงเข้าเรียน เช่น ลงทะเบียนเรียนภาคที่ ๑.
  28. ลงทัณฑ์
    หมายถึง (กฎ) ก. ลงโทษผู้กระทำผิดต่อวินัยทหารหรือวินัยตำรวจ.
  29. ลงทุน
    หมายถึง ก. นำเงินหรือทรัพย์สินเป็นทุนเพื่อประกอบธุรกิจ, โดยปริยายหมายความว่า ยอมทำสิ่งที่ยากและไม่น่าจะทำได้ เช่น เขาลงทุนโกนหัวแสดงละคร.
  30. ลงท่า
    หมายถึง น. พระราชพิธีลงสรงในแม่น้ำของเจ้าฟ้า ทางราชการเรียกว่า พระราชพิธีสระสนาน; พิธีนำช้างลงสรงสนานที่ท่า.
  31. ลงท้อง
    หมายถึง ก. ท้องเดิน.
  32. ลงท้าย
    หมายถึง ก. จบ เช่น ลงท้ายจดหมายว่า ขอแสดงความนับถือ. ว. ในที่สุด เช่น พูดว่าจะให้เงิน ลงท้ายก็เหลว คนเราลงท้ายก็ต้องตายกันทุกคน, เรียกข้อความที่ลงท้ายจดหมาย เช่น ควรมิควรแล้วแต่จะโปรด ขอแสดงความนับถืออย่างยิ่ง ว่า คำลงท้าย.
  33. ลงนะหน้าทอง
    หมายถึง ก. ลงอักขระ นะ เป็นอักษรขอมที่หน้าผากและปิดทอง แล้วเอานิ้วหัวแม่มือคลึงให้ทองหายไปในเนื้อ เพื่อให้เกิดเสน่ห์เมตตามหานิยม.
  34. ลงนา
    หมายถึง ก. เริ่มทำนา, ยกออกจากบ้านไปอยู่นาเพื่อทำนา.
  35. ลงนาม
    หมายถึง ก. ลงชื่อ.
  36. ลงปฏัก,ลงประตัก
    หมายถึง ก. แทงด้วยประตัก (ใช้แก่วัวควาย), โดยปริยายหมายความว่า ทำโทษหรือดุด่าว่ากล่าวเป็นต้นเพื่อให้หลาบจำ.
  37. ลงผี
    หมายถึง ก. เชิญผีมาสิงอยู่ในคนแล้วถามเหตุร้ายดี, เข้าผี หรือ ทรงเจ้าเข้าผี ก็ว่า.
  38. ลงฝัก
    หมายถึง น. โรคเกิดเพราะเส้นเลื่อนลงสู่ถุงอัณฑะทำให้ถุงอัณฑะโต เรียกว่า กระษัยลงฝัก.
  39. ลงพระบังคน
    หมายถึง (ราชา) ก. ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ, ถ้าถ่ายปัสสาวะ เรียกว่า ลงพระบังคนเบา, ถ้าถ่ายอุจจาระ เรียกว่า ลงพระบังคนหนัก.
  40. ลงพื้น
    หมายถึง ก. เอาวัตถุเช่นดินสอพองหรือรักสมุกทาลงบนพื้นเพื่อให้ผิวเรียบก่อนที่จะทาน้ำมัน ทาสี หรือ เขียนลวดลาย.
  41. ลงพุง
    หมายถึง ว. มีพุงพลุ้ยหรือยื่นออกมา.
  42. ลงมติ
    หมายถึง ก. ลงความเห็นร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  43. ลงมีด
    หมายถึง ก. จดมีด คือ เริ่มฟัน.
  44. ลงมีดลงไม้
    หมายถึง ก. ตีรันฟันแทง.
  45. ลงมือ
    หมายถึง ก. เริ่มทำ, ตั้งต้นทำ, เช่น ลงมือกินได้, ทำ เช่น กับข้าววันนี้ฉันลงมือเอง งานนี้เธอลงมือเองเชียวหรือ.
  46. ลงยา
    หมายถึง ก. ใช้สารเคมีใส่ลงในพื้นที่เป็นร่องระหว่างลวดลายในเครื่องเงิน แล้ว ใช้ความร้อนอบให้นํ้ายาติดและให้พื้นเป็นสีต่าง ๆ, เรียกเต็มว่า ลงถมยาสี.
  47. ลงรอย,ลงรอยกัน
    หมายถึง ก. เข้ากันได้.
  48. ลงรัก
    หมายถึง ก. เอารักทาลงบนผิวสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อทำให้ผิวเรียบ เกลี้ยง ดำ เป็นมัน.
  49. ลงราก
    หมายถึง ก. ท้องเดินและอาเจียน; วางฐานรากอันเป็นโครงสร้างส่วนที่รองรับอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตอนล่างสุดไม่ให้ทรุด เช่น ลงรากตึก ลงรากอาคาร; มีรากงอกลงไปยึดดิน เช่น ต้นไม้ลงราก.
  50. ลงล่าง
    หมายถึง เกี่ยวกับเรื่องใต้สะดือ
  51. ลงศอก
    หมายถึง ก. เอาศอกกระทุ้งลง เช่น นักมวยลงศอกคู่ต่อสู้; ใช้ศอกยันลงกับพื้นเพื่อพยุงตัวขณะหมอบ.
  52. ลงสนาม
    หมายถึง ก. ลงแข่งขัน, ลงประลองความสามารถ, เช่น ฟุตบอลรอบนี้ไทยลงสนามกับเกาหลี ลงสนามบอกสักวา.
  53. ลงสมุก
    หมายถึง [ลงสะหฺมุก] ก. ใช้ดินหรือถ่านใบตองแห้งเป็นต้นป่นเป็นผงผสมกับยางรักให้เหนียว ทาทับบนพื้นวัตถุเพื่อเตรียมผิวให้แน่นและเรียบ.
  54. ลงสิ่ว
    หมายถึง ก. แกะสลักไม้โดยใช้สิ่วกัดผิวไม้ออกให้เหลือส่วนที่ต้องการ.
  55. ลงสี
    หมายถึง ก. ระบายสีเป็นรูปภาพ.
  56. ลงส้น
    หมายถึง ก. อาการที่เดินกระแทกส้นเท้าแสดงความไม่พอใจเป็นต้น.
  57. ลงหญ้าช้าง
    หมายถึง น. การลงโทษในสมัยก่อน คือ เอาตัวไปเป็นคนเลี้ยงช้าง.
  58. ลงหลักปักฐาน
    หมายถึง (สำ) ก. ตั้งที่อยู่ทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง.
  59. ลงหัว
    หมายถึง ก. มีหัวงอกอยู่ใต้ดิน (ใช้แก่พืชบางชนิด) เช่น มันลงหัว เผือกลงหัว; โดยปริยายหมายความว่า ยอมอ่อนน้อม แต่มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ไม่ยอมลงหัวให้ใคร.
  60. ลงหิน
    หมายถึง ว. เรียกเครื่องใช้ประเภทหนึ่ง เช่น ขัน พาน ทัพพี ที่ทำด้วยทองแดงเจือดีบุก เนื้อเปราะ ว่า เครื่องลงหิน หรือ ทองลงหิน.
  61. ลงอาญา,ลงอาชญา
    หมายถึง ก. ลงโทษหรือทำโทษด้วยวิธีต่าง ๆ ได้แก่ ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน.
  62. ลงอุโบสถ
    หมายถึง ก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า.
  63. ลงอ่าง
    หมายถึง เที่ยวสถานบริการอาบ อบ นวด ซึ่งจะประกอบด้วยการ นวดคลายเส้น อาบน้ำ แช่น้ำอุ่นในอ่าง
  64. ลงเข็ม
    หมายถึง ก. ตอกเสาเข็มเพื่อฝังเป็นรากสิ่งก่อสร้างกันทรุด, ตอกเข็ม ก็ว่า.
  65. ลงเงิน
    หมายถึง ก. เอาเงินมารวมกันเพื่อทำกิจการต่าง ๆ เช่น ลงเงินกันจัดรถไปทัศนาจร.
  66. ลงเนื้อเห็นด้วย
    หมายถึง ก. เห็นพ้องด้วย.
  67. ลงเรือลำเดียวกัน
    หมายถึง (สำ) ก. ทำงานร่วมกัน, ร่วมรับผลการกระทำด้วยกัน.
  68. ลงเลขลงยันต์
    หมายถึง ก. เขียน สักหรือแกะสลักตารางหรือลายเส้นเป็นตัวเลข อักขระ หรือรูปภาพลงบนแผ่นผ้า ผิวหนัง ไม้ โลหะ เป็นต้น พร้อมกับร่ายเวทมนตร์คาถากำกับ ถือว่าเป็นของขลัง.
  69. ลงเวลา
    หมายถึง ก. บันทึกเวลาที่มาทำงานและกลับบ้าน.
  70. ลงเส้น
    หมายถึง ก. เขียนเส้นให้เห็นเป็นรูปภาพ.
  71. ลงเอย
    หมายถึง ก. จบ, เลิก, สิ้นสุด, ยุติ, เช่น เรื่องนี้ลงเอยเสียที.
  72. ลงแขก
    หมายถึง ก. ร่วมแรงเพื่อนบ้านมาช่วยกันทำงานเช่นดำนา เกี่ยวข้าว ให้ลุล่วงเร็วขึ้นโดยไม่รับค่าจ้าง และผลัดเปลี่ยนช่วยกันไปตามความจำเป็นของแต่ละบ้าน; (ปาก) รุมกันข่มขืนกระทำชำเราหญิง.
  73. ลงแดง
    หมายถึง ก. ท้องเดินและถ่ายเป็นเลือดออกมามาก (มักใช้แก่คนอดฝิ่น).
  74. ลงแป้ง
    หมายถึง ก. เอาผ้าชุบลงในนํ้าผสมแป้งมันที่กวนสุกแล้ว เพื่อให้ผ้าแข็งอยู่ตัว.
  75. ลงแรง
    หมายถึง ก. ออกแรงทำงาน.
  76. ลงโกศ
    หมายถึง ก. บรรจุศพลงในโกศ, เข้าโกศ ก็ว่า.
  77. ลงโทษ
    หมายถึง ก. ทำโทษเช่นเฆี่ยน จำขัง ปรับเอาเงิน เป็นต้น.
  78. ลงโบสถ์
    หมายถึง ก. ลงอุโบสถ; โดยปริยายหมายความว่า เข้ากันได้ (มักใช้ในประโยคปฏิเสธ) เช่น นาย ก กับ นาย ข ไม่ลงโบสถ์กัน.
  79. ลงโรง
    หมายถึง ก. เริ่มการแสดงมหรสพเช่นโขน ละคร ลิเก; เข้าสู่โรงพิธีซัดนํ้า.
  80. ลงไม้
    หมายถึง ก. เฆี่ยนด้วยไม้; เอาไปใส่คาหรือใส่ขื่อไว้.
  81. ลด
    หมายถึง ก. น้อยลง ตํ่าลง หรือทำให้น้อยลงตํ่าลงกว่าที่มีอยู่เป็นอยู่แต่เดิม เช่น น้ำลด ลดโทษ ลดราคา ลดน้ำหนัก ไข้ลด ลดธงลงจากเสา, ผ่อนลง เช่น ลดฝีเท้า ลดฝีจักร ลดระดับ ลดเสียง, เอาออก เช่น ลดฝาเรือนออกด้านหนึ่งทำให้ห้องโล่งขึ้น, หย่อนตัวลงนั่งหรือนอน เช่น ลดตัวลงนั่ง.
  82. ลดชั้น
    หมายถึง ก. เข้าเรียนชั้นต่ำกว่าเดิม เช่น นักเรียนที่เข้าใหม่ชั้นประถมปีที่ ๓ ถูกลดชั้นไปอยู่ชั้นประถมปีที่ ๒.
  83. ลดตัว
    หมายถึง ก. ถ่อมตัว, ไม่ถือตัว, เช่น ลูกจ้างนิยมนายจ้างที่ลดตัวมาเล่นหัวกับตน, ไม่ไว้ตัว เช่น เป็นผู้ใหญ่แล้วยังลดตัวไปทะเลาะกับเด็ก.
  84. ลดราวาศอก
    หมายถึง ก. อ่อนข้อ, ยอมผ่อนปรนให้, เช่น เถียงกันไม่ลดราวาศอก เขาเป็นพี่ก็ต้องยอมลดราวาศอกให้เขาบ้าง.
  85. ลดรูป
    หมายถึง ก. ตัดรูปสระบางรูปออกเมื่อมีตัวสะกด แต่คงออกเสียงสระอย่างเดิม เช่น ในคำว่า ลง มี ล สระ โ-ะ ง สะกด ลดรูปสระ โ-ะ เป็น ลง.
  86. ลดละ
    หมายถึง ก. ยอมเว้นให้, ยอมหย่อนให้, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ตำรวจติดตามผู้ร้ายอย่างไม่ลดละ, ละลด ก็ว่า.
  87. ลดหย่อน
    หมายถึง ก. ผ่อนให้เบาลง เช่น ลดหย่อนภาษี ขอลดหย่อนดอกเบี้ยจากร้อยละ ๑๒ เป็นร้อยละ ๑๐, ทุเลา เช่น ลดหย่อนโทษ.
  88. ลดหลั่น
    หมายถึง ว. ต่ำลงไปเป็นชั้น ๆ เช่น นั่งลดหลั่นกันไปตามขั้นบันได, ตามลำดับชั้น เช่น พนักงานได้รับโบนัสมากน้อยลดหลั่นกันไป, ก่อนหลังกันเป็นลำดับ เช่น ข้าราชการเข้ารับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ลดหลั่นไปตามลำดับชั้น.
  89. ลดา
    หมายถึง [ละ-] น. เครือเถา, เครือวัลย์; สาย. (ป., ส. ลตา).
  90. ลดาวัลย์
    หมายถึง น. ชื่อไม้เถาชนิด Porana volubilis Burm. ในวงศ์ Convolvulaceae ดอกสีขาว ออกเป็นช่อ กลิ่นหอมเย็น.
  91. ลดเขื่อน
    หมายถึง ก. ลงเขื่อน, ทำเขื่อน.
  92. ลดเพดานบิน
    หมายถึง ก. ลดระดับความสูงในการบิน.
  93. ลดเลี้ยว
    หมายถึง ก. อ้อมไปอ้อมมา, คดไปคดมา, เช่น ทางลดเลี้ยวไปตามไหล่เขา, อ้อมค้อม, ไม่ตรงไปตรงมา, เช่น พูดจาลดเลี้ยว, เลี้ยวลด ก็ว่า.
  94. ลดเลี้ยวเกี้ยวพา
    หมายถึง ก. พูดจาหว่านล้อมเป็นเชิงเกี้ยว.
  95. ลน
    หมายถึง ก. อังไฟเพื่อให้ร้อนแต่ผิว ๆ หรือให้อ่อนเป็นต้น เช่น เอาขี้ผึ้งลนไฟ เอาไม้ลนไฟให้อ่อน; วิ่ง, อยู่นิ่งไม่ได้, มักใช้ประกอบคำอื่นว่า ลนลาน ลุกลน ลุกลี้ลุกลน. ว. อาการที่รีบร้อนจนไม่เป็นระเบียบ, สับสน, เช่น ทำอะไรลนไปหมด พูดลนจนฟังไม่รู้เรื่อง.
  96. ลนควัน
    หมายถึง ก. ทำให้อ่อนหรือให้แห้งด้วยควันร้อน.
  97. ลนลาน
    หมายถึง ว. อาการที่กลัว ตกใจ หรือรีบร้อนเป็นต้นจนทำอะไรไม่ถูก เช่น ไฟไหม้ข้างบ้านเขาวิ่งหนีไฟลนลานเลยไม่ได้หยิบอะไรมา.
  98. ลบ
    หมายถึง ก. ทำให้หายไปด้วยอาการเช็ดหรือถู, ทำให้หายไป เช่น น้ำลบฝั่ง; หักออก, ชักออก, (ใช้แก่วิธีเลข). ว. ที่เป็นไปในทางร้าย ทางไม่ดี หรือทางทำลาย เช่น มองในทางลบ. น. เรียกเครื่องหมายดังนี้ - ว่า เครื่องหมายลบ.
  99. ลบม
    หมายถึง [ละบม] (แบบ) ก. ระบม เช่น นางก็ถวายบังคม ลบมพิลาลศกำสรดไปมา. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
  100. ลบรอย
    หมายถึง ก. สบประมาท.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ล"