พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ร

คำในภาษาไทย หมวด ร ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ร

คำในภาษาไทย หมวด ร ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียนตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อสะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน), ถ้าตามพยัญชนะอื่น แต่มิได้ทำหน้าที่เป็นตัวสะกดและมีคำอื่นตาม พยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และตัว ร ออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ-ระ-ลี) หรดี (หอ-ระ-ดี).
  2. รก
    หมายถึง น. เครื่องสำหรับหล่อเลี้ยงเด็กในครรภ์แนบอยู่กับมดลูก มีสายล่ามมาที่สะดือเด็ก; สิ่งที่เป็นเส้นคล้ายรากไม้ที่ห้อยอยู่ตามกิ่งไม้บางอย่างเช่นมะดัน เรียกว่า รกมะดัน, บางทีเป็นแผ่นห่อกาบไม้เช่นต้นมะพร้าว เรียกว่า รกมะพร้าว.
  3. รก
    หมายถึง ว. ที่กระจัดกระจายอยู่เกลื่อนกลาดไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น ทิ้งกระดาษไว้รกบ้าน, ที่งอกหรือขึ้นรวมกันอยู่อย่างยุ่งเหยิงไม่เป็นระเบียบเรียบร้อย เช่น หญ้ารก ป่ารก, น่ารำคาญเพราะไม่เป็นระเบียบ เช่น รกตา รกหู รกสมอง.
  4. รกชัฏ
    หมายถึง ว. รกยุ่ง, รกอย่างป่าทึบ.
  5. รกช้าง
    หมายถึง น. หญ้ารกช้าง. [ดู กะทกรก (๒)].
  6. รกบิน
    หมายถึง น. รกที่ไม่ออกมาตามปรกติภายหลังคลอด แต่กลับตีขึ้นข้างบน.
  7. รกฟ้า
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Terminalia alata Heyne ex. Roth ในวงศ์ Combretaceae ขึ้นตามป่าเต็งรัง เปลือกให้นํ้าฝาดสีแดงใช้ย้อมสี ใช้ทำยาได้, กอง ก็เรียก.
  8. รกราก
    หมายถึง น. ภูมิลำเนาเดิม, บ้านเกิด, หลักแหล่ง, เช่น คุณมีรกรากอยู่ที่ไหน; เชื้อสาย.
  9. รกร้าง
    หมายถึง ว. รกเพราะปล่อยทิ้งไว้ เช่น ที่รกร้าง ที่ดินรกร้างว่างเปล่า.
  10. รกเรี้ยว
    หมายถึง ว. รกมาก เช่น ป่ารกเรี้ยว.
  11. รกเรื้อ
    หมายถึง ว. รกมาก เช่น สวนรกเรื้อไม่ได้ดูแลเสียนาน.
  12. รง
    หมายถึง น. ชื่อยางไม้ที่ได้จากไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Garcinia วงศ์ Guttiferae คือ มะพูด (G. dulcis Kurz) และ รง (G. hanburyi Hook.f.) ชนิดแรกให้ยางสีเขียว ๆ อมเหลืองเรียก รงกา ชนิดหลังให้ยางสีเหลืองเรียก รง ใช้ทำยาและเขียนหนังสือหรือระบายสี รงนั้นถ้าใช้ทองคำเปลวผสมเขียนตัวหนังสือหรือลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า รงทอง.
  13. รง
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นชนิด Garcinia hanburyi Hook.f. ในวงศ์ Guttiferae ใบเดี่ยว เรียงตรงข้าม ทุกส่วนมียางสีเหลือง.
  14. รงกุ์
    หมายถึง น. ชื่อสัตว์ในพวกเนื้อชนิดหนึ่ง. (ป., ส. รงฺกุ ว่า กวางชนิดหนึ่ง).
  15. รงค,รงค-,รงค์
    หมายถึง [รงคะ-, รง] น. สี, นํ้าย้อม; ความกำหนัด, ตัณหา, ความรัก; ที่ฟ้อนรำ, โรงละคร; สนามรบ, ลาน. (ป., ส. รงฺค).
  16. รงควัตถุ
    หมายถึง น. สีต่าง ๆ.
  17. รงรอง
    หมายถึง ว. สดใส, งดงาม, รุ่งเรือง, รังรอง ก็ใช้.
  18. รจนา
    หมายถึง [รดจะ-] ก. ตกแต่ง, ประพันธ์. (ป., ส.). ว. งาม.
  19. รจิต
    หมายถึง [ระจิด] ก. ตกแต่ง, ประดับ, เรียบเรียง. ว. งดงาม. (ป., ส.).
  20. รจเรข,รจเลข
    หมายถึง [รดจะเรก, รดจะเลก] น. การขีดเขียน. ว. งาม. ก. แต่ง.
  21. รชกะ
    หมายถึง [ระชะกะ] น. คนย้อมผ้า, คนซักผ้า. (ป., ส.).
  22. รชตะ
    หมายถึง [ระชะตะ] น. เงิน. (ป.).
  23. รชนิ,รชนี
    หมายถึง [ระชะ-] น. เวลาคํ่า, กลางคืน. (ป., ส.).
  24. รชนีกร
    หมายถึง [-กอน] น. พระจันทร์. (ส.).
  25. รชนีจร
    หมายถึง [-จอน] น. ผู้เที่ยวไปกลางคืน; รากษส. (ส.).
  26. รชะ
    หมายถึง [ระชะ] น. ธุลี, ละออง; ความกำหนัด. (ป., ส.).
  27. รณ,รณ-
    หมายถึง [รน, รนนะ-] น. เสียง, เสียงดัง; สงคราม. ก. รบ, รบศึก. (ป., ส.).
  28. รณรงค์
    หมายถึง น. การรบ; สนามรบ. ก. ต่อสู้, โฆษณาชักชวนอย่างต่อเนื่องโดยมีเจตนาที่จะต่อสู้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายตามที่ต้องการ เช่น รณรงค์หาเสียงในการเลือกตั้ง รณรงค์ให้คนไทยใช้ของไทย. (ส.).
  29. รณเกษตร,รณภู,รณภูมิ,รณสถาน
    หมายถึง น. สนามรบ. (ส.).
  30. รด
    หมายถึง ก. เท ราด สาด ฉีด หรือโปรยน้ำหรือของเหลวไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้เปียกหรือให้เปียกชุ่ม เช่น รดน้ำต้นไม้ เอาน้ำรดตัว; โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เยี่ยวรดที่นอน นกขี้รดหลังคา.
  31. รดน้ำ
    หมายถึง น. วิธีการเขียนจิตรกรรมเป็นลวดลายสีทองบนพื้นลงรักหรือทาชาด เรียกว่า ลายปิดทองรดนํ้า, ต่อมาเรียกสั้นลงเป็น ลายรดนํ้า. ก. หลั่งนํ้าในพิธีต่าง ๆ เช่น รดน้ำบ่าวสาวในพิธีแต่งงาน รดน้ำขอพรผู้ใหญ่ในวันสงกรานต์.
  32. รดี
    หมายถึง น. รติ.
  33. รตนะ
    หมายถึง [ระตะ-] น. รัตน์. (ป.; ส. รตฺน).
  34. รตะ
    หมายถึง [ระตะ] น. ความสุข, ความสนุก. ก. ยินดี, ชอบใจ, สนุก. (ป., ส. รต ว่า ผู้ยินดี).
  35. รติ
    หมายถึง น. ความยินดี, ความชอบใจ; ความรัก, ความกำหนัด, แผลงใช้ว่า ฤดี หรือ รดี ก็ได้. (ป., ส.).
  36. รถ,รถ-
    หมายถึง [รด, ระถะ-] น. ยานที่มีล้อสำหรับเคลื่อนไป เช่น รถม้า รถยนต์ รถไฟ; (กฎ) ยานพาหนะทุกชนิดที่ใช้ในการขนส่งทางบกซึ่งเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และหมายความรวมตลอดถึงรถพ่วงของรถนั้นด้วย ทั้งนี้เว้นแต่รถไฟ. (ป.).
  37. รถกระบะ
    หมายถึง น. รถชนิดหนึ่งใช้บรรทุกสิ่งของ ทำตัวถังเป็นรูปอย่างกระบะ.
  38. รถกุดัง
    หมายถึง น. รถบรรทุกชนิดหนึ่ง เดิมใช้บรรทุกสินค้าจากกุดังเก็บสินค้าที่ท่าเรือ ปัจจุบันใช้บรรทุกสินค้าเป็นต้น.
  39. รถคฤห
    หมายถึง [รดคฺรึ] น. รถที่มีหลังคาทรงจั่วซ้อนกัน ๒ ชั้น บางทีก็เป็นจตุรมุข สำหรับชักศพเจ้านายตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าลงมา มีม้าลาก.
  40. รถจักร
    หมายถึง น. รถหัวขบวนรถไฟ มีเครื่องยนต์ใช้ลากจูงรถไฟทั้งขบวน, หัวรถจักร ก็เรียก.
  41. รถจักรยาน
    หมายถึง น. รถถีบ; (กฎ) รถที่เดินด้วยกำลังของผู้ขับขี่ที่มิใช่เป็นการลากเข็น.
  42. รถจักรยานยนต์
    หมายถึง น. รถจักรยานที่มีเครื่องยนต์; (กฎ) รถที่เดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น และมีล้อไม่เกิน ๒ ล้อ ถ้ามีพ่วงข้างมีล้อเพิ่มอีกไม่เกิน ๑ ล้อ.
  43. รถจี๊ป
    หมายถึง น. รถยนต์แบบหนึ่ง ใช้ในวัตถุประสงค์ต่าง ๆ ได้แทบทุกภูมิประเทศ มีความคล่องตัวสูง.
  44. รถฉุกเฉิน
    หมายถึง (กฎ) น. รถดับเพลิงและรถพยาบาลของราชการบริหารส่วนกลาง ราชการบริหารส่วนภูมิภาค และราชการบริหารส่วนท้องถิ่น หรือรถอื่นที่ได้รับอนุญาตจากผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติให้ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือให้ใช้เสียงสัญญาณไซเรนหรือเสียงสัญญาณอย่างอื่น ตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนด.
  45. รถดับเพลิง
    หมายถึง น. รถใช้ในการดับไฟที่ไหม้อาคารบ้านเรือนต่าง ๆ เป็นต้น มีอุปกรณ์ในการดับไฟ เช่น ถังน้ำสำรอง สายสูบน้ำ หัวสูบ ระหว่างวิ่งไปเพื่อดับไฟจะเปิดไซเรนขอทางให้ยวดยานอื่นหลีกทางให้.
  46. รถตีนตะขาบ
    หมายถึง น. รถชนิดหนึ่งซึ่งมีสายพานหุ้มล้อ สามารถขับเคลื่อนไปในภูมิประเทศที่เป็นทุ่งนาป่าเขาได้ดีกว่ารถที่ใช้ล้อธรรมดา.
  47. รถตุ๊ก ๆ
    หมายถึง (ปาก) น. รถสามล้อเครื่องรับจ้างบรรทุกผู้โดยสาร.
  48. รถตู้
    หมายถึง น. ตู้รถไฟที่ใช้บรรทุกสินค้าเป็นต้นภายในโล่ง มักปิดทึบทั้ง ๔ ด้าน; รถยนต์ขนาดกลาง รูปร่างคล้ายกล่อง มักมีประตูเปิดปิดด้านเดียว บรรทุกผู้โดยสารได้ประมาณ ๑๒-๑๕ คน.
  49. รถถีบ
    หมายถึง (ปาก) น. รถจักรยานสองล้อ.
  50. รถถ่อ
    หมายถึง น. ยานพาหนะชนิดหนึ่งสำหรับเจ้าหน้าที่การรถไฟใช้ถ่อค้ำยันให้แล่นไปบนรางรถไฟ.
  51. รถทัวร์
    หมายถึง (ปาก) น. รถปรับอากาศขนาดใหญ่ที่รับผู้โดยสารเดินทางไปยังต่างจังหวัด.
  52. รถทัศนาจร
    หมายถึง น. รถยนต์ขนาดใหญ่ที่รับผู้โดยสารไปท่องเที่ยว.
  53. รถนอน
    หมายถึง น. ตู้รถไฟที่มีที่นอนให้ผู้โดยสารนอนในเวลาค่ำคืน.
  54. รถนาค
    หมายถึง น. รถชลประทานสำหรับสูบน้ำเข้านา.
  55. รถบดถนน
    หมายถึง น. รถสำหรับบดดินให้เรียบหรือบดถนนให้ราบ มีลูกกลิ้งขนาดใหญ่สำหรับบดอยู่ข้างหน้า และมีล้อเหล็กขนาดใหญ่ ๒ ล้ออยู่ข้างหลัง.
  56. รถบรรทุก
    หมายถึง น. รถที่ใช้บรรทุกสิ่งของ มีหลายขนาด.
  57. รถบุปผชาติ
    หมายถึง น. รถที่ใช้ดอกไม้สดประดับให้เป็นรูปต่าง ๆ.
  58. รถบ้าน
    หมายถึง (ปาก) น. รถส่วนบุคคล.
  59. รถประจำทาง
    หมายถึง น. รถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใดเส้นทางหนึ่งเป็นปรกติ.
  60. รถประทุน
    หมายถึง น. รถยนต์ที่มีประทุนเปิดปิดได้.
  61. รถปรับอากาศ
    หมายถึง น. รถโดยสารที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ.
  62. รถปุงคพ,รถปุงควะ
    หมายถึง [ระถะ-] น. หัวหน้านักรบ. (ป., ส.).
  63. รถพยาบาล
    หมายถึง น. รถยนต์ของสถานพยาบาลที่ใช้รับส่งผู้ป่วยในกรณีฉุกเฉิน ระหว่างวิ่งเพื่อนำผู้ป่วยส่งสถานพยาบาลจะเปิดไซเรนขอทางให้ยวดยานอื่นหลีกทางให้; รถยนต์ขนาดใหญ่ มีแพทย์ พยาบาล และเวชภัณฑ์พร้อมสำหรับไปรักษาพยาบาลผู้ป่วยในท้องถิ่นต่าง ๆ คล้ายโรงพยาบาลเคลื่อนที่.
  64. รถพระที่นั่ง
    หมายถึง น. รถยนต์ที่พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้นทรง เรียกเต็มว่า รถยนต์พระที่นั่ง, ถ้าเป็นรถม้า เรียกว่า รถม้าพระที่นั่ง.
  65. รถพระที่นั่งรอง
    หมายถึง น. รถยนต์ที่เตรียมสำรองไว้ใช้แทนรถพระที่นั่งในกระบวนเสด็จพระราชดำเนินเป็นทางการ.
  66. รถพระประเทียบ
    หมายถึง น. รถฝ่ายใน, รถประจำตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช.
  67. รถพ่วง
    หมายถึง น. รถที่พ่วงท้ายให้รถคันหน้าลากไป.
  68. รถม้า
    หมายถึง น. รถที่ใช้ม้าเทียมลากจูงไป มีทั้งชนิด ๒ ล้อ และ ๔ ล้อ.
  69. รถยนต์
    หมายถึง น. ยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ ตามปรกติมี ๔ ล้อ มีหลายแบบหลายชนิดเรียกชื่อต่าง ๆ กันตามความมุ่งหมายที่ใช้เป็นต้น เช่น รถเก๋ง รถบรรทุก รถโดยสาร; (กฎ) รถที่มีล้อตั้งแต่ ๓ ล้อ และเดินด้วยกำลังเครื่องยนต์ กำลังไฟฟ้า หรือพลังงานอื่น ยกเว้นที่เดินบนราง.
  70. รถยนต์ราง
    หมายถึง น. รถยนต์ที่ขับเคลื่อนไปบนราง มีล้อเหล็ก.
  71. รถยา
    หมายถึง [รดถะ-] น. รัถยา.
  72. รถรับจ้าง
    หมายถึง น. รถที่ใช้รับจ้างบรรทุกผู้โดยสารหรือสินค้าเป็นต้น.
  73. รถราง
    หมายถึง น. รถที่แล่นไปบนรางมีสาลี่ติดอยู่บนหลังคา ปลายมีลูกรอกแตะกับสายไฟฟ้าเพื่อนำกระแสไฟฟ้ามาใช้ขับเคลื่อน.
  74. รถร่วม
    หมายถึง น. รถโดยสารเอกชนที่เข้ามาร่วมกับบริษัทหรือองค์การที่ได้รับสัมปทานในการเดินรถ เช่น รถร่วม บขส.
  75. รถลาก
    หมายถึง น. ยานพาหนะชนิดหนึ่ง มี ๒ ล้อ ใช้คนลาก.
  76. รถวิทยุ
    หมายถึง น. รถยนต์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือทหารที่ติดตั้งวิทยุ เพื่อความสะดวกรวดเร็วในการสื่อสารหรือรายงานให้ศูนย์บัญชาการทราบเป็นระยะ ๆ.
  77. รถศึก
    หมายถึง น. รถเทียมม้าที่ใช้ในการศึกสงครามสมัยโบราณ ปรกติมี ๒ ล้อ.
  78. รถสปอร์ต
    หมายถึง น. รถยนต์ที่ติดตั้งเครื่องยนต์มีแรงขับเคลื่อนสูง มักเป็นรถตอนเดียว.
  79. รถสองล้อ
    หมายถึง (ปาก) น. รถจักรยานสองล้อ.
  80. รถสองแถว
    หมายถึง น. รถรับจ้างที่มีที่นั่งไปตามความยาวของรถเป็น ๒ แถว.
  81. รถสะเทินน้ำสะเทินบก
    หมายถึง น. รถที่ใช้งานได้ทั้งในน้ำและบนบก.
  82. รถสามล้อ
    หมายถึง น. ยานพาหนะถีบขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มี ๓ ล้อ เรียกเต็มคำว่า จักรยานสามล้อ, ถ้าติดเครื่องยนต์ เรียกว่า สามล้อเครื่อง หรือ จักรยานสามล้อเครื่อง.
  83. รถสิบล้อ
    หมายถึง น. รถบรรทุกขนาดใหญ่ข้างหน้ามี ๒ ล้อ ข้างหลังมี ๘ ล้อ.
  84. รถส่วนบุคคล
    หมายถึง น. รถยนต์นั่งที่เอกชนเป็นเจ้าของ.
  85. รถหลวง
    หมายถึง (ปาก) น. รถของส่วนราชการ.
  86. รถหวอ
    หมายถึง (ปาก) น. รถดับเพลิง รถตำรวจ หรือรถพยาบาลเป็นต้นที่ติดตั้งไซเรนเพื่อเตือนให้ยวดยานอื่นหลีกทางให้.
  87. รถานึก
    หมายถึง น. กองทัพเหล่ารถ, เป็นส่วนหนึ่งแห่งกระบวนทัพโบราณ ซึ่งเรียกว่า จตุรงคพล จตุรงคโยธา จตุรงคเสนา หรือ จตุรงคินีเสนา มี ๔ เหล่า ได้แก่ ๑. หัตถานึก (กองทัพช้าง, เหล่าทหารช้าง) ๒. อัศวานึก (กองทัพม้า, เหล่าทหารม้า) ๓. รถานึก (กองทัพเหล่ารถ) ๔. ปัตตานึก (กองทัพเหล่าราบ, กองทัพทหารเดินเท้า). (ป., ส. รถานีก).
  88. รถเก๋ง
    หมายถึง น. รถยนต์ที่มีหลังคาเครื่องบังแดดบังฝน มีทั้งชนิดติดตายตัวและเปิดปิดได้ ปรกตินั่งได้ไม่เกิน ๗ คน.
  89. รถเข็น
    หมายถึง น. รถที่ไม่มีเครื่อง ต้องใช้คนเข็นหรือดันไป เช่น รถเข็นคนไข้.
  90. รถเครื่อง
    หมายถึง (ปาก) น. จักรยานยนต์, รถที่มีล้อ ๒ ล้อเหมือนกับรถจักรยาน ขับเคลื่อนด้วยกำลังเครื่องยนต์, มอเตอร์ไซค์ ก็ว่า.
  91. รถเจ๊ก
    หมายถึง (ปาก) น. รถลากสำหรับให้ผู้โดยสารนั่ง มีล้อขนาดใหญ่ ๒ ล้อ มีคนจีนเป็นผู้ลาก.
  92. รถเมล์
    หมายถึง น. ยานพาหนะประจำทางที่ออกตามกำหนดเวลา.
  93. รถเสบียง
    หมายถึง น. ตู้รถไฟที่ใช้ปรุงและจำหน่ายอาหารในขณะเดินทาง, ตู้เสบียง ก็ว่า.
  94. รถแข่ง
    หมายถึง น. รถยนต์มีที่นั่งตอนเดียว ติดตั้งเครื่องยนต์กำลังแรงม้าสูง ใช้แข่งประลองความเร็ว.
  95. รถแทรกเตอร์
    หมายถึง น. รถทุ่นแรง ใช้ลากหรือขับเคลื่อนอุปกรณ์อย่างอื่นที่ติดเข้าไปกับตัวรถตามลักษณะงานที่ใช้ มี ๒ แบบ คือ แบบตีนตะขาบ และแบบล้อซึ่งมีล้อหลังใหญ่กว่าล้อหน้า.
  96. รถแท็กซี่
    หมายถึง (ปาก) น. รถยนต์รับจ้างสาธารณะ โดยสารได้ไม่เกิน ๗ คน.
  97. รถแวน
    หมายถึง น. รถยนต์ส่วนบุคคล มีที่นั่งมากกว่า ๒ ตอน ตอนท้ายมีประตูข้างหลังสำหรับบรรทุกคนหรือของ.
  98. รถโดยสารประจำทาง
    หมายถึง (กฎ) น. รถบรรทุกคนโดยสารที่เดินตามทางที่กำหนดไว้ และเรียกเก็บค่าโดยสารเป็นรายคนตามอัตราที่วางไว้เป็นระยะทางหรือตลอดทาง.
  99. รถโยก
    หมายถึง น. ยานพาหนะชนิดหนึ่ง สำหรับเจ้าหน้าที่การรถไฟใช้โยกให้แล่นไปบนรางรถไฟ.
  100. รถไต่ถัง
    หมายถึง น. การแสดงผาดโผนชนิดหนึ่งโดยขับขี่รถจักรยานยนต์วนไปรอบ ๆ ภายในถังไม้รูปทรงกระบอกขนาดใหญ่, ที่ใช้จักรยานสองล้อ หรือ รถยนต์ ก็มี.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ร"