พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ม

คำในภาษาไทย หมวด ม ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ม

คำในภาษาไทย หมวด ม ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๓๓ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กม.
  2. มก
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ปลากระบอก. (ดู กระบอก ๒).
  3. มกร,มกร-
    หมายถึง [มะกอน, มะกอระ-, มะกะระ-] น. มังกร, ชื่อดาวราศีที่ ๑๐. (ป., ส.).
  4. มกรกุณฑล
    หมายถึง [มะกอระ-] น. เครื่องประดับหูมีรูปคล้ายมังกร.
  5. มกราคม
    หมายถึง [มะกะรา-, มกกะรา-] น. ชื่อเดือนที่ ๑ ตามสุริยคติ มี ๓๑ วัน; (เลิก) ชื่อเดือนที่ ๑๐ ตามสุริยคติ ซึ่งเริ่มด้วยเดือนเมษายน. (ป. มกร + อาคม).
  6. มกสะ
    หมายถึง [มะกะสะ] น. ยุง. (ป.; ส. มศก).
  7. มกุฎ
    หมายถึง [มะกุด] น. มงกุฎ. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม. (ป., ส.).
  8. มกุฎราชกุมาร
    หมายถึง [มะกุดราดชะ-] น. อิสริยยศที่พระมหากษัตริย์พระราชทานแก่ผู้ที่จะสืบราชสันตติวงศ์ต่อไป.
  9. มกุละ
    หมายถึง น. กลุ่ม, พวง. ว. ตูม. (ป., ส.).
  10. มคธ
    หมายถึง [มะคด] น. ชื่อแคว้นใหญ่ในอินเดียครั้งพุทธกาล ในบัดนี้เรียกว่า พิหาร. (ป., ส.).
  11. มฆวัน,มัฆวา,มัฆวาน
    หมายถึง [มะคะ-, มักคะ-] น. พระอินทร์. (ส. มฆวนฺ; ป. มฆวา).
  12. มฆะ,มฆา,มาฆะ
    หมายถึง [มะคะ, มะคา, มาคะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๐ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปโคมูตร วานร หรือ งอนไถ, ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้ ก็เรียก. (ป., ส.).
  13. มงกุฎ
    หมายถึง น. เครื่องสวมพระเศียรโดยเฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน มียอดสูง, เครื่องสวมศีรษะ มีลักษณะต่าง ๆ กัน มักใช้สวมเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นผู้ชนะเลิศในการประกวดความงาม เช่น มงกุฎนางงามจักรวาล มงกุฎนางสาวไทย. ว. สูงสุด, ยอดเยี่ยม.
  14. มงกุฎไทย
    หมายถึง น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  15. มงคล,มงคล-
    หมายถึง [มงคน, มงคนละ-] น. เหตุที่นำมาซึ่งความเจริญ เช่น มงคล ๓๘, สิ่งซึ่งถือว่าจะนำสิริและความเจริญมาสู่และป้องกันไม่ให้สิ่งที่เลวร้ายมากล้ำกราย, เรียกงานที่จัดให้มีขึ้นเพื่อความอยู่เย็นเป็นสุข เช่น งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานทำบุญวันเกิด ว่า งานมงคล; เรียกเครื่องรางของขลังที่เชื่อว่าจะนำความสุขความเจริญเป็นต้นมาให้ หรือป้องกันภัยอันตรายต่าง ๆ ว่า วัตถุมงคล; สิ่งที่ทำเป็นวงด้วยด้ายเป็นต้นสำหรับสวมศีรษะเพื่อเป็นสิริมงคล นิยมใช้เฉพาะในเวลาชกมวยไทยหรือตีกระบี่กระบอง. (ป., ส.).
  16. มงคลจักร
    หมายถึง [มงคนละจัก] น. ด้ายมงคลแฝดสำหรับบ่าวสาวสวมศีรษะในพิธีรดนํ้า, มงคลแฝด ก็เรียก.
  17. มงคลวาท
    หมายถึง [มงคนละวาด] น. คำให้พร, คำแสดงความยินดี.
  18. มงคลวาร
    หมายถึง [มงคนละวาน] น. วันดี, วันอังคาร.
  19. มงคลสมรส
    หมายถึง [มงคน-] น. งานแต่งงาน.
  20. มงคลสูตร
    หมายถึง [มงคนละสูด] น. ด้ายศักดิ์สิทธิ์ที่ล่ามจากหม้อนํ้ามนตร์; ชื่อพระสูตรที่สำคัญบทหนึ่งในพระพุทธศาสนาว่าด้วยมงคล ๓๘ ประการ.
  21. มงคลหัตถี
    หมายถึง [มงคนละ-] น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีนิลอัญชัน มีกิริยาท่าทางเดินงดงาม. (ดู กาฬาวก).
  22. มงคลแฝด
    หมายถึง [มงคน-] (ปาก) น. ด้ายมงคลแฝดสำหรับบ่าวสาวสวมศีรษะในพิธีรดนํ้า, มงคลจักร ก็เรียก.
  23. มงคล่อ
    หมายถึง ดู มองคร่อ.
  24. มงโกรย
    หมายถึง น. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยชนิด Hilsa kelee ในวงศ์ Clupeidae ลำตัวป้อม แบนข้าง ปากเชิดขึ้น ไม่มีฟัน ท้องเป็นสันแหลม เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคม เรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนมากเรียงชิดกันและงอโค้งออกเสมอกันโดยตลอด ลำตัวสีเงิน หลังสีนํ้าเงินคลํ้า แนวกลางและข้างตัวมีจุดสีดำ ๓-๘ จุดเรียงกัน ๑ แถว จุดแรกที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกเด่นชัดที่สุด ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ขมงโกรย หรือ ลินโกรย ก็เรียก. (๒) ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Tenualosa thibaudeaui ในวงศ์ Clupeidae ซึ่งพบเฉพาะในแม่นํ้าโขง ลักษณะภายนอกคล้ายกับปลามงโกรย (๑) มาก แต่ลำตัวยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร, หมากผาง ก็เรียก.
  25. มณฑก
    หมายถึง [-ทก] น. กบ (สัตว์), ใช้ว่า มัณฑุก หรือ มณฑุก ก็มี. (ป., ส. มณฺฑูก).
  26. มณฑก
    หมายถึง [-ทก] (โบ) น. เรียกปืนเล็กยาวชนิดหนึ่งว่า ปืนมณฑก. (อ. bundook).
  27. มณฑนะ
    หมายถึง [มนทะนะ] น. เครื่องประดับ, อาภรณ์; การแต่ง. (ป., ส.).
  28. มณฑป
    หมายถึง [มนดบ] น. เรือนยอดขนาดใหญ่มีรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือเป็นรูปตัดมุม หรือย่อไม้แปด ย่อไม้สิบสอง ยอดหลังคาเป็นทรงจอมแห, ใช้ว่า มรฑป ก็มี. (ป., ส.); ขันนํ้าเย็นของพระเจ้าแผ่นดินที่มีฝาเป็นรูปอย่างมณฑป เรียกว่า พระมณฑป.
  29. มณฑล
    หมายถึง [มนทน] น. วง เช่น สุริยมณฑล คือ วงรอบดวงอาทิตย์ จันทรมณฑล คือ วงรอบดวงจันทร์, บริเวณ เช่น มณฑลพิธี, เขตปกครองที่แบ่งออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ; พระแท่นที่วงด้ายสายสิญจน์ เรียกว่า พระแท่นมณฑล. (ป., ส.).
  30. มณฑา
    หมายถึง [มนทา] น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Talauma candollei Blume ในวงศ์ Magnoliaceae ใบใหญ่ ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอม; มณฑารพ.
  31. มณฑารพ
    หมายถึง [มนทารบ] น. ชื่อต้นไม้ในเมืองสวรรค์, มณฑา ก็ใช้. (ป. มณฺฑารว).
  32. มณฑิระ,มณเฑียร
    หมายถึง [มนทิระ, มนเทียน] (โบ) น. มนเทียร. (ป., ส. มนฺทิร).
  33. มณฑ์
    หมายถึง น. ของมัน ๆ; นํ้าเมา, สุรา. (ป.; ส. มณฺฑา).
  34. มณี
    หมายถึง น. แก้วหินมีค่าสีแดง ในจำพวกนพรัตน์ มักหมายถึงทับทิม. (ป., ส. มณิ).
  35. มณีการ
    หมายถึง น. ช่างเจียระไนเพชรพลอย. (ส.).
  36. มณีพืช
    หมายถึง น. ต้นทับทิม. (ส. มณิพีช).
  37. มณีรัตน์
    หมายถึง น. แก้วมณี. (ป. มณิรตน; ส. มณิรตฺน).
  38. มณีราค
    หมายถึง [-ราก] น. สีแดงเสน. (ส.).
  39. มณีศิลา
    หมายถึง น. หินแก้ว. (ส.).
  40. มณเฑียรบาล
    หมายถึง [มนเทียนบาน] (โบ) น. มนเทียรบาล.
  41. มณโฑ
    หมายถึง มเหสีของทศกัณฐ์, แม่ของนาสีดา
  42. มด
    หมายถึง น. หมอเวทมนตร์, หมอผี, ถ้าเป็นผู้ชาย เรียกว่า พ่อมด, ถ้าเป็นผู้หญิง เรียกว่า แม่มด; ใช้เป็นคำประกอบกับคำ หมอ เป็น มดหมอ หมายความว่า หมอทั่ว ๆ ไป.
  43. มด
    หมายถึง น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Formicidae ส่วนท้องปล้องที่ ๑ หรือปล้องที่ ๑ และปล้องที่ ๒ ซึ่งติดกับอกคอดกิ่ว ด้านหลังปล้องท้องดังกล่าวมีโหนกสูงขึ้น ซึ่งอาจจะโค้งมนหรือเป็นแผ่นแบน ลักษณะนี้ทำให้มดแตกต่างไปจากต่อ แตน และปลวก.
  44. มดดำ
    หมายถึง น. ชื่อมดหลายชนิดในวงศ์ Formicidae สีดำเป็นมันตลอดทั้งตัว ยาว ๕-๖ มิลลิเมตร ทำรังอยู่บนต้นไม้โดยเฉพาะตามซอกของต้นไม้และพวกผลไม้ต่าง ๆ เมื่อถูกจับต้องจะส่งกลิ่นเหม็นฉุนออกมาป้องกันตัว ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Dolichoderus bituberculatus, Cataulacus granulatus.
  45. มดยอบ
    หมายถึง น. ยางหอมสีแดงอมเหลืองหรือนํ้าตาลอมแดงได้จากรอยแตกของเปลือกหรือจากการกรีดเปลือกไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Commiphora วงศ์ Burseraceae เช่น ชนิด C. abyssinica (Berg) Engl., C. molmol Engl. ใช้ทำยา แต่งกลิ่นเครื่องสำอาง และใช้ในพิธีทางศาสนา.
  46. มดลูก
    หมายถึง น. อวัยวะภายในอันเป็นที่ตั้งครรภ์.
  47. มดสัง
    หมายถึง (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. อีเห็น. (ดู อีเห็น).
  48. มดส้ม
    หมายถึง ดู มดแดง.
  49. มดหมอ
    หมายถึง (ปาก) น. หมอทั่วไป.
  50. มดาย
    หมายถึง [มะ-] น. แม่. (ข.).
  51. มดี
    หมายถึง [มะ-] คำเติมท้ายคำอื่นที่เป็นนามในคำที่มาจากบาลีและสันสกฤตเฉพาะที่มีสระ อิ อุ อยู่ท้าย หมายความว่า มี เช่น สิริมดี พันธุมดี, ตามหลักไวยากรณ์ เป็นเพศหญิง. (ป., ส. มตี).
  52. มดเท็จ
    หมายถึง ว. โกหกหลอกลวง, มักใช้เข้าคู่กับคำ โป้ปด เป็น โป้ปดมดเท็จ.
  53. มดแดง
    หมายถึง น. ชื่อมดชนิด Oecophylla smaragdina ในวงศ์ Formicidae ลูกรังลำตัวยาวประมาณ ๑ เซนติเมตร สีส้มหรือนํ้าตาลปนแดงตลอดรวมทั้งหนวดและขา ตาเล็ก สีนํ้าตาลแก่ ทำรังอยู่ตามต้นไม้โดยใช้ใบไม้มาห่อกันเข้า เวลาถูกรบกวนจะป้องกันตัวโดยปล่อยกรดออกมาแล้วกัดให้เกิดแผลทำให้เกิดอาการแสบร้อน, มดส้ม ก็เรียก.
  54. มดแดงเฝ้ามะม่วง
    หมายถึง (สำ) น. ชายที่ปองรักหญิงบ้านใกล้หรือที่อยู่ใกล้กัน และคอยกีดกันไม่ให้ชายอื่นมารัก, มดแดงแฝงพวงมะม่วง ก็ว่า.
  55. มต,มต-,มตะ
    หมายถึง [มะตะ-] ก. ตายแล้ว. (ป.; ส. มฺฤต).
  56. มตกภัต
    หมายถึง [มะตะกะพัด] น. ข้าวที่ทำบุญอุทิศให้คนตาย. (ป. มตกภตฺต).
  57. มตกะ
    หมายถึง [มะตะกะ] น. คนตายแล้ว, ผู้ตายแล้ว. ว. ของผู้ตายแล้ว. (ป.; ส. มฺฤตก).
  58. มติ
    หมายถึง [มะติ] น. ความเห็น, ความคิดเห็น, เช่น ที่ประชุมลงมติ มติของข้าพเจ้า, ความรู้; ข้อวินิจฉัยญัตติที่เสนอต่อที่ประชุม. (ป., ส.).
  59. มติมหาชน
    หมายถึง น. ความคิดเห็นหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่เห็นพ้องต้องกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
  60. มทนะ
    หมายถึง [มะทะ-] น. กามเทพ. (ส.).
  61. มทนียะ
    หมายถึง [มะทะ-] ว. เป็นที่ตั้งแห่งความเมา, ที่ควรเมา. (ป.).
  62. มทะ
    หมายถึง [มะทะ] น. ความเมา; นํ้ามันช้างที่ตกมัน; สภาพช้างที่ตกมัน. (ป., ส.).
  63. มธุ
    หมายถึง [มะ-] น. นํ้าหวาน, นํ้าผึ้ง. (ป., ส.).
  64. มธุกร
    หมายถึง [-กอน] น. ผู้ทำนํ้าหวาน คือ แมลงผึ้ง. (ป., ส.).
  65. มธุกรี
    หมายถึง [-กะรี] น. แมลงผึ้งตัวเมีย. (ป.; ส. มธุกรินฺ).
  66. มธุการี
    หมายถึง น. แมลงผึ้ง. (ป.; ส. มธุการินฺ).
  67. มธุตฤณ
    หมายถึง [-ตฺริน] น. อ้อย. (ส.).
  68. มธุปฎล
    หมายถึง [-ปะดน] น. รวงผึ้ง. (ป., ส. มธุปฏล).
  69. มธุปะ
    หมายถึง น. ผู้ดื่มนํ้าหวาน คือ แมลงผึ้ง. (ป., ส.).
  70. มธุปายาส
    หมายถึง น. ข้าวปายาสเจือนํ้าผึ้ง ใช้เป็นของหวานในงานรื่นเริง. (ป.).
  71. มธุพรต
    หมายถึง [-พฺรด] น. แมลงผึ้ง. (ส. มธุวฺรต).
  72. มธุมักขิกา
    หมายถึง น. แมลงผึ้ง. (ป.; ส. มธุมกฺษิกา).
  73. มธุมิศร
    หมายถึง [-มิด] ว. เจือนํ้าหวาน. (ส.).
  74. มธุร,มธุร-,มธุระ
    หมายถึง [มะทุระ-] น. อ้อยแดง; ความหวาน, ความไพเราะ. ว. หวาน, ไพเราะ. (ป., ส.).
  75. มธุรตรัย
    หมายถึง น. ของอร่อยทั้ง ๓ คือ นํ้าตาล นํ้าผึ้ง เนย. (ส. มธุรตฺรย).
  76. มธุรพจน์
    หมายถึง น. ถ้อยคำไพเราะ; ผู้มีถ้อยคำไพเราะ. (ส. มธุรวจน).
  77. มธุรส
    หมายถึง น. นํ้าผึ้ง, รสหวาน, อ้อย. ว. ไพเราะ เช่น มธุรสวาจา. (ป., ส.).
  78. มธุลีห์
    หมายถึง น. แมลงผึ้ง. (ป.; ส. มธุลิห).
  79. มธุสร
    หมายถึง [-สอน] น. เสียงหวาน. (ป.; ส. มธุสฺวร).
  80. มธุเศษ
    หมายถึง น. ขี้ผึ้ง. (ส.).
  81. มธุโกศ
    หมายถึง น. รวงผึ้ง. (ส.).
  82. มน-
    หมายถึง [มะนะ-] น. ใจ. (ป.).
  83. มน
    หมายถึง ก. อยู่กับที่ (ใช้แก่ดาวนพเคราะห์ ซึ่งปรากฏแก่ตาเป็น ๓ ทาง คือ เสริด ว่า ไปข้างหน้า, พักร ว่า ถอยหลัง, มน ว่า อยู่กับที่).
  84. มน
    หมายถึง ว. กลม ๆ, โค้ง ๆ, ไม่เป็นเหลี่ยม, เช่น ทองหลางใบมน ขอบโต๊ะมน ปกเสื้อมน.
  85. มน
    หมายถึง [มะนะ, มน] น. ใจ. (ป.).
  86. มนตรี
    หมายถึง น. ที่ปรึกษา, ผู้แนะนำ, ที่ปรึกษาราชการ, ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่, นิยมใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส เช่น องคมนตรี รัฐมนตรี เทศมนตรี. (ส.; ป. มนฺตี).
  87. มนต์,มนตร์
    หมายถึง น. คำศักดิ์สิทธิ์, คำสำหรับสวดเพื่อเป็นสิริมงคล เช่น สวดมนต์, คำเสกเป่าที่ถือว่าศักดิ์สิทธิ์ เช่น ร่ายมนตร์ เวทมนตร์. (ป. มนฺต; ส. มนฺตฺร).
  88. มนท,มนท-,มนท์
    หมายถึง [มนทะ-] น. ดาวพระเสาร์. ว. เฉื่อย,ช้า; อ่อนแอ; โง่เขลา; ขี้เกียจ. (ป., ส.).
  89. มนทกานติ
    หมายถึง น. “ผู้มีรัศมีอ่อน” คือ ดวงเดือน. (ส.).
  90. มนทาทร
    หมายถึง [-ทอน] ว. ไม่เอาใจใส่, ทอดธุระ. (ส.).
  91. มนทิระ,มนทิราลัย
    หมายถึง [มนทิระ] (แบบ) น. เรือนหลวง. (ป., ส.).
  92. มนสิการ
    หมายถึง [มะนะสิกาน] น. การกำหนดไว้ในใจ. (ป., ส.).
  93. มนัส,มนัส-
    หมายถึง [มะนัด, มะนัดสะ-] น. ใจ (เมื่อเข้าสมาสกับศัพท์หลังมักเป็น มโน, ดู มโน). (ส.).
  94. มนัสดาป
    หมายถึง [มะนัดสะดาบ] น. ความร้อนใจ. (ส.).
  95. มนัสวี
    หมายถึง [มะนัดสะ-] น. ผู้เป็นปราชญ์, ผู้มีใจเด็ดเดี่ยว, ผู้มีความคิดสูง. (ส.).
  96. มนินทรีย์
    หมายถึง น. ใจซึ่งเป็นใหญ่ในการรับรู้ธรรมารมณ์ คือ อารมณ์ที่เกิดทางใจ. (ป. มน + อินฺทฺริย).
  97. มนิมนา,มนีมนา
    หมายถึง [มะนิมมะนา, มะนีมมะนา] ว. เร็ว, ด่วน, ขมีขมัน, เช่น ก็มนิมนาการมาสู่สาลวัน. (ปฐมสมโพธิกถา). (ข. มฺนีมฺนา).
  98. มนิลา
    หมายถึง น. เรียกเชือกเกลียวสีขาว ๆ ค่อนข้างใหญ่ เหนียวมาก ว่า เชือกมนิลา, มักเรียกว่า เชือกมลิลา; เรียกเรือนที่ทรงหลังคาตรงลงมาไม่หักหน้าจั่ว เหมือนเรือนปั้นหยา แต่ไม่งอนช้อยเหมือนเรือนฝากระดาน ว่า เรือนทรงมนิลา, เรือนทรงมลิลา ก็เรียก.
  99. มนุ
    หมายถึง น. มนู. (ป., ส.).
  100. มนุช
    หมายถึง น. “ผู้เกิดจากมนู” คือ คน. (ส.).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ม"