พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด จ

คำในภาษาไทย หมวด จ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ
คำในภาษาไทย หมวด จ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด จ

คำในภาษาไทย หมวด จ ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๘ เป็นตัวต้นวรรคที่ ๒ นับเป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กดในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เช่น กิจ วินิจฉัย ตำรวจ จอร์จ.
  2. จก
    หมายถึง ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.
  3. จง
    หมายถึง เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับ เช่น จงปฏิบัติตามระเบียบวินัย, หรือบอกความหวัง เช่น จงมีความสุขความเจริญ.
  4. จงกรม
    หมายถึง [-กฺรม] ก. เดินไปมาโดยมีสติกำกับอย่างพระเดินเจริญกรรมฐาน เรียกว่า เดินจงกรม. (ส.; ป. จงฺกม).
  5. จงกรมแก้ว
    หมายถึง น. พระพุทธรูปปางหนึ่งยืนย่างพระบาทซ้าย พระหัตถ์ทั้ง ๒ ประสานพระเพลา มีเรือนแก้ว. (พุทธเจดีย์).
  6. จงกล
    หมายถึง [-กน] น. บัว, บัวสาย, เช่น อันประดับด้วยอรพินธุเนานึก บุณฑรึกจงกล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์); สิ่งที่ทำให้มีรูปร่างคล้ายดอกบัวชนิดหนึ่ง สำหรับเป็นส่วนประกอบเครื่องใช้ เครื่องประดับตกแต่งต่าง ๆ เช่น จงกลเชิงเทียน จงกลปลายพระทวย จงกลปิ่น จงกลดาวเพดาน; ก้านของพู่ที่ประดับหัวม้าติดอยู่กับขลุมทั้ง ๒ ข้าง ตั้งขึ้นไป.
  7. จงกลนี
    หมายถึง [-กนละนี] น. บัว, บัวดอกคล้ายบัวขม มีเกสรซ้อนหลายชั้น แตกก้านต่อดอกแล้วมีดอกต่อกัน ๓ ดอกบ้าง ๔ ดอกบ้าง. (ทมิฬ เจ็ง ว่า แดง กาฬนีร ว่า บัว หมายความว่า บัวแดง). (พจน. ๒๔๙๓).
  8. จงดี
    หมายถึง ว. ให้ดี, ให้เรียบร้อย.
  9. จงรัก,จงรักภักดี
    หมายถึง ก. ผูกใจรักด้วยความเคารพนับถือหรือรู้คุณอย่างยิ่ง.
  10. จงอร
    หมายถึง [-ออน] (แบบ) ก. จงทำให้ดีใจ, จงทำให้ปลาบปลื้ม, เช่น ใครรู้แห่งพระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
  11. จงอาง
    หมายถึง น. ชื่องูพิษชนิด Ophiophagus hannah ในวงศ์ Elapidae เป็นงูพิษที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โตเต็มวัยยาวประมาณ ๔.๕ เมตร ตัวสีเขียวอมเทาหรือสีคลํ้า ชูคอแผ่แม่เบี้ยได้ พบทั้งในป่าโปร่งและป่าทึบ, บองหลา ก็เรียก.
  12. จงเกลียดจงชัง
    หมายถึง ก. ผูกใจเกลียดชังอย่างยิ่ง.
  13. จงโคร่ง
    หมายถึง [-โคฺร่ง] น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกชนิด Bufo asper ในวงศ์ Bufonidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับคางคก อาศัยในป่าบริเวณริมลำธารหรือน้ำตก, กระทาหอง กระหอง หรือ กง ก็เรียก.
  14. จงใจ
    หมายถึง ก. ตั้งใจ, หมายใจ, เจตนา.
  15. จญ
    หมายถึง (โบ; กลอน) ก. ประจญ, สู้รบ, เช่น คือนาคจญครุทธสรงง วิ่งเว้น. (ยวนพ่าย). (ข. ชล่).
  16. จด
    หมายถึง ก. จ่อให้ถึงกัน, ถึง, จนถึง; แตะ.
  17. จด
    หมายถึง ก. กำหนด, หมายไว้, เขียนไว้.
  18. จดจำ
    หมายถึง ก. กำหนดไว้ในใจ, จำไว้ในใจ.
  19. จดจ่อ
    หมายถึง ก. มีใจฝักใฝ่ผูกพันอยู่.
  20. จดจ้อง,จด ๆ จ้อง ๆ
    หมายถึง ก. ตั้งท่าจะทำแล้วไม่ลงมือทำเพราะไม่แน่ใจ.
  21. จดทะเบียน
    หมายถึง (กฎ) ก. ลงบันทึกข้อความไว้เป็นหลักฐานตามที่กฎหมายกำหนด เช่น จดทะเบียนรถยนต์ จดทะเบียนสมรส จดทะเบียนหุ้นส่วนและบริษัท.
  22. จดหมัด
    หมายถึง ก. ตั้งท่ามวย.
  23. จดหมาย
    หมายถึง น. หนังสือที่มีไปมาถึงกัน.
  24. จดหมายเวียน
    หมายถึง น. (ปาก) หนังสือเวียน; หนังสือที่มีข้อความเหมือนกัน ส่งไปถึงคนจำนวนมาก.
  25. จดหมายเหตุ
    หมายถึง น. หนังสือบอกข่าวคราวที่เป็นไป, รายงานหรือบันทึกเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น, เอกสารที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หรือเอกชน ผลิตขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักฐานและเครื่องมือในการปฏิบัติงาน.
  26. จดุร,จดุร-
    หมายถึง [จะดุระ] (กลอน) แผลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่.
  27. จดุรงค์
    หมายถึง [จะดุรง] (แบบ) ว. องค์ ๔. (ป. จตุร + องฺค).
  28. จดูร,จดูร-
    หมายถึง [จะดูระ-] ว. สี่ เช่น จดูรพรรค ว่า รวม ๔ อย่าง. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
  29. จดไม่ลง
    หมายถึง (ปาก) ก. ไม่กล้าซื้อเพราะราคาแพงมาก.
  30. จตุ,จตุ-
    หมายถึง [จะตุ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี. (ป.).
  31. จตุกาลธาตุ
    หมายถึง [-กาละทาด] น. ธาตุกาล ๔ คือ ว่านนํ้า เจตมูลเพลิง แคแตร พนมสวรรค์.
  32. จตุตถ,จตุตถ-,จตุตถี
    หมายถึง [จะตุดถะ-, -ตุดถี] ว. ที่ ๔ เช่นจตุตถจุลจอมเกล้า จตุตถสุรทิน จตุตถีดิถี. (ป.).
  33. จตุทิพยคันธา
    หมายถึง [-ทิบพะยะ-] น. กลิ่นทิพย์ ๔ ประการ คือ ดอกพิกุล ชะเอมเทศ มะกลํ่าเครือ ขิงแครง.
  34. จตุบท
    หมายถึง น. สัตว์สี่เท้า. (ป.).
  35. จตุบริษัท
    หมายถึง น. บริษัท ๔ เหล่า, ถ้าเป็นพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา, ถ้าเป็นราชบริษัทหรือประชุมชนทั่วไป ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ. (ป.).
  36. จตุปัจจัย
    หมายถึง [จะตุปัดไจ] น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). (ป.).
  37. จตุปาริสุทธิศีล
    หมายถึง [จะตุปาริสุดทิสีน] น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือเครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สำรวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). (ป.).
  38. จตุร,จตุร-
    หมายถึง [จะตุระ-] ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. (ส.; ป. จตุ).
  39. จตุรคูณ
    หมายถึง ว. ๔ เท่า.
  40. จตุรงคนายก
    หมายถึง [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน).
  41. จตุรงคประดับ
    หมายถึง [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจ พระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อตรึกนึกคะเนคะนึงความ พระหน่อนามแจ้งกระจัดกระจ่างใจ. (ชุมนุมตำรากลอน).
  42. จตุรงคพล
    หมายถึง [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ; หมากรุก.
  43. จตุรงคยมก
    หมายถึง [จะตุรงคะยะมก] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะจังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรืองฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  44. จตุรงคินีเสนา
    หมายถึง [จะตุรง-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺคินี + เสนา).
  45. จตุรงคเสนา
    หมายถึง [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคินีเสนา ก็ว่า. (ป., ส. จตุรงฺค + เสนา).
  46. จตุรงคโยธา
    หมายถึง [จะตุรงคะ-] น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. (ป., ส. จตุรงฺค + โยธา).
  47. จตุรงค์
    หมายถึง ว. องค์ ๔, ๔ เหล่า. น. หมากรุก เช่น ต่งงกรดานจตุรงคมยง ม่ายม้า. (กำสรวล). (ป.; ส. จตุร + องฺค).
  48. จตุรถ-
    หมายถึง [จะตุระถะ-] ว. ที่ ๔ เช่น จตุรถาภรณ์. (ส.; ป. จตฺตถ).
  49. จตุรพักตร์
    หมายถึง ว. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.
  50. จตุรพิธ
    หมายถึง ว. มี ๔ อย่าง.
  51. จตุรพิธพร
    หมายถึง [-พิดทะพอน] น. พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ในการให้พร ขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ และมีกำลังแข็งแรง.
  52. จตุรภุช
    หมายถึง [-พุด] ว. “ผู้มี ๔ แขน” คือ พระนารายณ์.
  53. จตุรภูมิ
    หมายถึง [-พูม] น. ภูมิ ๔ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ ๒. รูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในรูปภพ ๓. อรูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในอรูปภพ ๔. โลกุตรภูมิ ภูมิอันพ้นจากโลก.
  54. จตุรมุข
    หมายถึง (กลอน) น. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.
  55. จตุรยุค
    หมายถึง น. ยุคทั้ง ๔ คือ กฤดายุค ไตรดายุค ทวาบรยุค กลียุค.
  56. จตุราริยสัจ
    หมายถึง [จะตุราริยะสัด] น. อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. (ป. จตุร + อริยสจฺจ).
  57. จตุรเวท,จตุรเพท
    หมายถึง [จะตุระเวด, จะตุระเพด] น. ชื่อคัมภีร์พระเวท ๔ คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ในยุคพระเวท คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท. (ดู เวท, เวท-).
  58. จตุลังคบาท
    หมายถึง [จะตุลังคะบาด] (โบ) น. เจ้ากรมพระตำรวจหลวงประจำ ๔ เท้าช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ. (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท ก็ว่า.
  59. จตุสดมภ์
    หมายถึง น. วิธีจัดระเบียบราชการบริหารส่วนกลางในสมัยโบราณโดยตั้งกรมหรือกระทรวงใหญ่ขึ้น ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนา มีเสนาบดีเจ้ากระทรวงว่าการในแต่ละกรมนั้น รวมเรียกว่า จตุสดมภ์ ซึ่งแปลว่า หลัก ๔. (ป. จตุ = สี่ + ส. สฺตมฺภ = หลัก หมายความว่า หลัก ๔).
  60. จตุโลกบาล
    หมายถึง [จะตุโลกกะบาน] น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จัตุโลกบาล ก็ว่า.
  61. จทึง
    หมายถึง [จะทึง] น. แม่นํ้า, ใช้ว่า ฉทึง ชทึง ชรทึง สทิง สทึง หรือ สรทึง ก็มี. (ข. สฺทึง ว่า คลอง).
  62. จน
    หมายถึง ว. อัตคัดขัดสน, ฝืดเคือง, มีเงินไม่พอยังชีพ. ก. แพ้ เช่น หมากรุกจน; หมดทาง เช่น จนใจ คือ ไม่มีทางที่จะทำได้อย่างคิด, จนตรอก คือ ไม่มีทางไป, จนแต้ม คือ ไม่มีทางเดินหรือไม่มีทางสู้, จนมุม คือ ไม่มีทางหนี.
  63. จน
    หมายถึง สัน. ตราบเท่า เช่น จนตาย, จนกระทั่ง หรือ จนถึง ก็ว่า.
  64. จนกระทั่ง,จนถึง
    หมายถึง สัน. ตราบเท่า, ที่สุดถึง.
  65. จนกว่า
    หมายถึง สัน. กระทั่งถึงเวลานั้น ๆ เช่น จนกว่าจะตาย.
  66. จนชั้น
    หมายถึง สัน. ที่สุดแต่.
  67. จนด้วยเกล้า
    หมายถึง (ปาก) ก. หมดปัญญาคิด.
  68. จนแล้วจนรอด
    หมายถึง ว. เป็นอยู่อย่างนั้นจนถึงบัดนี้.
  69. จนได้
    หมายถึง ว. ในที่สุดก็เป็นเช่นนั้น เช่น ห้ามแล้วยังไปทำอีกจนได้.
  70. จบ
    หมายถึง น. การสิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกการสิ้นสุดเช่นนั้น เช่น สวดจบหนึ่ง ตั้งนโม ๓ จบ. ก. สิ้นสุดคราวหนึ่ง ๆ เช่น จบชั้นไหน.
  71. จบ
    หมายถึง ก. ยกของขึ้นหรือพนมมือเหนือหน้าผากเพื่อตั้งใจอุทิศให้เวลาทำบุญทำทาน; กิริยาที่ช้างชูงวงขึ้นเหนือหัวทำความเคารพ ในคำว่า ช้างจบ.
  72. จบ
    หมายถึง ก. ต่อกัน, พบกัน, เช่น จับปลายเชือก ๒ เส้นมาจบกัน.
  73. จบเห่
    หมายถึง (ปาก) ก. หมดเสียง; สิ้นท่า, หมดท่า; ยุติ.
  74. จม
    หมายถึง ก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลายที่ไม่เด่นว่า ลายจม. (ปาก) ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย.
  75. จมปลัก
    หมายถึง ก. ติดอยู่กับที่, ไม่ก้าวหน้า.
  76. จมร,จมรี
    หมายถึง ดู จามรี.
  77. จมูก
    หมายถึง [จะหฺมูก] น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สำหรับดมกลิ่นและหายใจเข้าหายใจออก, (ปาก) ตมูก ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระนาสิก, โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะเป็นรู ๒ รูเพื่อร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง. (ข.จฺรมุะ).
  78. จมูกข้าว
    หมายถึง น. ส่วนปลายของเมล็ดข้าวที่ติดกับก้านดอก เป็นส่วนที่ต้นอ่อนงอก.
  79. จมูกปลาหลด,จมูกปลาไหล
    หมายถึง ดู กระพังโหม.
  80. จมูกมด
    หมายถึง (สำ) ว. ที่ไหวตัวหรือรู้ตัวทันเหตุการณ์, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หูผี เป็น หูผีจมูกมด.
  81. จมูกวัว
    หมายถึง น. ท่อที่ต่อจากสูบไปเป่าเปลวไฟไปท่วมเบ้า.
  82. จมูกหลอด
    หมายถึง ดู ตะพาบ, ตะพาบนํ้า.
  83. จมเบ้า
    หมายถึง ว. อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ.
  84. จมไม่ลง
    หมายถึง (สำ) ก. เคยทำตัวใหญ่มาแล้วทำให้เล็กลงไม่ได้ (มักใช้แก่คนที่เคยมั่งมีหรือรุ่งเรืองมาก่อน เมื่อยากจนหรือตกอับลงก็ยังทำตัวเหมือนเดิม).
  85. จยุติ
    หมายถึง [จะยุดติ] (กลอน) ก. จุติ. (ส.).
  86. จร
    หมายถึง [จอน] ดู จอน ๒.
  87. จร,จร,จร-
    หมายถึง [จอน, จอระ-, จะระ-] ว. ไม่ใช่ประจำ เช่น คนจร รถจร, แทรกแปลกเข้ามา เช่น โรคจร ลมจร. ก. ไป, เที่ยวไป; ประพฤติ. (ป., ส.), ใช้เป็นบทท้ายสมาสก็มี เช่น ขจร = เที่ยวไปในอากาศ, วนจร = เที่ยวไปในป่า, ที่ใช้ควบกับคำไทยก็มี.
  88. จรก
    หมายถึง [จะรก] น. ผู้เที่ยวไป, ผู้เดินไป. (ป., ส.).
  89. จรกลู่
    หมายถึง [จอระกฺลู่] (กลอน) ก. เที่ยวลอยเกลื่อนกลาดอยู่ เช่น จรกลู่ขึ้นกลางโพยมากาศ. (ม. คำหลวง ทศพร).
  90. จรคั่ง
    หมายถึง [จะระ-] (กลอน) ก. คั่ง.
  91. จรจรัล
    หมายถึง [จอระจะรัน, จอนจะรัน] (กลอน) ก. เที่ยวไป, เดินไป, เช่น แม่รักลูกรักจรจรัล พลายพังก็กระสัน. (ดุษฎีสังเวย).
  92. จรจัด
    หมายถึง [จอน-] ว. ร่อนเร่และไม่มีที่อยู่เป็นหลักแหล่ง.
  93. จรณะ
    หมายถึง [จะระ-] น. ความประพฤติ, ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา. (ป.).
  94. จรด
    หมายถึง [จะหฺรด] (โบ; แบบ) ก. จด, ถึง, จ่อให้ถึง.
  95. จรดพระกรรไกรกรรบิด,จรดพระกรรไตรกรรบิด
    หมายถึง (ราชา) ก. ใช้กรรไตรและมีดโกนขริบและโกนผมเล็กน้อย เป็นการเริ่มในพระราชพิธีโสกันต์และเกศากันต์.
  96. จรดพระนังคัล
    หมายถึง ก. จดไถลงดินเพื่อไถนาในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ.
  97. จรดล
    หมายถึง [จอระดน] (กลอน) ก. เที่ยวไปถึง. (ป. จร + ตล = พื้น; ข. ฎล = ถึง).
  98. จรบน,จรบัน
    หมายถึง [จะระ-] (กลอน) ก. เที่ยวไปเบื้องบน, ฟุ้งไป, บินไป, เช่น ด้วยคันธามลกชำระจรบันสระหอมรส. (ม. คำหลวง นครกัณฑ์).
  99. จรบาท
    หมายถึง [จอระ-] (กลอน) ก. เดินไปด้วยเท้า, ตรงกับคำว่า บทจร.
  100. จรมัน
    หมายถึง [จอระ-] (กลอน) ก. ทำให้มั่น, ทำให้แข็งแรง.

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด จ"