พจนานุกรมไทย

คำในภาษาไทย หมวด ข

คำในภาษาไทย หมวด ข ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

รวมคำในภาษาไทย หมวด ข

คำในภาษาไทย หมวด ข ตามที่เคยรู้จัก คำในภาษาไทย มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ


  1. หมายถึง พยัญชนะตัวที่ ๒ เป็นพวกอักษรสูง ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กกในคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต.
  2. ขง
    หมายถึง (โบ) น. กรุง, บางทีเขียนเป็น โขง. (“กรุง” เป็น “ขุง” และเป็น “ขง” อย่าง ทุ่ง-ท่ง, มุ่ง-ม่ง).
  3. ขงจื๊อ
    หมายถึง น. ชื่อศาสนาสำคัญศาสนาหนึ่งของจีน มีศาสดาชื่อขงจื๊อ.
  4. ขจร
    หมายถึง [ขะจอน] ดู สลิด ๑.
  5. ขจร
    หมายถึง [ขะจอน] ก. ฟุ้งไป. (ข. ขฺจร ว่า ฟุ้งไป แผลงเป็น กำจร ก็ได้; ป., ส. ข = อากาศ + จร = ไป).
  6. ขจรจบ
    หมายถึง [ขะจอน-] น. ชื่อหญ้าชนิด Pennisetum pedicellatum Trin. และ P. polystachyon (L.) Schult. ในวงศ์ Gramineae แพร่พันธุ์รวดเร็วมากและปราบยาก หญ้าทั้ง ๒ ชนิดนี้ต้นอ่อนใช้เป็นอาหารสัตว์ ต้นแก่ใช้ทำกระดาษได้.
  7. ขจอก
    หมายถึง [ขะ-] ว. กระจอก, ง่อย, ขาเขยก. (ข. ขฺจก ว่า ขาเขยก, พิการ).
  8. ขจัด
    หมายถึง [ขะ-] ก. กำจัด เช่น ขจัดความสกปรก; กระจัด, แยกย้ายออกไป. (ข. ขฺจาต่ ว่า พลัด, แยก).
  9. ขจัดขจาย
    หมายถึง ก. กระจัดกระจาย.
  10. ขจาย
    หมายถึง [ขะ-] ก. กระจาย, มักใช้เข้าคู่กับคำ ขจร เป็น ขจรขจาย. (ข. ขฺจาย).
  11. ขจาว
    หมายถึง [ขะ-] (ถิ่น-พายัพ, ปักษ์ใต้) น. ต้นกระเชา. (ดู กระเชา).
  12. ขจิต
    หมายถึง [ขะ-] ก. ประดับ, ตกแต่ง. (ป.).
  13. ขจิริด
    หมายถึง [ขะ-] ว. กระจิริด.
  14. ขจี
    หมายถึง [ขะ-] ว. งามสดใส, ใช้ในคำว่า เขียวขจี. (ข. ขฺจี ว่า ดิบ, อ่อน).
  15. ขจุย
    หมายถึง [ขะ-] ว. กระจุย.
  16. ขจ่าง
    หมายถึง [ขะ-] ก. กระจ่าง เช่น จวบแจ้งขจ่างจา มิกราจำรัสศรี. (สรรพสิทธิ์).
  17. ขณะ
    หมายถึง [ขะหฺนะ] น. ครู่, ครั้ง, คราว, เวลา, สมัย. (ป.; ส. กษณ).
  18. ขด
    หมายถึง ก. ม้วนตัวให้เป็นวง ๆ เช่น งูขด, ทำให้เป็นวง ๆ เช่นนั้น เช่น เอาลวดมาขด, งอหรือทำให้งอ เช่น นอนขด ขดให้เป็นลวดลาย. น. สิ่งที่เป็นวง ๆ, ลักษณนามเรียกของที่เป็นวง ๆ เช่นนั้น เช่น เชือก ๓ ขด.
  19. ขด
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) ก. ขยด, เขยิบ, กระเถิบ.
  20. ขดถวาย
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) ก. ขัดสมาธิ.
  21. ขดาน
    หมายถึง [ขะ-] (โบ) น. กระดาน เช่น นางทายขดานผทับแด ไฟสมรลามแล ลืมพาษปธาราราย. (สมุทรโฆษ).
  22. ขตอย
    หมายถึง [ขะ-] น. แมงป่อง. (ข. ขฺทวย).
  23. ขทิง
    หมายถึง [ขะ-] (โบ) น. ปลากระทิง.
  24. ขทิง
    หมายถึง [ขะ-] (โบ) น. กระดิ่ง, กระดึง, เช่น ขทิงทอง รนนทดโยง ลยวแล่ง. (กำสรวล).
  25. ขทิง
    หมายถึง [ขะ-] (โบ) น. ต้นกระทิง.
  26. ขทึง
    หมายถึง [ขะ-] (โบ) น. กระดิ่ง, กระดึง.
  27. ขทึง
    หมายถึง [ขะ-] (โบ) น. ต้นกระทิง.
  28. ขน
    หมายถึง น. ชื่อหญ้าชนิด Brachiaria mutica (Forssk.) Stapf ในวงศ์ Gramineae ขึ้นในที่ชื้นและชายนํ้า ข้อ กาบใบ และใบมีขน ใช้เป็นอาหารสัตว์, ปล้องขน ก็เรียก.
  29. ขน
    หมายถึง น. สิ่งที่เป็นเส้นขึ้นตามผิวหนังคนและสัตว์ เช่น ขนตา ขนนก ขนเม่น และใช้ตลอดไปจนถึงที่ขึ้นบนผิวต้นไม้ ผลไม้ ใบไม้ และอื่น ๆ, ราชาศัพท์ว่า พระโลมา.
  30. ขน
    หมายถึง ก. เอาสิ่งของเป็นต้นจำนวนมากจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยบรรทุก หาบ หาม หรือด้วยวิธีอื่น.
  31. ขน
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) ก. กรน เช่น คนนอนหลับขน ว่า คนนอนหลับกรน.
  32. ขนง
    หมายถึง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนง.
  33. ขนงเนื้อ
    หมายถึง [ขะหฺนง-] น. หนังสัตว์ที่เผาไฟให้สุกแล้วต้มให้เปื่อย เพื่อปรุงเป็นอาหาร.
  34. ขนด
    หมายถึง [ขะหฺนด] น. ตัวงูที่ขด; ลูกบวบจีวร; โคนหางงู มักเรียกว่า ขนดหาง.
  35. ขนทรายเข้าวัด
    หมายถึง ก. ทำบุญกุศลโดยวิธีนำหรือขนทรายไปก่อพระเจดีย์ทรายเป็นต้นที่วัด, (สำ) หาประโยชน์ให้ส่วนรวม.
  36. ขนน
    หมายถึง [ขะหฺนน] น. หมอนอิง. (ข. ขฺนล่ ว่า หมอนอิง, ขอนที่ใช้เป็นหมอน).
  37. ขนบ
    หมายถึง [ขะหฺนบ] น. แบบอย่าง, แผน, ระเบียบ; กลีบ, รอยที่พับ (ของสมุดข่อย หรือผ้าจีบ หรือจีวร เป็นต้น); ชั้น เช่น ขนบหิน. (ข. ขฺนบ่ ว่า สิ่งที่อยู่ในห่อ, ที่หมก).
  38. ขนบธรรมเนียม
    หมายถึง [ขะหฺนบทำ-] น. แบบอย่างที่นิยมกันมา.
  39. ขนบประเพณี
    หมายถึง น. จารีตประเพณีที่วางเป็นระเบียบแบบแผนไว้แล้ว.
  40. ขนพอง
    หมายถึง น. ขนตั้งชันฟูขึ้น เกิดจากความตกใจหรือความกลัวเป็นต้น.
  41. ขนพองสยองเกล้า
    หมายถึง น. ขนและผมตั้งชันขึ้นเพราะรู้สึกสยดสยองมากเป็นต้น.
  42. ขนม
    หมายถึง [ขะหฺนม] น. ของกินที่ไม่ใช่กับข้าว มักปรุงด้วยแป้งหรือข้าวกับกะทิหรือนํ้าตาล, ของหวาน, ทางเหนือเรียกว่า ข้าวหนม.
  43. ขนมครก
    หมายถึง น. ขนมทำด้วยแป้งกับกะทิหยอดในภาชนะกระเบื้องหรือโลหะที่ทำเป็นหลุม ๆ ตั้งบนไฟ.
  44. ขนมจีน
    หมายถึง [ขะหฺนม-] น. อาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งเป็นเส้นกลม ๆ คล้ายเส้นหมี่ กินกับนํ้ายา นํ้าพริก เป็นต้น.
  45. ขนมทราย
    หมายถึง (ราชา) น. ขนมขี้หนู.
  46. ขนมผสมน้ำยา
    หมายถึง (สำ) ว. พอดีกัน จะว่าข้างไหนดีกว่ากันก็ไม่ได้.
  47. ขนมผักกาด,ขนมหัวผักกาด
    หมายถึง น. ของคาวชนิดหนึ่งทำด้วยแป้งผสมหัวผักกาด นึ่งให้สุก แล้วผัดกับถั่วงอก ผักกุยช่าย.
  48. ขนมเปียก
    หมายถึง น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าตั้งไฟกวนกับน้ำตาลหม้อและกะทิ หยอดให้มีขนาดพอคำแล้วโรยถั่วทองคั่ว.
  49. ขนมเปียกปูน
    หมายถึง น. ขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมกาบมะพร้าวเผาให้เป็นถ่านบดละเอียด ตั้งไฟกวนกับน้ำตาล กะทิ และน้ำปูนใส เมื่อสุกเทลงใส่ถาด ตัดเป็นชิ้น ๆ ให้เป็นรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก; เรียกรูปสี่เหลี่ยมด้านขนานที่มีด้านทั้ง ๔ ยาวเท่ากัน แต่ไม่มีมุมภายในเป็นมุมฉาก ว่า สี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน, สี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด ก็เรียก.
  50. ขนมเส้น
    หมายถึง (ถิ่น-พายัพ) น. ขนมจีน, ข้าวเส้น ก็เรียก.
  51. ขนลุก
    หมายถึง น. ขนตั้งชันขึ้นเพราะอากาศเย็นเยือก ความตกใจ หรือความเสียวซ่าน เป็นต้น.
  52. ขนลุกขนชัน,ขนลุกขนพอง
    หมายถึง น. ขนตั้งชันขึ้นเพราะความขยะแขยงหรือตกใจกลัวเป็นต้น.
  53. ขนสัตว์
    หมายถึง น. เรียกผ้าที่ทอจากขนของสัตว์บางชนิดเช่นแกะว่า ผ้าขนสัตว์.
  54. ขนส่ง
    หมายถึง น. ธุรกิจเกี่ยวด้วยการขนและส่ง เช่น ขนส่งสินค้า.
  55. ขนหนู
    หมายถึง น. เรียกผ้าที่มีลักษณะเป็นขนขดใช้ห่มหรือเช็ดตัวเป็นต้นว่า ผ้าขนหนู.
  56. ขนหน้าแข้งไม่ร่วง
    หมายถึง (สำ) ว. ไม่กระทบกระเทือนถึงเดือดร้อน (ใช้แก่คนมั่งมีที่ต้องจ่ายเงินแม้จะมากแต่ก็ดูเหมือนเป็นจำนวนเล็ก ๆ น้อย ๆ).
  57. ขนหย็อง
    หมายถึง น. ขนหัวตั้งชัน ตัวลีบ หางตก เป็นอาการของไก่หรือนกที่รู้สึกกลัวไม่กล้าสู้. ก. โดยปริยายใช้แก่คนที่ไม่กล้าสู้, กลัว.
  58. ขนหัวลุก
    หมายถึง (สำ) ว. อาการที่ตกใจหรือกลัวมากเป็นต้นจนรู้สึกคล้ายกับผมตั้งชันขึ้น.
  59. ขนอง
    หมายถึง [ขะหฺนอง] น. หลัง, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า พระขนอง, ปฤษฎางค์ ก็ว่า. (ข. ขฺนง).
  60. ขนอน
    หมายถึง [ขะหฺนอน] (โบ) น. ที่ตั้งอากรการผ่านเขต, ที่คอย.
  61. ขนอบ
    หมายถึง [ขะหฺนอบ] น. ไม้ ๒ อันประกับเป็นขอบหรือกรอบของสิ่งของเพื่อให้แน่น เช่น ไม้ขนอบใบลาน.
  62. ขนอบ
    หมายถึง [ขะหฺนอบ] ก. นิ่ง. (ต.).
  63. ขนอุย
    หมายถึง น. ขนอ่อนหรือขนเพิ่งแรกขึ้น.
  64. ขนัด
    หมายถึง [ขะหฺนัด] น. แถว, แนว, เช่น เรือแล่นเป็นขนัด; ลักษณนามใช้เรียกสวนที่มีคันดินกั้นเป็นตอน ๆ เช่น สวนขนัดหนึ่ง สวน ๒ ขนัด. ว. แออัด ในคำว่า แน่นขนัด.
  65. ขนัน
    หมายถึง [ขะหฺนัน] ก. กัน, บัง, ขวาง, เช่น ขนันนํ้า; วง, ล้อม, เช่น ล้อมขนัน; ผูก, รัด, เช่น ขนันศพเด็ก. ว. ขัน.
  66. ขนัน
    หมายถึง [ขะหฺนัน] น. ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง, คู่กับ ขนุน. (ปรัดเล).
  67. ขนาก
    หมายถึง [ขะหฺนาก] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Juncellus inundatus C.B. Clarke ในวงศ์ Juncaceae ขึ้นอยู่ในทุ่งนาและริมแม่นํ้า คล้ายกก, กระหนาก ก็เรียก.
  68. ขนาง
    หมายถึง [ขะหฺนาง] ก. กระดาก, อาย.
  69. ขนาด
    หมายถึง [ขะหฺนาด] น. ลักษณะของรูปที่กำหนดสังเกตได้ว่าใหญ่ เล็ก สั้น ยาว หนัก หรือ เบา เท่านั้นเท่านี้ เช่น ขนาดใหญ่ ขนาดยาว ขนาด ๒ ๑ เมตร; อัตรา, เกณฑ์ที่กำหนดไว้, เช่น ดีถึงขนาด เกินขนาด ไม่ได้ขนาด.
  70. ขนาด
    หมายถึง [ขะหฺนาด] น. เครื่องสาดนํ้ารดต้นไม้ โดยมากสานด้วยไม้ไผ่ รูปแบน ๆ มีด้ามสำหรับถือ.
  71. ขนาน
    หมายถึง [ขะหฺนาน] ก. เรียงคู่กันไป เช่น เรือแล่นขนานกันไป วิ่งขนาน, เรียกเรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสำหรับข้ามฟากว่า เรือขนาน; เรียก, ตั้ง, เช่น ขนานนาม ว่า ตั้งชื่อ. (คณิต) น. เรียกเส้นตรงคู่ใด ๆ ซึ่งอยู่ห่างกันเป็นระยะเท่ากันโดยตลอดว่า เส้นขนาน. (ข. ขฺนาน ว่า เทียบ).
  72. ขนาน
    หมายถึง [ขะหฺนาน] น. หมู่; ลักษณนามเรียกยาที่ปรุงขึ้น เช่น ยาขนานหนึ่ง ยา ๒ ขนาน.
  73. ขนานน้ำ
    หมายถึง น. ท่าที่เอาเรือ ๒ ลำมาจอดเทียบเคียงกันแล้วปูกระดานเพื่อให้ขึ้นลงสะดวก.
  74. ขนานลี่
    หมายถึง น. เรือแล่นคู่เคียงกันไป.
  75. ขนานใหญ่
    หมายถึง (ปาก) ว. มาก เช่น สับเปลี่ยนตำแหน่งกันขนานใหญ่.
  76. ขนาบ
    หมายถึง [ขะหฺนาบ] ก. ประกบเข้าให้แน่น เช่น เอาไม้ขนาบทั้งข้างล่างข้างบนหรือขนาบข้างเป็นต้น, ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีขนาบ, ติดชิดกันอยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น ที่ดินขนาบคาบเกี่ยวกัน; (ปาก) ดุดันเอา เช่น ถูกขนาบ; โดยปริยายหมายความว่า เรื่อยมา, ตลอดมา, เช่น รับของถวายกันขนาบมา. (ประพาสมลายู).
  77. ขนาย
    หมายถึง [ขะหฺนาย] น. งาช้างพัง. (ข. ขฺนาย ว่า เขี้ยวหมู).
  78. ขนำ
    หมายถึง [ขะหฺนำ] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. กระท่อมชั่วคราวในทุ่งนาเป็นต้น.
  79. ขนิษฐ,ขนิษฐา
    หมายถึง [ขะนิด, ขะนิดถา] น. น้อง. (เลือนมาจาก กนิษฐ, กนิษฐา).
  80. ขนุน
    หมายถึง [ขะหฺนุน] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือสีจำปา รสหวาน กินได้ แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า, พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจำปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด.
  81. ขนุน
    หมายถึง [ขะหฺนุน] ดู ใบขนุน (๑).
  82. ขนุนญวน
    หมายถึง ดู ใบขนุน (๑).
  83. ขนุนนก
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Palaquiumobovatum Engl. ในวงศ์ Sapotaceae มีนํ้ายางขาว จับเป็นก้อนแข็งเมื่อผสมกับยางอื่น ๆ ใช้ยาเรือได้.
  84. ขนุนป่า
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus lanceifolius Roxb. ในวงศ์ Moraceae เกิดในป่าดิบ.
  85. ขนุนสำปะลอ
    หมายถึง น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Artocarpus altilis Fosberg ในวงศ์ Moraceae ใบใหญ่เป็นแฉก ๆ ผลมีเมล็ดมาก กินได้ พันธุ์ที่ผลไม่มีเมล็ด เรียก สาเก เนื้อกินได้.
  86. ขนเพชร
    หมายถึง น. ขนสีขาวที่ขึ้นแปลกเป็นพิเศษ มีลักษณะยาวกว่าปรกติ.
  87. ขนแมว
    หมายถึง น. รอยเป็นเส้น ๆ อยู่บนสิ่งที่ขัดเงายังไม่เกลี้ยงหรือบนผิวของเพชรที่เจียระไนแล้ว.
  88. ขบ
    หมายถึง ดู คางเบือน.
  89. ขบ
    หมายถึง ก. เอาฟันเน้นเพื่อให้แตก เช่น ขบเมล็ดแตงโม, เอาฟันเน้นกัน เช่น ขบฟัน; กัด เช่น หมาใดตัวร้ายขบ บาทา. (โลกนิติ); อาการที่เมื่อยปวดเหมือนมีอะไรบีบหรือกดอยู่ที่ตรงนั้น เรียกว่า เมื่อยขบ, ลักษณะของสิ่งที่ยังเข้ากันได้ไม่สนิท ยังปีนหรือเกยกันอยู่ เช่น บานประตูขบกัน; อาการที่เล็บมือเล็บเท้ายาวจนกดเนื้อข้างเล็บ เรียกว่า เล็บขบ.
  90. ขบขัน
    หมายถึง ว. น่าหัวเราะ, ชวนหัวเราะ, ขัน ก็ว่า.
  91. ขบคิด
    หมายถึง ก. คิดตรึกตรองอย่างหนัก.
  92. ขบฉัน
    หมายถึง ก. เคี้ยวกิน (ใช้แก่นักบวช). น. เรียกอาหารการกินของนักบวชว่า ของขบฉัน.
  93. ขบถ
    หมายถึง [ขะบด] ก. ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ทรยศ. น. การประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ความทรยศ; ผู้ประทุษร้ายต่อทางอาณาจักร, ผู้ทรยศ, กบฏ ก็ว่า.
  94. ขบปัญหา
    หมายถึง ก. คิดแก้ปัญหา.
  95. ขบวน
    หมายถึง [ขะ-] น. กระบวน, พวกที่จัดเป็นแถวเป็นแนวหรือเป็นหมวดเป็นหมู่อย่างขบวนแห่ ขบวนรถ ขบวนเรือ; ทางขี้ผึ้งในการหล่อรูป.
  96. ขบวนการ
    หมายถึง น. กลุ่มบุคคลที่รวมกันเพื่อดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง.
  97. ขบูร,ขบวร
    หมายถึง [ขะบูน, ขะบวน] (แบบ) ว. แต่ง, ประดับ.
  98. ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน
    หมายถึง ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทำอะไรเขาไม่ได้.
  99. ขบเผาะ
    หมายถึง ว. เรียกผลมะม่วงอ่อน ๆ ขนาดหัวแม่มือว่า มะม่วงขบเผาะ หมายเอาเสียงเวลาเอาฟันขบดังเผาะ; โดยปริยายเรียกวัยของเด็กหญิงที่เพิ่งเริ่มแตกเนื้อสาวว่า วัยขบเผาะ.
  100. ขบไม่แตก
    หมายถึง ก. คิดไม่ออก, แก้ไม่ตก, (ใช้แก่ปัญหา).

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำในภาษาไทย หมวด ข"