คำไวพจน์

คำไวพจน์ หมวด อ

คำไวพจน์ หมวด อ ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

"คำไวพจน์" มีความหมายว่าอย่างไร

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้องความ" เช่น ดอกไม้ และ บุษบา, สวย และ งาม, เศร้า และ เสียใจ เป็นต้น

คำไวพจน์ แบ่งเป็นกี่ประเภท

ประเภทของคำไวพจน์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยต้องสังเกตบริบทการใช้คำๆ นั้นควบคู่ไปด้วย ดังนี้

  1. คำพ้องรูป หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อาจจะออกเสียงต่างกัน ความหมายต่างกัน
  2. คำพ้องเสียง หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ความหมายต่างกัน
  3. คำพ้องความ หมายถึง คำที่ความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ออกเสียงต่างกัน

แต่เราจะเห็นในลักษณะ คำพ้องความ เสียเป็นส่วนใหญ่

รวมคำไวพจน์ หมวด อ

คำไวพจน์ หมวด อ ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คำไวพจน์ อกตัญญู = ไม่รู้คุณ / ไม่รู้จักบุญคุณ / ไม่รู้คุณคน / ไม่สำนึกบุญคุณ / เนรคุณ / ไม่รู้อุปการคุณ / ทรพี / ไม่สำนึกถึงบุญคุณ / นิรคุณ / อกตเวที
  2. คำไวพจน์ อยู่ = สำนึง / สึง / เนา / สิง / ประจำ / แทรก / ระยัง / สถิต / ยืนอยู่ / ตั้งอยู่ / ศยะ / สิงสถิต / สิงสู่ / อาศัย
  3. คำไวพจน์ อร่อย = มีรสดี / ถูกปาก / เอร็ดอร่อย / แซบ / นัว / สะเด็ด / เอมโอช / มธุรตรัย / สาทุ / เสาวรส / โอชะ / โอชา / กระป่ำ / กระเอบ
  4. คำไวพจน์ อาคาร = วิหาร / บ้าน / เคหา
  5. คำไวพจน์ อารมณ์ = สติอารมณ์ / ธรรมารมณ์ / เอกัคตา / ปุเรจาริก / อาเวค / จิตใจ / พิชาน
  6. คำไวพจน์ อาวุธ = มีด / มีดปลายแหลม / ธนู
  7. คำไวพจน์ อาหาร = โภชนียะ / ภักขะ / เสบียงกรัง / สัมพล / สมพล / ภักษาหาร / ผลาหาร / ภิกษาหาร / ขาทนียะ / นิตยภัต / ของกิน / วิฆาส / ธัญญาหาร / ภุกตาหาร / เสบียง / สุธา / ภัตตาหาร / เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต / เครื่องค้ำจุนชีวิต
  8. คำไวพจน์ อำนาจ = ฤทธิ์ / อิทธิฤทธิ์ / นั่งแท่น / สิทธิ์ขาด / เผด็จการ / ศักดิ์สิทธิ์ / รัฐประหาร / สิ่งศักดิ์สิทธิ์ / ยิ่งใหญ่ / สิทธิ / สิทธิ์ / วิเศษ / อาชญา / อาญา

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในบริบทต่าง ๆ กัน หรือเรียกอีกอย่างว่า “คำพ้องความ” หรือคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น บุษบา กับ บุปผา ช้าง กับ คช ป่า กับ ดง ม้า กับ อาชา เป็นต้น

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำไวพจน์ หมวด อ"