คำไวพจน์

คำไวพจน์ หมวด ห

คำไวพจน์ หมวด ห ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

"คำไวพจน์" มีความหมายว่าอย่างไร

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้องความ" เช่น ดอกไม้ และ บุษบา, สวย และ งาม, เศร้า และ เสียใจ เป็นต้น

คำไวพจน์ แบ่งเป็นกี่ประเภท

ประเภทของคำไวพจน์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยต้องสังเกตบริบทการใช้คำๆ นั้นควบคู่ไปด้วย ดังนี้

  1. คำพ้องรูป หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อาจจะออกเสียงต่างกัน ความหมายต่างกัน
  2. คำพ้องเสียง หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ความหมายต่างกัน
  3. คำพ้องความ หมายถึง คำที่ความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ออกเสียงต่างกัน

แต่เราจะเห็นในลักษณะ คำพ้องความ เสียเป็นส่วนใหญ่

รวมคำไวพจน์ หมวด ห

คำไวพจน์ หมวด ห ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คำไวพจน์ หนาว = เย็นจัด / หนาวเหน็บ / ศิศีระ / เย็นเยือก / ศิศิร / เยือกเย็น / สีตล / สีตล- / สีต / สีต- / ศีตละ
  2. คำไวพจน์ หนู = มุสิก / หริ่ง / มูสิก / มูสิก- / มูสิกะ / ชวด / พุก / ตะเภา
  3. คำไวพจน์ หมอดู = โหร / ดูดวง / โหรา / พยากรณ์ / พรหมชาติ / ผู้ให้ฤกษ์ / ผู้ทำนายโชคชะตา
  4. คำไวพจน์ หมาจิ้งจอก = ศฤคาล / สฤคาล / สิคาล / สิงคาล / ศิคาล / หมาป่า / สุนัขจิ้งจอก
  5. คำไวพจน์ หมู = สุกร / วราห์ / วราหะ / จรุก / ศูกร / กุน
  6. คำไวพจน์ หลงใหล = ลุ่มหลง
  7. คำไวพจน์ หอม = สุคนธ์ / ดอมดม / ดอม / รัญจวน / พิโดร / โดร / เทวสุคนธ์ / คันธะ / คันธ- / คันธ / สุรภี / วาสนะ / กำยาน / วาสะเสารภย์ / วาสะ / สุคันธ์ / หอมหื่น / สุคนธ- / สุคนธ / หอมตลบ / อวล / กระอวล / เสาวรภย์ / สุคนธชาติ / หอมหวน / ประทิ่น / ฉม / สุคันธรส / สุคนธรส / เสาวคันธ์ / เสาวคนธ์
  8. คำไวพจน์ หัว = ล้าน / มุทธา / มูรธา / มูรธ- / มูรธ / สิระ / สิร- / สิร / เถิก / หงอก / ศีรษะ / โล้น / กะลาหัว / เกศา / เกศี / สิโรตม์ / สิโรดม / หัวกบาล / กบาล
  9. คำไวพจน์ หัวใจ = หัวอกหัวใจ / หัวจิตหัวใจ / กระมล / ใจ / หทัย / หฤทัย / หฤทัย- / กมล / กมล- / กมลา / กมลาศ
  10. คำไวพจน์ หิมะ = หิม / หิม- / หยาดน้ำฟ้า
  11. คำไวพจน์ ห่วงใย = มีใจพะวงอยู่ / มีทุกข์กังวลอยู่ / กังวล / ทำวน / อาลัย / อะร้าอร่าม / ปลิโพธ / ทรรทึง / ทรทึง / ทำงน / อาวรณ์ / พะวง / ห่วงหา
  12. คำไวพจน์ เหนือ = บน / ข้างบน / พ้น / ยกขึ้น / ลอย / สูง
  13. คำไวพจน์ เหมือน = เปรียบดัง / ใกล้เคียง / เทียบเคียง / เทียบเท่า / เช่น / เทียม / เทียบ / เฉกเช่น / เฉก / ดุจว่า / เปรียบ / ดัง / คล้าย / ราวกับ / ประดุจ / เสมือน / ดั่ง / ดุจ
  14. คำไวพจน์ เห็น = พบ / ปะ / ประสบ / เจอะ / เจอ / มลัก / หัน
  15. คำไวพจน์ ใหญ่ กว้าง = มหันต์ / มหึมา / ไพศาล / มหา / พิบูลย์ / มโหฬาร
  16. คำไวพจน์ ให้ = มอบ / ประทาน / ยื่น / หยิบยื่น / ส่งต่อ / อำนวย / ตังวาย / ถวาย / บรรทาน / ประจาค / บริจาค / วิกัป
  17. คำไวพจน์ ไหว้ = กราบ / บูชา / คำนับ / นอบนัอม / คารวะ / ประณม / ประณต / ถวายบังคม / วันทา

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในบริบทต่าง ๆ กัน หรือเรียกอีกอย่างว่า “คำพ้องความ” หรือคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น บุษบา กับ บุปผา ช้าง กับ คช ป่า กับ ดง ม้า กับ อาชา เป็นต้น

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำไวพจน์ หมวด ห"