คำไวพจน์

คำไวพจน์ หมวด ส

คำไวพจน์ หมวด ส ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

"คำไวพจน์" มีความหมายว่าอย่างไร

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้องความ" เช่น ดอกไม้ และ บุษบา, สวย และ งาม, เศร้า และ เสียใจ เป็นต้น

คำไวพจน์ แบ่งเป็นกี่ประเภท

ประเภทของคำไวพจน์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยต้องสังเกตบริบทการใช้คำๆ นั้นควบคู่ไปด้วย ดังนี้

  1. คำพ้องรูป หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อาจจะออกเสียงต่างกัน ความหมายต่างกัน
  2. คำพ้องเสียง หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ความหมายต่างกัน
  3. คำพ้องความ หมายถึง คำที่ความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ออกเสียงต่างกัน

แต่เราจะเห็นในลักษณะ คำพ้องความ เสียเป็นส่วนใหญ่

รวมคำไวพจน์ หมวด ส

คำไวพจน์ หมวด ส ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คำไวพจน์ สงคราม = ยุทธนาวี / กรุน / สมร- / สมร / ต่อสู้ / รณ- / รณ / ฉุป- / ฉุป / จำบัง / การรบพุ่ง / ยุทธนา / ศึกสงคราม / ยุทธ- / ยุทธ / ยุทธ์ / สู้รบ
  2. คำไวพจน์ สดใส = รังรอง / ศุภร- / ศุภร / จิตร- / จิตร / ขจี / เอี่ยมอ่อง / แอร่ม / พิลาส / วิลาส / ผ่องใส / รงรอง / แจ๋วแหวว / แจ่มใส / เปล่งปลั่ง / ฉายเฉิด / งาม / ไม่ขุ่นมัว
  3. คำไวพจน์ สบาย = เกษม / เสบย / เขลง / เปรม / หัฏฐะ / อุตุ / อิ่มเอิบ / เหลา / เขษม / ร่มเย็น / สุขิน / สุขี / เขม / เขม- / เขมา / หฤษฎ์ / เป็นสุข / ตระอาล / สบายใจ / อยู่ดีกินดี / สะดวก / สุขสบาย / สุข / สะดวกสบาย / พอเหมาะพอดี / พอเหมาะ / พอดี / สบายอารมณ์ / สำราญใจ / สำราญกาย / สำราญ / ผาสุก / สุนันท์ / รวยรื่น / สุข-
  4. คำไวพจน์ สร้าง = นิมิต / ทำ / แปลง / เนรมิต / นิรมิต / สฤษฏ์ / สฤษฎี / สฤษฎิ / นฤมิต / ทำ / แปลง / เนรมิต / บพิธ / นิมมาน / นฤมาณ / นิรมาณ / ก่อสร้าง / รังสฤษฏ์ / สถาบก / รังสรรค์ / รังรักษ์ / รัง / สรรค์
  5. คำไวพจน์ สวย = งาม / วิไล / ไฉไล / ลาวัณย์ / ลอย / สวยงาม / ประไพ / อำไพ / วิลาวัณย์ / โสภา / โสภณ
  6. คำไวพจน์ สวยงาม = สวย / หล่อ / ดูดี / น่าสนใจ / ติดตา / เคลิบเคลิ้ม
  7. คำไวพจน์ สวรรค์ = ไตรทิพย์ / สุราลัย / สุขาวดี / สรวง / สุริยโลก / สุคติ / ไตรทศาลัย / ศิวโลก / เทวโลก / ไทวะ / เทวาลัย / เทวาวาส
  8. คำไวพจน์ สอน =
  9. คำไวพจน์ สะอาด = เศาจ / สังสุทธ์ / สังสุทธิ / สะอาง / ชระ / พิศุทธิ์ / วิมล / สุก / สุก- / แผ้ว / สุทฺธิ / เศาจ- / วิสุทธ์ / วิสุทธิ์ / ขาว / พิศุทธ์ / กรสุทธิ์ / เรี่ยม / สำอาง / ประวิตร / สะอาดสะอ้าน / สะอ้าน / หมดจด / สระอาด / สุทธ / สุทธ- / สุทธ์ / สกาว / บพิตร / บริสุทธิ์ / ศุจิ / สุจิ / วิรัช / ศุทธะ / ศุทธิ / สุทฺธ
  10. คำไวพจน์ สัตว์ = สัตว / สัตว- / สัตวชาติ / ปาณี / ปาณภูต / ปสพ
  11. คำไวพจน์ สามัคคี = ความพร้อมเพรียงกัน / ความปรองดองกัน / พร้อมเพรียง / ปรองดอง / ร่วมมือร่วมใจกันทำ / ร่วมมือร่วมใจ / สามคฺรี / สมัครสมาน / ร่วม
  12. คำไวพจน์ สิงโต = จ้าวแห่งสัตว์ / ราชสีห์ / ไกรศรี / ไกรสรี / เกสรี / พาฬ / พาฬ- / สิงห์ / ไกรศร / ไกรสร / เจ้าป่า / นฤเคนทร์ / สีหราช / สีห์
  13. คำไวพจน์ สีขาว = ปัณฑูร / ศุภร / ธวัล / ศุกร / เศวตร
  14. คำไวพจน์ สีคราม = สีฟ้าอ่อน / สีตะพุ่น / สีน้ำเงิน
  15. คำไวพจน์ สีม่วง​ = อินทนิล​
  16. คำไวพจน์ สีแดง = เลือดนก / หง / เลือดหมู / มณีราค / ประวาลวรรณ / รุธิระ / โลหิต / มันปู / โรหิต / รุเธียร
  17. คำไวพจน์ เสียใจ = ร้องไห้
  18. คำไวพจน์ เสือ = พยัคฆา / พาฬ / ขาล / ศารทูล / พยัคฆ์
  19. คำไวพจน์ แสง = โอภาส / ภาสวร / วิชชุ / วิชชุดา / วิชชุตา / วิภาส / แพรว / กร / อังศุ / ทีป / ทีปะ / ฉาย / ภาส / ภาส- / รุ่งโรจน์ / ฉิน / รุจิ / รุจี / บริราช / นิภา / ศุภร / ศุภร- / ประกาย / วาววาม / พร่างพราว / กระแสง / ร่ายรัง / พรายแสง / จัดจ้า / อรุณ / ประภา / แสงสว่าง / แสงไฟ / วาวแสง / ยับยง / มรีจิ / ภาสุระ / อาภา / อัจจิ / พระแวว / รังสิ / รังสี / อัจจิมา / แพร้ว

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในบริบทต่าง ๆ กัน หรือเรียกอีกอย่างว่า “คำพ้องความ” หรือคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น บุษบา กับ บุปผา ช้าง กับ คช ป่า กับ ดง ม้า กับ อาชา เป็นต้น

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำไวพจน์ หมวด ส"