คำไวพจน์

คำไวพจน์ หมวด พ

คำไวพจน์ หมวด พ ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

"คำไวพจน์" มีความหมายว่าอย่างไร

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้องความ" เช่น ดอกไม้ และ บุษบา, สวย และ งาม, เศร้า และ เสียใจ เป็นต้น

คำไวพจน์ แบ่งเป็นกี่ประเภท

ประเภทของคำไวพจน์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยต้องสังเกตบริบทการใช้คำๆ นั้นควบคู่ไปด้วย ดังนี้

  1. คำพ้องรูป หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อาจจะออกเสียงต่างกัน ความหมายต่างกัน
  2. คำพ้องเสียง หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ความหมายต่างกัน
  3. คำพ้องความ หมายถึง คำที่ความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ออกเสียงต่างกัน

แต่เราจะเห็นในลักษณะ คำพ้องความ เสียเป็นส่วนใหญ่

รวมคำไวพจน์ หมวด พ

คำไวพจน์ หมวด พ ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คำไวพจน์ พญานาค = นาคี / นาคราช / นาคินทร์ / นาคา / นาค / นาเคนทร์ / เงือกหงอน / นาโครคินทระ / อุรเคนทร์
  2. คำไวพจน์ พระจันทร์ = ศศี / โทษากร / โทษารมณ์ / นิศานาถ / นิศามณี / นิศารัตน์ / บริมาส / ปักษธร / มา / มาภา / ศศพินทุ์ / ศศลักษณ์ / ศศิวิมล / ศศธร / ตโมนุท / สะสิ / สะสิน / ศศิกษัย / ศศิมณฑล / ศศิขัณฑ์ / สิตางศุ์ / สุมะ / ราศี / สีตลรัศมี / อินทุ / อรรธจันทร์ / อัฒจันทร์ / แถง / โสม / นิศาบดี / ศศิ / นิศากร / รัชนีกร / ศศิธร / แข / ศิวเศขร / บุหลัน / กัษษากร / กลา / จันทร์ / เดือน / พิธุ / มนทก / มาส / รชนีกร / รัตติกร / วิธู / ศศิน / ศิตางคุ์ / เขน / จันท์ / เดือนค้างฟ้า / ตโมหร
  3. คำไวพจน์ พระพรหม = จัตุพักตร์ / วิธาดา / สรษดา / นิรทรุหิณ / ธาดา / สรษดา / พระทรงหงส์ / กมลาสน์ / ปรชาบดี / กัมลาศ
  4. คำไวพจน์ พระพุทธเจ้า = พระสัมมาสัมพุทธเจ้า / พระสมณโคดม / มารชิต / พระสัพพัญญู / พระศากยมุนี / โลกชิต / พระโลกนาถ / พระธรรมราช / พระทศพลญาณ / พระสุคต / พระชินสีห์ / พระตถาคต / พระผู้มีพระภาคเจ้า / พระทศญาณ / พระชินวร / ชินศรี
  5. คำไวพจน์ พระราม = พระลักษมณ์ / พระพรต / พระสัตรุด / นางสีดา / หนุมาน / พาลี / สุครีพ / ชมพูพาน / องคต / พิเภก / นิลพัท / มัจฉานุ / พระมงกุฎ / พระลบ / ชามพูวราช / นิลนนท์
  6. คำไวพจน์ พระวิษณุ = กฤษณะ / สวภู / จักรปาณี / ไวกุณฐ์ / พระจักรี / พระกฤษณ์ / ไกษพ / ศางดี / พระนารายณ์ / มาธพ / ไตรวิกรม / ธราธร / ธราธาร
  7. คำไวพจน์ พระอาทิตย์ = รวิ / อาคิรา / ประภากร / สุริยน / ระพี / พรมัน / สุริยัน / รพิ / อหัสกร / สุริยา / รวี / ทยุมณี / สุริยะ / ทิพากร / อุษณรศมัย / อังศุมาลี / ภาสกร / ภาณุมาศ / อาภากร / ทินกร / ภาณุ / ตะวัน / ทิวากร / สุริยง / ไถง
  8. คำไวพจน์ พระอินทร์ = ตรีเนตร / หัสนัยน์ / มัฆวาน / พันเนตร / วชิรปาณี / อมรินทร์ / โกสินทร์ / สหัสโยนี / เทพาธิบดี / สักกะ / โกสีย์ / มรุตวาน / ท้าวพันตา / วัชรินทร์ / อินทรา / เพชรปราณี / อมเรศร / โกษี / สหัสนัยน์ / วชิราวุธ
  9. คำไวพจน์ พระอิศวร = ตรีโลกนาถ / มหาเทพ / ภูเตศวร / บิดามห / ปศุบดี / ศังกร / ศิวะ / มเหศวร / ภูเตศ / ศุลี / จันทรเศขร / ทรงอินทรชฎา
  10. คำไวพจน์ พระเจ้าแผ่นดิน = ภูบาล / ภูบดี / ในหลวง / ราชา / กษัตริย์ / กษัตรีศูร / กษัตร / ธรณิศวร์ / ธรณิศร / ธรณิศ / ธเรศ / ธราธิป / ธราธิบดี / ปิ่นเกล้าธาษตรี / ท่านไท้ธรณี / บดินทร์ / ไท้ธาษตรี / จอมราช / ภูมินทร์ / ท้าวธรณิศ / นฤบดี / เจ้าหล้า / ราเชนทร์ / นรินทร์ / นฤเบศน์ / ธรณีศวร / ธรารักษ์ / นโรดม / ขัตติยวงศ์ / ภูบดินทร์
  11. คำไวพจน์ พัฒนา = ทำให้เจริญ / เจริญ / ปรับปรุง / งอกงาม / เติบโต
  12. คำไวพจน์ พิษ = ยาพิษ / โฆรวิส / พิษสง / ยาสั่ง / ยาตาย
  13. คำไวพจน์ เพชร = เพรช
  14. คำไวพจน์ เพื่อน = เพื่อนแท้ / สุหัท / สุหฤท / สัมภัตตะ / สัมภัต / อนุคามี / เสาหฤท / วยัสย์ / โสหัท / มิตรภาพ / สหจร / สหาย / สขิ / สขา / สขะ / เสี่ยว / คู่ / มิตรแท้ / กัลยาณมิตร / เกลอ / เขือ / สิเนหก / เพื่อนฝูง / เพื่อนเกลอ / คู่หู / เพื่อนคู่หู / เพื่อนเล่น / เพื่อนยาก / เพื่อนตาย / คู่ทุกข์คู่ยาก / คู่ซี้

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในบริบทต่าง ๆ กัน หรือเรียกอีกอย่างว่า “คำพ้องความ” หรือคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น บุษบา กับ บุปผา ช้าง กับ คช ป่า กับ ดง ม้า กับ อาชา เป็นต้น

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำไวพจน์ หมวด พ"