คำไวพจน์

คำไวพจน์ หมวด ง

คำไวพจน์ หมวด ง ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

"คำไวพจน์" มีความหมายว่าอย่างไร

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้องความ" เช่น ดอกไม้ และ บุษบา, สวย และ งาม, เศร้า และ เสียใจ เป็นต้น

คำไวพจน์ แบ่งเป็นกี่ประเภท

ประเภทของคำไวพจน์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยต้องสังเกตบริบทการใช้คำๆ นั้นควบคู่ไปด้วย ดังนี้

  1. คำพ้องรูป หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อาจจะออกเสียงต่างกัน ความหมายต่างกัน
  2. คำพ้องเสียง หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ความหมายต่างกัน
  3. คำพ้องความ หมายถึง คำที่ความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ออกเสียงต่างกัน

แต่เราจะเห็นในลักษณะ คำพ้องความ เสียเป็นส่วนใหญ่

รวมคำไวพจน์ หมวด ง

คำไวพจน์ หมวด ง ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คำไวพจน์ งดงาม = แสล้ม / งานดี / พริ้ง / กะก่อง / สุทัศน์ / สุทรรศน์ / รจิต / แชล่ม / แฉล้ม / มล่าวเมลา / สวย / อภิราม / วิภา / จิตร- / จิตร / หาริ / รงรอง / รังรอง / รังเรข / งาม
  2. คำไวพจน์ งาม = โสภณ / บวร / อะเคื้อ / เสาวภาคย์ / พะงา / อันแถ้ง / รุจิเรข / วิศิษฏ์ / สิงคลิ้ง / ไฉไล / ตระการ / วิจิตรตระการตา / รูปงาม / กบูร / กวิน / ก่อง / น่ารัก / โกมล / งดงาม / มาโนชญ์ / รมณีย / ราม / ลลิต / พิจิตร / พิราม / พิไล
  3. คำไวพจน์ งู = ภุชงค์ / โฆรวิส / วิษธร / อุรคะ / สัปปะ / สรีสฤบ / โภคี / โภคิน / ภุชงคมะ / ภุชคะ / ผณิน / นาคี / ผณิ / ทีฆชาติ / เงือก / เทียรฆชาติ / นาคา / เงี้ยว / อหิ / อุรค
  4. คำไวพจน์ เงิน = รัชตะ / ปรัก / หิรัญ / รัชฎา / เงินทอง

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในบริบทต่าง ๆ กัน หรือเรียกอีกอย่างว่า “คำพ้องความ” หรือคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น บุษบา กับ บุปผา ช้าง กับ คช ป่า กับ ดง ม้า กับ อาชา เป็นต้น

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำไวพจน์ หมวด ง"