คำไวพจน์

คำไวพจน์ หมวด ก

คำไวพจน์ หมวด ก ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

"คำไวพจน์" มีความหมายว่าอย่างไร

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน ตรงกัน หรือคล้ายกันมาก แต่เขียนและออกเสียงต่างกัน เรียกอีกอย่างว่า "คำพ้องความ" เช่น ดอกไม้ และ บุษบา, สวย และ งาม, เศร้า และ เสียใจ เป็นต้น

คำไวพจน์ แบ่งเป็นกี่ประเภท

ประเภทของคำไวพจน์ สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท โดยต้องสังเกตบริบทการใช้คำๆ นั้นควบคู่ไปด้วย ดังนี้

  1. คำพ้องรูป หมายถึง คำที่เขียนเหมือนกัน แต่อาจจะออกเสียงต่างกัน ความหมายต่างกัน
  2. คำพ้องเสียง หมายถึง คำที่ออกเสียงเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ความหมายต่างกัน
  3. คำพ้องความ หมายถึง คำที่ความหมายเหมือนกัน แต่เขียนต่างกัน ออกเสียงต่างกัน

แต่เราจะเห็นในลักษณะ คำพ้องความ เสียเป็นส่วนใหญ่

รวมคำไวพจน์ หมวด ก

คำไวพจน์ หมวด ก ตามที่เคยรู้จัก คำไวพจน์ มีอยู่หลายคำ จะมีคำไหนที่เรารู้จักไหมนะ

  1. คำไวพจน์ กตัญญู = กตัญญุตา / กตัญญูกตเวที / กตเวที
  2. คำไวพจน์ กระจก = พระฉาย / กระจกเงา / แว่นฟ้า / คันฉ่อง
  3. คำไวพจน์ กระต่าย = ศศ / ศศ- / ศศะ / หริณะ
  4. คำไวพจน์ กลางคืน = ราตรี / คืน / รัตติกาล / อันธิกา / มืดค่ำ / มาลำ / มะลำ / นิศา / นักตะ / รัตติ / รัต / ย่ำค่ำ / รัชนี / รชนี / รชนิ / ค่ำคืน / กลางค่ำ / รัต-
  5. คำไวพจน์ กลิ่น = อบอวล / อาย / คนธ์ / คันธ์ / เทวสุคนธ์ / เสาวรภย์ / ฉม / สุคนธรส / สุคันธรส / เสารภย์ / สุคนธชาติ / คันธ / คันธ- / คันธะ
  6. คำไวพจน์ กล้อง = กล้องถ่ายรูป / กล้องฟิล์ม / กล้องดิจิทัล
  7. คำไวพจน์ กวาง = มฤค / กระจง / ละมั่ง / ละอง / ละองละมั่ง / หริณะ / สมัน / เนื้อทราย / มฤคี / มฤค- / เก้ง / อีเก้ง / มิคะ / มิค- / มิค / รงกุ์ / อุสา / เนื้อ / กวางผา
  8. คำไวพจน์ กษัตริย์ที่เป็นผู้หญิง = ราชินี / กษัตรี / เจ้าฟ้า / พระนาง / เยาวเรศ / ยุพเรศ / เทพิน / กษัตรีย์ / นฤปัตนี / นางผู้เป็นใหญ่ / นางพญา / ราชญี / พระราชินี
  9. คำไวพจน์ กุหลาบ = มะวาร / มาวาร / ยี่สุ่น / นวาระ / บุหงา
  10. คำไวพจน์ เกิด = ภว / อภิชาต- / อภิชาต / ประสูติ- / ประสูติ / สูนะ / สูติ- / สูติ / กำเนิด / ภวะ / ภว- / ถือกำเนิด / ชนม์ / ชนม- / ชนม / แดดาล / อุบัติ- / อุบัติ / ชาตะ / ชาต- / ชาต / เสวยพระชาติ / ประภพ
  11. คำไวพจน์ เก่ง = ชะมัด / ชำเนียร / ชีระ / เชี่ยว / ชำนาญ / ถนัด / คล่อง / ยวดยง / แกล้ว / เชียร / หาญ
  12. คำไวพจน์ โกรธ = โทสะ / ขัดเคือง / โกรธา / คั่งแค้น / ขัดแค้น / ขุ่นเคืองใจอย่างแรง / ถือโกรธ / โทส / โทส- / เคียดแค้น / โทโส / ดาลเดือด / รุษฏ์ / พิโรธ / ขุ่นเคืองใจ / ขุ่นเคือง / ขึ้งโกรธ / ไม่พอใจอย่างรุนแรง / ทรงพระโกรธ / โกรธเกรี้ยว / โกรธจัด / เกรี้ยวโกรธ / โกรธขึ้ง / พื้นเสีย / โมโห / เดือดดาล / ขึ้งเคียด / มาระ
  13. คำไวพจน์ ไกล = ทุราคม / เทียรฆ- / ฉงาย / เทียรฆ / วิทูร / ทูร / ทูร- / ทุรัศ / ตะลิบ
  14. คำไวพจน์ ไก่ = กุกกุฏ / กุกกุฏ-

คำไวพจน์ คือ คำที่มีความหมายเหมือนกัน แต่ใช้ในบริบทต่าง ๆ กัน หรือเรียกอีกอย่างว่า “คำพ้องความ” หรือคำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น บุษบา กับ บุปผา ช้าง กับ คช ป่า กับ ดง ม้า กับ อาชา เป็นต้น

 ความคิดเห็นในหัวข้อ "คำไวพจน์ หมวด ก"